คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
Instructions for use
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

Back

" เดินในสวนของแม่ "

ณ สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จังหวัดเชียงใหม่เจ้า

          สุขใดไหนจะเท่าอ้อมอกแม่ แม่ผู้ให้กำเนิดชีวิต และแม่แห่งชาติที่ให้อนาคตและความเขียวจี แก่ผืนแผ่นดินไทย นั่นคือ  สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ตั้งอยู่ที่อำเภอแม่ริมจังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 6,500 ไร่ เป็นสถานที่ อนุรักษ์และ รวบรวมพรรณไม้เป็นหมวดหมู่ตามวงศ์สกุลต่างๆ โดยจัดปลูกให้สอดคล้องกับธรรมชาติมากที่สุดโดย ทำให้สวนแห่งนี้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจและ สถานที่ศึกษาธรรมชาติ ด้านพืช และ ภูมิทัศน์ที่โดดเด่นมากสวนพฤกษศาสตร์ สภาพโดยทั่วไปของที่นี่เป็นที่ราบและที่สูงสลับกันเป็นชั้น ๆ ในระดับ 300-970 เมตร จัดทำเป็นสวนพฤกษศาสตร์ระดับนานาชาติ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ลักษณะการจัดสวนของที่นี่จะแบ่งพันธุ์ไม้ตามวงศ์และความเหมาะสมของสภาพพื้นที่ รวบรวมพันธุ์ไม้ทั้งในและต่างประเทศ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาเกี่ยวกับพันธุ์ไม้ สามารถขับรถเที่ยวชมรอบ ๆ ได้
 

          จุดเด่นที่น่าสนใจของสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์แห่งนี้ คือ เส้นทางศึกษาธรรมชาติที่มีให้เลือกชมสวนได้หลายเส้นทาง ซึ่งรวบรวมชนิดพรรณพืชที่มีความหลากหลายทั้งพรรณไม้พื้นเมืองประจำถิ่นและพรรณไม้จากต่างประเทศ อาทิเช่น   

1.เส้นทางสวนรุกชาติ (Arboretum Trail) เป็นเส้นทางนี้ผ่านแปลงรวมพันธุ์กล้วย บอน ปาล์ม เฟิน แปลงขิงข่า ปรง และสน ระยะทาง 600 เมตร

2. เส้นทางพันธุ์ไม้ไทยและพืชสมุนไพร เส้นทางนี้เป็นแหล่งรวบรวมพรรณไม้ไทยไว้กว่า 1,000 ชนิด อาทิ พืชสมุนไพร พันธุ์ไม้หายาก และพันธุ์ไม้ประจำจังหวัด ระหว่างเส้นทางเดินท่านจะพบพันธุ์ไม้ที่น่าสนใจ และป้ายสื่อความหมายที่อธิบายสรรพคุณของพืชสมุนไพร แต่ละชนิดไว้อย่างน่าสนใจ และมีการเสริมภูมิทัศน์ด้วยกล้วยไม้ไทยนานาชนิด ให้ความสวยงามและร่มรื่น เส้นทางเดินจะใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที

3. เส้นทางวลัยชาติ (Climber Trail)
สำหรับเส้นทางวลัยชาติสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์นั้น เป็นเส้นทางทอดยาวไปตามสันเขา บางตอนค่อนข้างชัน มีการจัดปลูกพืชไม้เลื้อยไว้ตลอดทั้งสองข้างทาง รวมมากกว่า 250 ชนิด ระยะทางประมาณ 800 เมตร

จุดเด่นที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งของที่นี่คือ Canopy walkway  

          Canopy walkway   เป็นทางเดินลอยฟ้าที่เพิ่งสร้างได้ไม่นาน ถือว่าเป็นทางเดินลอยฟ้าที่ยาวที่สุดใน ประเทศไทย  ด้วยระยะทางกว่า 400 เมตร และระดับความสูงกว่า 20 เมตร  โดยออกแบบให้มีความกลมกลืนกับธรรมชาติ โครงสร้างทำมาจากเหล็กกล้า แข็งแรง บางช่วงยังมีกระจกใสสามารถมองเห็นลงไปด้านล่างได้ระหว่างทางเดินไม่ได้มีพรรณไม้จัดแสดงให้ชม แต่เป็นการท่ามกลางต้นไม้ใหญ่เขียวขจีเผื่อผ่อนคลาย และสูดอากาศบริสุทธิ์มากกว่า  เป็นทางเดินเหนือพื้นที่ของต้นใหญ่ที่ปลูกไว้ภายในสวน ซึ่งระหว่างทางเราจะได้ยินเสียงนกตลอด ยิ่งมาในช่วงหน้าหนาวปลายๆ ที่เข้าสู่ฤดูร้อน เราจะได้เห็นบรรยากาศของใบไม้เปลี่ยนสีอีกด้วย บรรยากาศคล้ายเมืองนอกมากครับ แล้วเราจะประทับใจมิรู้ลืม ถ้าได้มีโอกาสเดินในสวนของแม่ ณ สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จังหวัดเชียงใหม่

รายละเอียดการเดินทางเข้าเยี่ยมชม

เวลาทำการ : ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 8.30 – 16.30 น.

ช่วงเวลาเที่ยว : ตลอดทั้งปี

ค่าเข้าชม

ผู้ใหญ่ 40 บาท, เด็ก 20 บาท, นักเรียน/นักศึกษา 10 บาท

ผู้สูงอายุเกิน 60 บาท เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี พระภิกษุสามเณร และผู้พิการ ไม่เสียค่าเข้าชม

ค่ารถบริการนำชมสวน ผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก 10 บาท

รถบัส คันละ 200 บาท รถยนต์ 4 ล้อ คันละ 100 บาท

เบอร์โทรศัพท์ 053-841-000

 

 

1,674 views

0

share

Museum in Chiang Mai

14 September 2023
23,157
551
16 July 2020
23,326
1,637
11 January 2019
3,454
301
07 February 2022
47,026
794
11 August 2018
8,320
595
08 August 2022
7,088
608
30 April 2019
38,135
718
17 March 2022
34,888
688