คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
Instructions for use
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

Back

เดือนยี่เป็ง

ประเพณีเดือนยี่เป็ง

     จัดขึ้นในช่วงวันลอยกระทง คือในเดือนพฤศจิกายน มีการตกแต่งบ้านเรือน และถนน หนทางด้วยโคมชนิดต่าง ๆ มีขบวนแห่กระทงและนางนพมาศ การประกวดกระทง ประกวดโคมไฟ มีการจุดดอกไม้ไฟ การปล่อยโคมลอยเพื่อเป็นการบูชาพระธาตุ

     โคมลอยมีลักษณะการปล่อย 2 อย่าง คือ โคมที่ใช้ปล่อยตอนกลางวันเรียกว่า ว่าว  จะใช้การรมควัน  คือ เพิ่มควันเข้าไปในตัวโคมลอยหรือว่าวเรื่อยๆ จนพองตัวมีความดันสูงขึ้น จนดึงมือ แล้วปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้า   โคมลอยที่ใช้ปล่อยตอนกลางคืน มีกรรมวิธีเช่นเดียวกันกับโคมลอยว่าวตอนกลางวัน แต่แตกต่างกันที่เขาใช้ท่อนไม้พันด้ายเป็นก้อนกลม ๆ ชุบด้วยน้ำมันยางหรือน้ำมันขี้โล้  จนชุ่มแล้วทำที่แขวนติดกับปากโคมลอย เมื่อรมควันจนได้ที่แล้ว  เข้าจะจุดไฟท่อนผ้าที่เตรียมไว้แล้วผูกติดกับปากโคมลอย  ปล่อยขึ้นสู่อากาศ โคมลอยจะลอยสูงขึ้นเรื่อยๆ และลอยไปตามกระแสลมจะมีลักษณะเป็นดวงไฟ คล้ายดาวเคลื่อนไปในเวหาอันเวิ้งว้างน่าดูยิ่งนัก แต่โคมลอยที่ปล่อยกลางคืนนี้ เป็นอันตรายต่อทรัพย์สินของผู้อื่นมาก บางครั้งผ้าที่ชุบน้ำมันยังไม่หมดเชื้อ ปรากฏว่า ว่าวตกลงมาก่อน  จึงเกิดไหม้บ้านเรือนหรือย่านป่าที่แห้งจัด  เกิดไฟไหม้ป่าลุกลามไป  ดังนั้นโคมลอยที่ใช้ปล่อยตอนกลางคืนจึงขาดความนิยมไป

     การทำบอกไฟ  ประกอบด้วยบอกไฟหลายชนิด เช่น บอกไฟดอก (ดอกไม้ไฟ)  บอกไฟดาว (พลุ)  บอกไฟเทียน บอกไฟวี (เทียนเล็ก) บอกไฟช้างร้อง  บอกไฟจักจ่า  บอกไฟท้องตัน  บอกไฟขี้หนู งานเกี่ยวกับดอกไม้ไฟเหล่านี้นิยมทำกันตามวัดต่างๆ อาศัยตำราทางเคมีแต่โบราณ เรียกกันว่า ตำราเล่นแร่ หรือตำราปะตา (ปรอท)  เป็นคู่มือในการผสมดินประสิว กำมะถัน (มาด) และถ่านให้ถูกส่วนกัน ทำบอกไฟแต่ละชนิดขึ้นจุดในวันประเพณีเดือนยี่ มีคัมภีร์ที่กล่าวถึงการทำโคมลอย ทำว่าวไว้ด้วย หากคนใดทำจะมีอานิสงส์ 1 กากณึก และการปล่อยขึ้นไปนั้นเพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ดาวดึงส์

     ประวัติและความเป็นมาของประเพณีลอยกระทงล้านนาไทยประเพณีลอยกระทงในภาคเหนือ หรือที่เรียกตามหนังสือตำนานโยนก และจามเทวีวงศ์ว่า ประเพณีลอยโขมดหรือลอยไฟนั้น เป็นประเพณีที่สนุกสนานครึกครื้นมาก แม้ว่าจะไม่เป็นการใหญ่โตเหมือนปัจจุบัน  คือ ก่อนจะถึงวันเพ็ญเดือน 12 ใต้  ก็จัดการปัดกวาดแผ้วถางบ้านเรือน สถานที่ให้สะอาดเรียบร้อย ประดับประดาด้วยธงชาติ จัดเปลี่ยนดอกไม้ในแจกันหิ้งบูชาพระ  จัดเตรียมประทีปหรือเทียนขี้ผึ้งไว้สำหรับจุดบูชาพระ ที่ประตูบ้านก็จะหาต้นกล้วย ต้นอ้อย ก้านมะพร้าว หรือไม้อื่นๆ มาประดิษฐ์ทำเป็นซุ้มประตูป่า แบบต่างๆ ให้เป็นที่สวยงาม บ้างก็จัดหาดอกบานไม่รู้โรยหรือที่เมืองเหนือเรียกว่า ดอกตะล่อมมาร้อยเป็นอุบะห้อยไว้ตามขอบประตู  ประตูเรือน  หรือประตูห้อง หรือหิ้งบูชาพระ ผู้ที่มีใจศรัทธาแรงกล้าถึงกับทำมากๆ แล้วนำไปประดับประดาตามวัดเป็นพุทธบูชา  หรือเมื่อประดับประดาดอกไม้เรียบร้อยแล้ว ก็หาโคมญี่ปุ่นหรือประทีปมาเตรียมไว้ เพื่อจะได้ใช้ตามไฟในงาน

     ในขณะเดียวกันตามวัดวาอารามหรือสถานที่สำคัญก็จะจัดสถานที่ให้สวยงามเป็นพิเศษ ที่ซุ้มประตูของวัด และในพระวิหารก็จัดตกแต่งด้วยดอกไม้ โคมไฟสวยงาม และบ้างก็ประดิษฐ์โคมชนิดหนึ่งรอบๆ จะมีรูปสัตว์ต่างๆ อยู่ภายในโคม แขวนหรือตั้งไว้ในวัด  เมื่อจุดไฟแล้วจะมองเห็นภาพต่างๆ ในโคมนี้ ตามภาษาพื้นเมือง เรียกว่า โคมผัด”  ในงานวันนั้นรอบ ๆ บริเวณก็จะจุดไฟด้วยเทียน หรือตั้งประทีปไว้รอบ ๆ เพื่อเป็นการบูชาระลึกถึงพระพุทธเจ้า นอกจากมีการประดับประดาโคมไฟแล้ว  ทุกวัดก็จะมีการทำบุญทางศาสนา ในตอนเช้าของวันเพ็ญและมีการฟังเทศน์มหาชาติ แบบพื้นเมือง ซึ่งการเทศน์พระธรรมกถึกผู้เทศน์จะต้องใช้เคล็ดในการเทศน์ให้ฟังกันอย่างสนุกสนาน และได้เนื้อหาทางศีลธรรมพร้อมๆ กันไป

     สำหรับประเพณีการลอยกระทงในภาคเหนือนี้ ตามหนังสือพงศาวดารโยนกของพระยาประชากิจกรจักร์ (แช่ม บุนนาก)  และหนังสือจามเทวีวงศ์ ว่าสอดคล้องกันดังนี้ เมื่อจุลศักราช 309 หรือ พ.ศ. 1490  พระยาจุเลราชได้ครองราชสมบัติต่อจากกมลราชในลำพูน  สมัยนั้นลำพูนได้เกิดโรคระบาด หรือที่ตำนานว่า โรคหิวหรือ โรคห่า”  หรือ อหิวาตกโรค”  ทำให้ผู้คนล้มตายเป็นอันมาก  พวกที่ยังไม่ตายเห็นว่าถ้าอยู่ในเมืองลำพูนต่อไปก็ต้องตายแน่  จึงพากันอพยพไปอาศัยอยู่ยังเมือง สุธรรมวดี”  คือเมืองสะเทิม ประเทศรามัญ หรือมอญ  เพราะชาติไทยเราสมัยนั้นลงมาตั้งอยู่แต่เมืองเชียงแสนเท่านั้น  ต่อมาพระเจ้าพุกามกษัตริย์พม่าตีได้เมืองสะเทิม  และได้เก็บเอาบุตรธิดาของชาวเมืองไปเป็นบาทบริจาริกาเป็นอันมาก  เมื่อเบื่อหน้าก็ทอดทิ้งเสีย  พวกชาวเมืองหริภุญชัย ก็อพยพหลบหนีไปอาศัยอยู่กับพระเจ้าหงสาวดี ซึ่งทรงอนุเคราะห์เป็นอย่างดี ไปอยู่นานถึง 6 ปี  ครั้นทราบว่าโรคระบาดสงบลงแล้ว ก็คิดถึงบ้านเมืองเดิมของตัว  ก็พากันกลับมายังลำพูนอีด  ครั้นถึงวัน เดือน ปี ครบรอบที่ได้จากพี่น้อง ทางเมืองหงสาวดีมา  ก็จัดแต่งธูปเทียน เครื่องสักการบูชาใส่ในกระทงลอยไปตามแม่น้ำเป็นการส่งเสริมความคิดถึงไปยังญาติพี่น้อง ที่อยู่เมืองหงสาวดี นั้น  เรียกว่า ลอยโขมด หรือลอยไฟ  และถือเป็นประเพณีสืบมา

 

ข้อมูลจาก  สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ http://library.cmu.ac.th/ntic

ข้อมูลติดต่อ โทร.0-5394-4514, 0-5394-4517   email: ntic@lib.cmu.ac.th

 

10,960 views

0

share

Museum in Chiang Mai

14 September 2023
23,085
551
16 July 2020
23,292
1,637
11 January 2019
3,448
301
07 February 2022
46,962
794
11 August 2018
8,314
595
08 August 2022
7,081
608
30 April 2019
38,098
718
17 March 2022
34,850
688