คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
Instructions for use
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

Back

พระปฐมเจดีย์

นมัสการ.... เจดีย์เสียดฟ้าแห่งอาณาจักรทวารวดี

ส้มโอหวาน ข้าวสารขาว ลูกสาวงาม สนามจันทร์ พุทธมณฑลคู่ธานี พระปฐมเจดีย์เสียดฟ้า เป็นคำขวัญของจังหวัดนครปฐม ถ้าพูดถึงจังหวัดนครปฐมสิ่งที่ตั้งเด่นเป็นสง่า ก็คือ พระปฐมเจดีย์ ซึ่งเป็นเจดีย์ที่คู่บ้านคู่เมืองมาตั้งแต่สมัยก่อน เดิมทีจังหวัดนครปฐมไม่ได้มีชื่อเรียกอย่างปัจจุบัน ในอดีตจะถูกเรียกว่า เมืองทวารวดี สาเหตุที่เป็นเช่นนั้น เพราะมีหลักฐานทางโบราณคดีหลายอย่าง เช่น เมืองโบราณ ศิลปวัตถุ และโบราณสถานแบบทวารวดี

พระปฐมเจดีย์ หรือเดิมเรียกว่า พระธมเจดีย์ เป็นพระสถูปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งจะตั้งอยู่ในบริเวณ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม อีกทั้งยังเป็นนพระอามหลวงชั้นเอกพิเศษ ชนิดราชวรมหาวิหาร ภายในเจดีย์จะเป็นที่ประดิษฐ์ฐานของพระบรมสารีริกธาตุ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปฐมเจดีย์นั้นได้ถูกสร้างและปฏิสังขรณ์มาอย่างน้อย 3 ครั้งแล้ว และไม่มีใครทราบว่าพระปฐมเจดีย์ถูกสร้างในยุคสมัยใด แต่มีขอสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพระอโศกมหาราช ทรงส่งสมณทูต เผยแพร่ศาสนา นักโบราณคดีต่างเห็นพ้องกันว่า พระโสณเถระและพระอุตตรเถระ เป็นสมณทูต และมาตั้งหลักฐานประกาศหลักธรรมคำสอนที่นครปฐมเป็นครั้งแรก ในพุทธศตวรรษที่ 3 และได้สร้างพระเจดีย์ทรงบาตรคว่ำ แบบเจดีย์สาญจิในประเทศอินเดียไว้

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ขณะทรงผนวช ได้เสด็จธุดงด์มานมัสการ ทรงเห็นพระเจดีย์ยอดปรางค์สูง 42 วา เมื่อทรงลาผนวชได้ขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อปีพุทธศักราช 2396 ทรงโปรดให้ก่อพระเจดีย์ใหม่ห่อหุ้มองค์เดิมไว้ สูง 120 เมตร กับ 45 เซติเมตร พร้อมสร้างวิหารคต 2 ชั้น ทั้ง 4 และระเบียงโดยรอบทิศ แต่งานไม่ทันเสร็จพระองค์ก็เสด็จสวรรคต ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็กจพระจุลจอมเกล้าเจ้ายอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดปฏิสังขรณ์จัดสร้างหอระฆัง และประดับกระเบื้องจนสำเร็จ เมื่อถึงรัชกาลที่ 6 ปฏิสังขรณ์พระวิหารหลวง เขียนภาพพระเจดีย์องค์เดิมและภาพต่าง ๆ ไว้ที่ ผนัง รื้อมุขวิหารด้านทิศเหนือสร้างใหม่ เพื่อประดิษฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์ศรีอินทราทิตย์ธรรโมภาส มหาวชิราวุธราชบูชนียบพิตร และรัชกาลที่ 7 โปรดให้สร้างพระอุโบสถใหม่

นับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ได้ทรงทำการบูรณปฏิสังขรณ์ต่อเติมในครั้งนั้น จนเวลารวมมาเป็นร้อยปีเศษ ก็ไม่ได้ทำการบูรณะอีกเลย มีแต่เพียงซ่อมแซมเล็กน้อย ที่ชำรุดบางส่วนเท่านั้น จนกระทั่งเมื่อปีพุทธศักราช 2509 ทางวัดพบว่าตัวองค์พระปฐมเจดีย์มีรอยแตกร้าวหลายแห่ง พระเบื้องที่ระดับหลุดร่วงลงมา จึงได้แจ้งเรื่องยังไปรัฐบาลสมัยนั้น เพื่อทำการบูรณะใหม่ ซึ่งใช้เวลาในการบูรณะร่วมถึง 8 ปี

และสิ่งที่ไม่ควรพลาดเมื่อมาถึงพระปฐมเจดีย์แล้วนั้นก็คือ การไปกราบนมัสการพระร่วงโรจนฤทธิ์ ชื่อเต็มคือ พระร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ ธรรโมภาส มหาวชิราวุธ ราชปูชนียบพิตร แต่ประชาชนทั่วไปจะเรียกว่า หลวงพ่อพระร่วง หรือ พระร่วงโรจนฤทธิ์ เมื่อสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ดำรง พระยศเป็นสมเด็จพระยุพราช ได้เสด็จ ตรวจค้นโบราณสถานในมณฑล ฝ่ายเหนือ เมื่อ พ.ศ. 2452 พบพระพุทธรูปชำรุดองค์หนึ่งจมในพื้น วิหาร วัดโบราณในเมืองศรีสัชนาลัย โปรดให้ขุดขึ้น พบพระเศียร พระหัตถ์ และพระบาทที่ยังดีไม่ชำรุดมีลักษณะ งดงามต้องตาม พระราชหฤทัย จึงโปรดให้เชิญลงมากรุงเทพมหานคร ครั้งเสด็จเถลิง ถวัลยราชสมบัติ จึงโปรด ให้สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทำรูปหุ่นขี้ผึ้ง ปฏิสังขรณ์ปั้นให้เสร็จบริบูรณ์เต็มองค์ ตั้งการพระราชพิธี เททองที่วัดพระเชตุพนฯ เมื่อ พ.ศ.2456 เป็นพระยืนปางห้ามญาติ หล่อ ด้วยโลหะ ครั้นแล้วเสร็จ อัญเชิญประดิษฐานไว้ที่ซุ้มวิหารทิศ ตรงบันได ใหญ่เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 โดยพระร่วงโรจนฤทธิ์จะมีขนาดความสูงเมื่อวัดจากพระบาทถึงพระเกศราว 12 ศอก 4 นิ้ว เป็นพระพุทธรูปปางห้ามญาติ ศิลปะแบบสุโขทัย ประทับยืนอยู่บนฐาน โลหะทองเหลืองลายบัวคว่ำบัวหงาย อีกทั้งบริเวณใต้ฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์ ยังบรรจุพระราชสรีรางคารในรัชกาลที่ 6 ไว้ด้วย

นอกจากพระร่วงโรจนฤทธิ์แล้ว ยังมี ศาลเจ้าพ่อปราสาททอง พระพุทธไสยาศน์ และพระศิลาขาว สิ่งที่ผู้คนนิยมทำเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต เมื่อมาพระปฐมเจดีย์ นั่นก็คือ การเดินรอบพระอารามชั้นนอก หรือชั้นในก็ได้ให้ครบ 3 รอบ เพื่ออธิฐานจิตขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้สมปรารถนา แต่สำหรับท่านใดที่ต้องการขอพรเรื่องเรียนต่อ แนะนำให้ขอพรกับพระศิลาขาว เพราะชาวนครปฐมเชื่อกันว่าพระศิลาขาวจะนำพรมาให้เด็กๆ ที่ตั้งใจเรียน ให้สมปรารถนากับโรงเรียน และมหาวิทยาลัยที่ตั้งใจไว้

สำหรับใครที่ท้องหิ้ว แต่ไม่รู้จะกินอะไร ขอแนะนำตลาดนัดของกิน ที่จะเปิดช่วงเย็นของทุกวัน โดยจะมีอาหารหลากหลายเรียงรายกันเต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็น ก๋วยเตี๋ยวราดหน้าโกยซีหมี่ เมนูที่ต้องสั่งคือ หมี่กรอบราดหน้า ยังมีร้านก๋วยเตี๋ยวไก่ ผัดไท หอยทอด ร้านอาหารตามสั่งซีฟู้ดยังมี และนอกจากของคาวแล้วยังมีของหวานอีกมากกมาย เช่น ขนมหวาน บัวลอย ขนมครกชาววัง และทีเด็ดสุดไอศกรีมลอยฟ้า นอกจากจะมีไอศกรีมหลากหลายรูปแบบแล้ว ยังมีการแสดงโดยการตักไอศกรีมแล้วโยนขึ้นไปบนฟ้า แล้วหล่นลงมาบนถ้วยพอดี แต่ถ้าหากลูกค้าอยากร่วมสนุกด้วย ทางร้านก็จะให้ลูกค้าเป็นคนรับลูกไอศกรีมด้วยตนเอง เรียกได้ว่ามาที่นี้ได้ทั้งอิ่มบุญ และอิ่มท้องกันเลยทีเดียว

สุดท้ายสิ่งที่ลืมไม่ได้เลยคือ ในวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 12 ถึงวันแรม 5 ค่ำ เดือน 12 รวม 9 วัน 9 คืน ประจำทุกปี ทางวัดได้มีการจัดงานนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ โดยภายในงานจะมีการทำบุญตักบาตร มีการประกวดแสดงจากโรงเรียนต่างๆ มีร้านค้าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้แท้ ของทำมือ ขนมไทยโบราณ แน่นอนว่าค่าเข้างานฟรี แต่ของกินไม่ฟรีนะครับ

50,408 views

1

share

Museum in Nakhon Pathom