คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
Instructions for use
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

Back

หาดสมิหลา@สงขลา

     " สงขลา " ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของประเทศไทยมาแต่สมัยโบราณ มีชุมชนโบราณและเมืองเก่าแก่ มีโบราณสถาน โบราณวัตถุ ขนบธรรมเนียมประเพณี และการละเล่นพื้นเมืองมากมาย สงขลาเพิ่งปรากฏเป็นครั้งแรกในบันทึกของพ่อค้าและนักเดินเรือชาวอาหรับ-เปอร์เซีย ระหว่าง ปี พ.ศ.1993-2093 ในนามของเมืองซิงกูร์ หรือซิงกอร่า แต่ในหนังสือประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยามของนายกิโลลาส แซร์แวส เรียกชื่อเมืองสงขลา ว่า "เมืองสิงขร" จึงมีการสันนิษฐานว่า คำว่า สงขลา เพี้ยนมาจากชื่อ "สิงหลา" (อ่าน สิง-หะ-ลา) หรือสิงขร 

     พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชวินิฉัยไว้ว่า  " สงขลา " เดิมชื่อ สิงนคร (อ่านว่า สิง-หะ-นะ-คะ-ระ) เสียงสระอยู่ท้าย มลายูไม่ชอบจึงเปลี่ยนเป็นอา และชาวมลายูพูดลิ้นรัวเร็ว ตัดหะและ นะ ออกเลือแค่ สิง-คะ-รา แต่ออกเสียงเป็น ชิงคะรา หรือ สิงโครา จนมีการเรียกเป็น ซิงกอรา

     " สงขลา " เป็นเมืองประวัติศาสตร์มีเรื่องราวากมายที่สืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีการค้นพบหลักฐาน ได้แก่ ขวานหิน ซึ่งเป็นเครื่องมือสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่อำเภอสทิงพระ ประวัติความเป็นมาและวัฒนธรรมสมัยที่สทิงพระเจริญ เค บูรล์เบท ได้ให้ทัศนะว่า สทิงพระ คือ ศูนย์กลางของราชอาณาจักรเซี้ยะโท้หรือเซ็กโท เป็นแหล่งหนึ่งในเอเซียตะวันออกเฉลียงใต้ที่ได้รับวัฒนธรรมอินเดียโดตงตรงในสมัยอาณาจักรศรีวิชัย เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 7 ศตสรรษ เพราะมีร่องรอยทางสถาปัตยกรรม ประติมากรรม ที่แสดงให้เห็น่ว่า เมืองสทิงพระเป็นศูนย์กลางการปกครองดินแดน รอบ ๆ ทะเลสาบสงขลาในสมัยนั้น

       แหลมสมิหลา หรือที่มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า แหลมหิน อยู่ในเขตเทศบาลเมือง มีหาดทรายขาวสะอาด ทิวสนร่มรื่น ชายทะเลเมืองสงขลา ซึ่งเปรียบเสมือนห้องรับแขกธรรมชาติที่ต้อนรับผู้มาเยือนเรื่อยมาจนปัจจุบันหาดสมิหลาอยู่ทางตอนเหนือของชายทะเลเมืองสงขลาถัดจากแหลมสนอ่อนทอดยาวไปจรดแหลมสมิหลาที่อยู่ท้ายหาดทางด้านใต้ เป็นชายหาดสวยงามน่าเดินเล่นทรายขาวละเอียด น้ำไม่ลึกมาก เล่นน้ำได้ดี ตลอดแนวจัดเป็นสถานที่พักผ่อนทางวิ่งออกกำลังกาย จุดชมวิวที่มีทิวทัศน์ของเกาะหนู เกาะแมวเป็นฉากหลัง มีปฏิมากรรมรูปนางเงือกนั่งอยู่บนโขดหิน อันเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดสงขลา บริเวณแหลมสมิหลามีโขดหินขนาดย่อมยื่นลงทะเล หาดทรายขาวละเอียดมากที่เรียกว่า "ทรายแก้ว" โดยรอบบริเวณได้จัดสวนหย่อมไว้ดูร่มรื่นเหมาะเป็นที่นั่งพักผ่อนยามเย็นและยังมีบริการขี่ม้าริมชายหาดอันสวยงามอีกด้วย

     รูปปั้น“นางเงือกทอง” สัญลักษณ์อันโดดเด่นของจังหวัดสงขลาตั้งอยู่บริเวณปลายแหลมสมิหลา นักท่องเที่ยวนิยมจะไปถ่ายภาพคู่กับนางเงือกกันเสมอ นางเงือกทองถูกสร้างขึ้นตามนิยายปรัมปราของไทยโบราณ ซึ่ง ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์) ได้บอกเล่าไว้ว่า ในวันดีคืนดีนางเงือกจะมานั่งหวีผมบนชายหาดด้วยหวีทองคำ วันหนึ่งบังเอิญว่ามีชายชาวประมงเดินผ่านมา ทำให้นางเงือกตกใจ รีบหนีลงทะเลไปโดยลืมหวีทองคำไว้ ฝ่ายชาวประมงเห็นดังนั้นก็เก็บหวีทองคำไว้และเฝ้าคอยนางเงือกที่หาดนั้นเสมอ แต่นางเงือกก็ไม่เคยปรากฏกายให้เห็นอีกเลย 
       นางเงือกทองถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2509 ในท่านั่งหวีผม ซึ่งได้หล่อขึ้นด้วยบรอนซ์รมดำ โดยฝีมือการออกแบบ ปั้น และหล่อ โดยอาจารย์จิตร บัวบุศย์ ด้วยราคา 60,000 บาทในสมัยนั้นด้วยเงินงบประมาณของเทศบาลสงขลา

    เงือกในประเทศไทย ถูกกล่าวขานมาตั้งแต่สมัยอดีต ผ่านเรื่องราวต่างๆ มากมาย แต่เป็นเงือกที่ได้รับความนิยม และกล่าวขวัญกันมากที่สุดก็คือ เงือกในวรรณคดีของ สุนทรภู่ เรื่อง พระอภัยมณี ที่นางเงือก (เงือกสาว) และเงือกตายาย ช่วยพาพระอภัยมณีหนีจาก ผีเสื้อสมุทรได้จนสำเร็จ และนางเงือกได้เป็นชายาของพระอภัยมณี จนมีโอรสด้วยกัน 1 องค์ ชื่อว่า สุดสาคร

             

แผ่นจารึก 

         ประติมากรรมนางเงือกทอง กล่าวไว้ว่า “ รูปปั้นนางเงือกนี้ สร้างขึ้นในปี2509 ตามดำริของ นายชาญ กาญจาคพันธุ์ ปลัดจังหวัดสงขลา ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองสงขลาด้วย โดยให้ อาจารย์ จิตร บัวบุศย์ อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนเพาะช่าง เป็นผู้ปั้นหล่อ  จากบรอนขรมดำ โดยใช้งบประมาณของเทศบาล 60,000 บาท ตั้งชื่อว่า “ เงือกทอง” (GoldenMermaid เป็นสัญลักษณ์ของแหลมสมิหลามาจนทุกวันนี้ นางเงือก เป็นนางในวรรณคดีไทย เรื่อง พระอภัยมณี ของ สุนทรภู่ เอกกวีสมัยรัชกาลที่ 2 ( พ.ศ. 2352 - 2367 ) ตามคำบอกเล่าของขุนวิจิตรมาตรา ( สง่า กาญจนาคพันธุ์ นั้น นิทานปรัมปราไทยเรื่องหนึ่งว่า ในคืนท้องฟ้างาม ณ ชายหาดสวยแห่งหนึ่ง จะมีนางเงือกขึ้นจากทะเลมานั่งหวีผมอยู่ คืนหนึ่งมีชายหนุ่มชาวประมงไปพบเข้า นางเงือกตกใจหนีลงน้ำไป ทิ้งหวีทองคำไว้ ชาวประมงผู้นั้นเฝ้าแต่รอคอย แต่นางเงือกก็ไม่ปรากฏตัวอีกเลย”

19,235 views

1

share

Museum in Songkhla

25 December 2019
36,184
673
04 July 2019
11,267
683
15 September 2023
7,939
628
04 July 2019
12,228
632
04 July 2019
5,614
601
04 July 2019
11,927
613