คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
Instructions for use
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

Back

เจดีย์แห่งชัยชนะ

ชัยมงคลเจดีย์ อนุสรณ์แห่งความมีชัยและความเมตตา

เจดีย์แห่งชัยชนะ

ชัยมงคลเจดีย์ อนุสรณ์แห่งความมีชัยและความเมตตา

            หากย้อนอดีตกลับไปยังกรุงศรีอยุธยา ช่วงหลังจากที่พม่าเมืองหงษาวดีได้ทำการบุกเข้าโจมตีจนกรุงศรีอยุธยาแตกพ่ายเป็นครั้งแรกนั้น สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงพยายามทำศึกสงครามเพื่อขจัดอิทธิพลของพม่าในกรุงศรีอยุธยาและเมืองต่างๆ รอบกรุงศรีอยุธยามาโดยตลอด จนกระทั่งพระเจ้านันทบุเรงกษัตริย์พม่า ทรงโปรดให้พระมหาอุปราชานำกองทัพบุกโจมตีกรุงศรีอธุยาหมายจะให้แตกพ่ายอีกคราวหนึ่ง ครั้นพระมหาอุปราชาได้ยกกองทัพมาถึงบริเวณหนองสาหร่าย(ซึ่งอยู่ในพื้นที่ของจังหวัดสุพรรณบุรีในปัจจุบัน) สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถผู้เป็นพระอนุชาจึงได้นำทัพไปสกัดกั้นกองทัพพม่า  ในการศึกครั้งนี้พระนเรศวรได้ทรงทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา โดยผลของการทำยุธหัตถีนั้นสมเด็จพระนเรศวรได้ทรงใช้ "พระแสงของ้าวพลพ่าย" ฟันพระอุปราชาที่ไหล่จนขาดสะพายแล่ง

            เมื่อสิ้นสุดการศึกสงคราม เมื่อองค์สมเด็จพระนเรศวรเด็จกลับมาถึงพระนครศรีอยุธยา ทรงโปรดที่จะลงโทษเหล่าทหารที่ติดตามพระองค์ไปไม่ทันการทำยุทธหัตถีจนพระองค์ตกอยู่ในวงล้อมของข้าศึก ซึ่งตามกฎระเบียบแล้วต้องโทษถึงขั้นประหารชีวิต  ครั้นสมเด็จพระสังฆราชในขณะนั้นทรงทราบเรื่อง จึงได้ขอให้พระนเรศวรพระราชทานอภัยยกเว้นโทษให้กับทหารเหล่านั้น โดยให้เหตุผลว่าองค์พระนเรศวรเปรียบดังองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ต้องผจญเหล่าหมู่มารก่อนที่จะตรัสรู้ธรรมอันประเสริฐ เพื่อเป็นการประกาศพระเกียรติยศและบารมีขององค์พระมหากษัตริย์ไปทั่วทั้งแผ่นดิน องค์สมเด็จพระนเรศวรจึงได้ทรงละเว้นการลงโทษแก่ทหาร และทรงโปรดให้มีการสร้างเจดีย์องค์ใหญ่ขึ้น (ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่า พระนเรศวรทรงสร้างพระเจดีย์ขึ้นใหม่หรือบูรณะปฏิเสธสังขรณ์เจดีย์องค์เดิมแล้วเสริมพระเจดีย์ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น) เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะที่พระองค์มีเหนือพม่า และยังเปรียบได้ดั่งเป็นอนุสรณ์แห่งความเมตตาของพระองค์ ที่มีต่อแม่ทัพนายกองเหล่านั้น และพระราชทานนามของพระเจดีย์ว่า “เจดีย์ชัยมงคล” แต่ราษฎรส่วนใหญ่เรียกว่า “พระเจดีย์ใหญ่” กระทั่งจวบจนปัจจุบันวัดที่เป็นที่ประดิษฐานพระเจดีย์แห่งนี้ จึงเรียกชื่อเป็น “วัดใหญ่ชัยมงคล”

            วัดใหญ่ชัยมงคลนั้น สันนิษฐานกันถูกสร้างขึ้นในรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ซึ่งเป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา เพื่อเป็นสำนักของพระสงฆ์ซึ่งไปบวชเรียนมา นอกจากพระเจดีย์ชัยมงคลแล้ว วัดใหญ่ชัยมงคลยังสิ่งที่น่าสนใจภายในวัด เช่น วิหารพระพุทธไสยาสน์ และพุทธรูปที่สำคัญอีกมากมาย โดยวัดใหญ่ชัยมงคลนั้น ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำป่าสัก อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ท่านใดที่ได้รับรู้เรื่องราวอันมีคุณค่าทางประวัติของประเทศไทยเราแบบนี้แล้ว ก็อย่าพลาดที่จะหาโอกาสไปสัมผัสอดีตราชธานีที่ยิ่งใหญ่อย่างกรุงอโยธยาศรีรามเทพนครกันสักครั้งในชีวิตนะครับ

 

สถานที่ : วัดใหญ่ชัยมงคล

อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

11,868 views

0

share

Museum in Phra Nakhon Si Ayutthaya

21 May 2021
16,934
540
19 October 2019
84,416
676
16 October 2019
8,657
545
02 July 2019
15,111
574
21 October 2019
14,488
654
20 November 2019
18,545
663