คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
Instructions for use
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

Back

กระสุนแห่งอิสรภาพ

ร่องรอยของกระสุนปืน ที่ปลดแอกภัยคุกคามของแผ่นดิน

กระสุนแห่งอิสรภาพ

ร่องรอยของกระสุนปืน ที่ปลดแอกภัยคุกคามของแผ่นดิน

 

            จากประเทศไทยในปัจจุบัน ย้อนกลับไปในช่วงยุคกรุงศรีอยุธยาตอนปลายก่อนจะเสียเอกราชให้กับพม่าเป็นครั้งที่ 2 ซึ่งเมืองน้อยใหญ่ต่าง ๆ ในแถบตอนบนของกรุงศรีอยุธยาล้วนแล้วแต่ถูกรุกรานจากการทำสงครามของพม่าทั้งสิ้น เมืองลำปางในขณะนั้นยังเป็นเมืองนครรัฐอิสระ ฝ่ายพม่ายังมิได้ส่งผู้แทนมาปกครองเมืองลำปางเหมือนเมืองอื่นในละแวกนั้น เมืองลำปางจึงไม่มีเจ้าเมืองปกครองมีแต่เพียงขุนนางระดับสูงจำนวนสี่คนรักษาเมืองไว้ แต่ขุนนางทั้งสี่ก็หาได้สามัคคีกันบริหารราชการแผ่นดินไม่ กลับแก่งแย่งชิงอำนาจกันเอง สร้างแต่ความเดือดให้ประชาชนทุกย่อมหญ้า ต่อมาภายหลังจึงเกิดการรวมตัวของชาวบ้านตั้งกองกำลังอิสระขึ้นเพื่อต่อต้านขุนนางทั้งสี่คน รวมไปถึงการต่อต้านอิทธิพลของพม่าไปในเวลาเดียวกันด้วย

          ครั้นข่าวการพยายามตั้งตนเป็นอิสระของชาวบ้าน ได้รู้ไปถึงกองทหารพม่าภายในเมืองหริภุญชัย(เมืองลำพูนในปัจจุบัน) ท้าวมหายศผู้นำทหารพม่าและเป็นเจ้าเมืองลำพูน(ในขณะนั้นเป็นเมืองขึ้นของพม่า) จึงได้กรีฑาทัพมาโจมตีและเอาชนะเมืองลำปางได้ ฝ่ายชาวบ้านรู้ว่ากองกำลังของตนเองไม่สามารถต่อกรกับกองทัพท้าวมหายศได้ จึงได้แตกพ่ายหนีไปหลบภายในวัดพระธาตุลำปางหลวง กองทัพทหารพม่าติดตามไปอย่างไม่ลดละและได้ทำการล้อมกบฏชาวบ้านเอาไว้ภายในวัด ต่อมาได้มีสังหารผู้นำกบฏและชาวบ้านเสียชีวิตหลายคน กองกำลังชาวบ้านตายบ้านต่างแตกพ่ายไปในที่สุด เมื่อฝ่ายกองทัพพม่าได้รับชัยชนะแล้วท้าวมหายศก็ยกทัพเข้ามาตั้งค่ายศูนย์บัญชาการในการปกครองเมืองอยู่ภายในที่วัดพระธาตุลำปางหลวง ส่งผลให้เมืองนครลำปางภายใต้การปกครองของท้าวมหายศเป็นไปอย่างแร้นแค้นและทารุณ มีการขูดรีดเงินภาษีชาวบ้าน บังคับเอาเสบียงอาหาร ทรัพย์สิน เงินทอง ในขณะที่ผู้หญิงชาวบ้านก็ถูกท้าวมหายศและทหารพม่าฉุดคร่าไปเป็นนางบำเรอ เมืองลำปางครั้งนั้นจึงเกือบจะเป็นเมืองร้างเพราะผู้คนต่างพากันหนีไปกันหมด เนื่องจากเกรงว่าทหารพม่าจะมาทำร้าย

 

            ในเวลาต่อมา มีพรานป่าซึ่งเป็นผู้มากความสามารถผู้หนึ่งในเมืองลำปางมีนามว่า "หนานทิพย์ช้าง" ได้รับการยอมรับจากชาวบ้านให้เป็นผู้นำในการกอบกู้อสิรภาพจากพม่า โดยหนานทิพย์ช้างได้ขอคำสัญญาจากชาวบ้านและเจ้าผู้ครองนครองค์เก่าว่า หากตนเองทำศึกและมีชัยชนะเหนือกองทัพพม่าเมื่อใดแล้วจะต้องยกบ้านเมืองให้ปกครอง ชาวบ้านและเจ้าเมืององค์เก่าก็พร้อมใจกันตกลง  หนานทิพย์ช้างจึงได้นำกำลังคนจำนวนหนึ่งไปล้อมที่มั่นของกองทัพท้าวมหายศในบริเวณวัดพระธาตุลำปางหลวงไว้ในช่วงเวลาดึกคืนหนึ่ง ในขณะที่หนานทิพย์ช้างเองก็ได้ลอบหมุดเข้าทางท่อระบายของวัด และปลอมตัวเป็นผู้ถือหนังสือมาส่งจากเมืองลำพูนโดยแอบอ้างว่าเป็นหนังสือของชายาของท้าวมหายศ และได้สืบถามจากทหารพม่าเองว่าท้าวมหายศเป็นผู้ใด ซึ่งในขณะนั้นเองท้าวมหายศ ทหารนายกอง และนางบำเรอกำลังเล่นหมากรุกที่วิหารหลวงของวัด หนานทิพย์ช้างจึงทำทียื่นหนังสือให้ครั้นเมื่อได้ระยะพอที่จะยิงปืนแล้วจึงลั่นไกปืนของตัวเองถูกท้าวมหายศเสียชีวิตกลางวงหมากรุก ลูกกระสุนปืนที่หนานทิพย์ช้างยิงท้าวมหายศทะลุไปถูกกรงเหล็กที่ล้อมองค์พระมหาธาตุลำปางหลวงเอาไว้ กองทัพของท้าวมหายศแตกกระจัดกระจาย ทหารพม่าถูกฆ่าตายเป็นจำนวนมาก

            วีรกรรมของหนานทิพย์ช้างในครั้งนั้น มิได้มีแต่เพียงเพียงร่องรอยกระสุนแห่งอิสรภาพที่ทำหน้าที่ปลดแอกภัยคุกคามของแผ่นดินที่อยู่เป็นหลักฐานมาจนจวบปัจจุบันให้คนรุ่นหลังได้รำลึกถึงเท่านั้น หากแต่ชาวเมืองลำปางได้พร้อมใจกันยกให้นายพรานนามว่าหนานทิพย์ช้างกลายเป็น เจ้าพระยาสุละวะฤาไชยสงคราม(พระเจ้าทิพย์จักร) ขึ้นปกครองเมืองลำปางในปี พ.ศ.2275 จนกระทั่งถึงแก่ทิวงคต แม้ว่าในภายหลังเมืองลำปางได้ถูกพม่ารุกรานและตกอยู่ภายใต้การครอบงำของพม่าอีกคราวหนึ่ง เหล่าทายาทของพระเจ้าทิพย์จักร ได้ให้ความร่วมมือกับกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ในการต่อต้านและขจัดอิทธิพลของพม่าเหนือดินแดนล้านนาออกไปได้ในที่สุด จนกระทั่งเมืองลำปางได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของสยามจวบจนถึงปัจจุบัน

            สำหรับวัดพระธาตุลำปางหลวงในปัจจุบันนั้น นอกจากองค์พระธาตุลำปางหลวงแล้ว ยังที่ประดิษฐานพระแก้วดอนเต้า และพระพุทธรูปที่สำคัญอีกมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่หลายท่านไม่ควรพลาดเมื่อได้มาที่วัดแห่งนี้ก็คือการเข้าชมเงาสะท้อนของพระธาตุลำปางหลวงกลับหัว ซึ่งถือเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยว Unseen in Thailand ที่เป็นที่น่าสนใจย่างมาก สำหรับท่านใดที่มีโอกาสได้มาแวะนมัสการพระธาตุลำปางหลวงแห่งนี้ ก็อย่าลืมที่มองหาร่องรอยแห่งการปลดแอกเมืองลำปางจากพม่าผู้เป็นอริราชศัตรูในยุคสมัยนั้น ร่องรอยที่คนรุ่นหลังจะต้องตระหนักถึงความโหดร้ายของสงครามที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นอีก

 

สถานที่ วัดพระธาตุลำปางหลวง

อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง

13,126 views

0

share

Museum in Lampang

21 March 2019
9,865
655
13 February 2023
18,759
689
04 August 2019
4,788
613
04 August 2019
6,997
662
21 March 2019
15,676
615
04 December 2019
5,276
676
02 September 2021
30,119
654
21 March 2019
7,577
593