คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
Instructions for use
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

Back

ปราการที่ยื่นออกไป

เรื่องราวระหว่างชาวบ้านและทหาร ณ เขาตะเกียบ

“ถวายความปลอดภัย ถวายพระเกียรติ และสนองตอบพระราชประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ”

คำขวัญและพันธกิจของสำนักงานนายทหารเสริมกำลังพิเศษในสังกัดของกรมราชองค์รักษ์ ที่มีหน้าที่ถวายความปลอดภัยแก่องค์ในหลวง และราชวงศ์ที่คนไทยเทิดทูน และเคารพรัก ซึ่งบนเขาตะเกียบแห่งนี้มีสถานีเรดาร์เล็กๆ ของกองกำลังป้องกันภัยทางอากาศตั้งอยู่

เขาตะเกียบเป็นเขาที่ยื่นออกไปในทะเล เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นอีกแห่งของอำเภอหัวหิน เพราะมีชายหาดที่ทอดยาวสวยงาม และความเงียบสงบกว่าพื้นที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ในละแวกเดียวกัน เขาตะเกียบยังเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปปางห้ามญาติขนาดใหญ่ที่หันหน้าออกสู่ทะเล และนอกจากนั้นเขาตะเกียบแห่งนี้ยังเป็นที่ตั้งของสถานีเรดาร์ที่คอยเฝ้าระวังภัยทางอากาศ และยังมีหมู่บ้านชาวประมงที่ยังใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายอยู่ที่อีกด้านของภูเขาเล็กๆ ลูกนี้อีกด้วย

ที่ยอดของเขาตะเกียบเป็นที่ตั้งของสถานีเรดาร์ของหน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ โดยตัวสถานีอยู่ในบริเวณวัดซึ่งเป็นจุดชมวิวซึ่ง ณ จุดชมวิวแห่งนี้จะสามารถมองเห็นทัศนียภาพของชายหาดเขาตะเกียบและตัวเมืองหัวหินได้อย่างชัดเจน หน้าที่หลักของสถานีเรดาร์นี้คือตรวจจับเครื่องบินที่บินรุกล้ำเขตพระราชฐาน และเก็บข้อมูล อื่นๆ เช่น ข้อมูลสภาพอากาศ ข้อมูลความเร็วลม และข้อมูลการเดินเรือ

นายทหารรักษาการณ์จากจังหวัดกาญจนบุรีที่ไม่เปิดเผยชื่อได้บอกกับเราว่าเดิมทีสถานีเรดาร์ตั้งอยู่ที่ฐานทัพทหารที่อยู่ห่างไปประมาณ 15 กม. แต่เพราะเรดาร์ของฐานทัพเริ่มมีปัญหาจากตึกสูง และตัวเขาตะเกียบก็เป็นจุดบอดของเรดาร์นี้อีกด้วย จึงได้ตัดสินใจมาขออาศัยพื้นที่วัดเขาตะเกียบ อยู่นานหลายปีแล้ว โดยกำลังพลที่มาประจำการณ์ที่นี้จะผลัดเปลี่ยนกันมาจากกองทัพภาคต่างๆ ปีล 1 ครั้ง ซึ่งจริงๆ แล้วพื้นที่เขาตะเกียบกำลังมีปัญหากับกลุ่มนายทุนที่ต้องการพื้นที่ไปทำรีสอร์ท และโรงแรม การเข้ามาของทหารก็ทำให้บรรดานายทุนไม่กล้าเข้ามายุ่งกับพื้นที่มากนัก

          ถัดมาที่อีกฝากของเขาตะเกียบ ไม่ไกลจากสถานีเรดาร์นัก จะเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวประมงเรือเล็กบ้านเขาตะเกียบ ชาวประมงกลุ่มนี้ยังคงใช้เครื่องมือจับปลาชนิดอวนลากแบบดั้งเดิมที่กลุ่มชาวประมงในท้องที่อื่นๆ ไม่ใช้กันแล้ว ซึ่งชาวประมงกลุ่มนี้เป็นตัวอย่างของการรักษารูปแบบดั้งเดิมของการประมงพื้นบ้านไว้

คุณลุงมนตรี พงษ์พานิช (60 ปี) ประธานกลุ่มชาวประมงเรือเล็กบ้านเขาตะเกียบ ได้เล่าให้ฟังเกี่ยวกับทหารบนเขาว่า เดิมทีชาวประมงจะต้องหัดดูฟ้า ดูฝนกัน ซึ่งก็มั่วบ้าง ถูกบ้าง หลายๆ ครั้งที่คาดการณ์สภาพอากาศผิด ออกทะเลไปแล้วไม่ได้กลับมาก็เคยมีมาแล้ว แต่ตอนนี้ทหารข้างบนจะช่วยส่งรายงานสภาพอากาศมาให้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะมีประโยชน์อย่างมากในการออกเดินเรือของชาวประมง “…ตอนนี้ไม่มีแล้ว เดินเรือแล้วไปเจอพายุหนัก ก็ขอบคุณเรดาร์ที่ช่วยบอกลมฟ้าฝนให้เรา...” คุณลุงมนตรีกล่าว

คุณลุงมนตรียังบอกกับเราอีกว่ากลุ่มชาวประมงของเขาได้ร่วมกับกรมราชองค์รักษ์และสำนักงานประมง

ทำธนาคารปูเพื่อเฉลิมพระเกียรติแก่องค์ในหลวงและพระราชินีอีกด้วย โดยการให้ชาวประมงบริจาคปูม้าที่ได้จากการจับมาบางส่วนเข้าโครงการอนุบาลเพาะเลี้ยง เมื่อได้จำนวนพอสมควรแล้วก็จะปล่อยคืนสู่ทะเล ซึ่งการปล่อยครั้งล่าสุดก็คือเมื่อวันแม่ 12 สิงหาคมที่ผ่านมาจำนวนเกือบ 8 ล้านตัว โดยลุงมนตรีบอกอย่างภาคภูมิใจถึงเหตุผลของธนาคารปูว่า “...การที่เราทำธนาคารปูไว้ เวลาปล่อยคืนทะเลไป ก็เหมือนถวายให้พระองค์ท่าน ถ้าปูว่ายไปทางเหนือก็ไปหาในหลวง ถ้าว่ายลงทางใต้ก็คือไปหาราชินี แล้วพอทะเลมีสัตว์ พวกเราก็อยู่ได้...”

นับว่าหาได้ยากแล้วในสมัยนี้สำหรับพื้นที่ที่ภาครัฐ และชุมชนจะสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นมิตร เกื้อกูล พึ่งพาอาศัยกัน ณ เขาตะเกียบแห่งนี้ มีเรื่องราวดีๆ ระหว่างชาวบ้านกับทหาร กองกำลังที่ไม่ใช่เพียงถวายความปลอดภัยแก่องค์ในหลวงเพียงเท่านั้น แต่การมีอยู่ของพวกเขาบนตะเกียบแห่งนี้ยังสร้างความสุขในการชีวิตให้กับเหล่าชาวประมงที่ยังหากินด้วยวิธีพื้นบ้าน และทำโครงการที่มีประโยชน์ร่วมกันช่างเป็นเรื่องที่น่าประทับใจ และน่าชื่นชม

3,287 views

0

share

Museum in Prachuap Khiri Khan

11 November 2019
11,565
622
02 July 2019
5,618
595
02 July 2019
5,229
590
02 July 2019
4,275
315
12 November 2019
5,020
325
02 July 2019
11,315
340
18 November 2020
3,594
4