คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
Instructions for use
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

Back

การแสดงตีกลองบูชา

ศิลปะการแสดงตีกลองบูชา (กลองปู่จา) จังหวัดน่าน

     กลองบูชา หรือกลองปู่จา มีประวัติและความเป็นมา ไม่ชัดเจนว่าเกิดขึ้นในสมัยใด รู้แต่เพียงว่าเป็นกลองโบราณชนิดหนึ่ง ซึ่งได้มีการพัฒนารูปร่าง และลักษณะการตีของกลองมาอย่างต่อเนื่อง โดยจากกลองใบใหญ่ใบเดียวที่ใช้ตีเป็นเครื่องส่งสัญญาณในการโจมตีข้าศึกของกองทัพในเวลาสงคราม ตีส่ง สัญญาณบอกข่าวแก่ชุมชน ใช้เป็นเครื่องดนตรีมหรสพเป็นเครื่องประโคมฉลองชัยชนะ และความสนุกสนาน ฯลฯ

     วิธีตีหรือจังหวะการตี เรียกว่า “สะบัดชัย” กลองชนิดนี้ จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กลองสะบัดชัย เมื่อไม่มี การรบทัพจับศึก ก็ได้พัฒนาทั้งรูปร่างลักษณะจังหวะการตีและได้นำมาอยู่กับฝ่ายศาสนจักรใช้ในพิธีกรรม ทางศาสนา เรียกว่า กลองบูชา ก๋องปู่จา หรือ กลองปู่จา ต่อมาได้พัฒนาเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง คือ การตี เพื่อให้เกิดความบันเทิงสนุกสนาน ตามงานบันเทิงต่างๆ สามารถพบเห็นได้ในขบวนแห่ หรืองานแสดงศิลปะพื้นบ้านโดยทั่วไป กลองบูชาใช้ตีได้หลายโอกาสทั้งในพิธีกรรมทางศาสนาและงานต่าง ๆ ของชาวบ้าน และ งานพิธีเปิดของทางราชการ กลองบูชา (กลองปู่จา) เป็นกลองของคนเมืองน่าน ที่ใช้ตีเป็นพุทธบูชา ซึ่งเป็นกลองประจำวัดและอยู่คู่กับพุทธศาสนาในเมืองน่านและถิ่นล้านนามาช้านาน ทั้งนี้เป็นกลองที่มีความสำคัญในระดับหมู่บ้านและระดับเมือง เพราะเป็นกลองตีบอกสัญญาณต่าง ๆ อาทิ บอกเหตุข้าศึกเข้าโจมตีเมือง น้ำท่วม ไฟไหม้ เรียกประชุม บอกเวลา บอกเหตุสำคัญที่เกิดขึ้นในวัด หรือบอกเหตุในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นต้น

    ขณะเดียวกันในอดีตกลองชนิดนี้ ยังมีบทบาทต่อสังคม ไม่จำเป็นต้องใช้กับพุทธศาสนาเท่านั้น ยังคงใช้เป็นสัญญาณบอกให้คนในชุมชนได้รับรู้อาทิ หากอยู่ในช่วงศึกสงครามได้ยินเสียงตีกลอง บูชา (กลองปู่จา) รัวเร็ว เป็นสัญญาณบอกว่าข้าศึกบุกเข้าเมือง ในช่วงเวลาปกติได้ยินเสียงตีกลองรัวเร็วเป็นสัญญาณว่า อาจเกิดเหตุไฟไหม้ที่วัดหรือในหมู่บ้านหรือในเมือง โจรปล้นบ้านหรือเมือง หากอยู่ในช่วงฤดู ฝน ก็เป็นสัญญาณบอกเหตุน้ำท่วม เป็นต้น

 

ข้อมูลจาก : นางจริยา จีนเพชร นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดน่าน

ข้อมูลติดต่อ : โทรศัพท์ 054 711650-1  http://www.m-culture.go.th/nan

8,420 views

0

share

Museum in Bangkok

08 December 2023
29,237
1,581
16 March 2023
65,193
635
21 March 2024
48,814
1,795
07 July 2022
45,184
4,427
09 January 2023
60,872
657
25 July 2022
90,635
784
17 June 2019
26,143
686