คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
Instructions for use
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

Back

แห่เทียนพรรษา

เพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี

     การเทียนพรรษาเป็นประเพณีวันเข้าพรรษาของชาวพุทธที่ได้กระทำต่อเนื่องกันมาแต่พุทธกาลโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา และสังฆบูชา ก่อนสมัยของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการเมืองอุบลในสมัยนั้น ในการทำเทียนพรรษาและการแห่เทียนของชาวเมืองอุบลยังไม่มี ซึ่งเมื่อสมัยนั้นเมื่อถึงวันเทศกาลเข้าพรรษา ชาวบ้านจะฟั่นเทียนพันรอบศรีษะนำไปถวายพระเพื่อจุดบูชาจำพรรษาพร้อมทั้งหาน้ำมัน เครืองไทยทาน และผ้าอาบน้ำฝน ไปถวายพระ

     ครั้นในสมัยกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ได้เป็นผู้สำเร็จราชการที่เมืองอุบลซึ่งในครั้งนั้นได้มีการจัดขบวนแห่บั้งไฟขึ้นที่วัดกลาง โดยมีชาวบ้านเข้าร่วมขบวนแห่เป็นจำนวนมาก ซึ่งในการจัดขบวนแห่ในครั้งนั้นได้มีการทำร้ายร่างกายกันจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย ดังนั้นเมื่อทราบถึงเสด็จในกรมจึงทรงเห็นว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดีจึงขอให้เลิกการแห่บั้งไฟตั้งแต่บัดนั้นโดยให้เปลี่ยนมาเป็นการแห่เทียนแทน

    การแห่เทียนแต่เดิมไม่ได้ใหญ่โตเช่นปัจจุบัน เพียงแต่ชาวบ้านร่วมกันบริจาคเทียนแล้วนำเทียน มาติดกับลำไม้ไผ่ ที่เตรียมไว้ ตามรอยต่อ หากระดาษจังโก (กระดาษสีเงินสีทอง) ตัดเป็นลายฟันปลาติดปิด รอยต่อ เสร็จแล้วนำต้นเทียน ไปมัดติด กับปี๊บ น้ำมันก๊าด ฐานของต้นเทียนใช้ไม้ตีเป็นแผ่นเรียบ หรือทำสูงขึ้นเป็น ชั้นๆ ติดกระดาษ เสร็จแล้วมีการ แห่นำไปถวายวัด ซึ่งพาหนะที่ใช้ในสมัยนั้นนิยมใช้เกวียนหรือล้อเลื่อนที่ใช้วัวหรือคนลากจูง ในสมัยแรกๆนั้นไม่มีการประกวดเทียนพรรษาแต่ชาวบ้านจะกล่าวร่ำลือกันไปว่า เทียนคุ้มวัดนั้นงาม เทียนคุ้มวัดนี้สวยต่อมาผู้สำเร็จราชการเมืองอุบลฯ จึงเห็นควรให้มีการประกวดเทียนพรรษาก่อนแล้วแห่รอบเมืองก่อนจะนำไปถวายพระที่วัด

 

     การจัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี มีการจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดมา โดยชาวบ้านในแต่ละคุ้มวัดก็จัดตกแต่งต้นเทียนของวัดตนให้สวยงามนำมารวมกันที่บริเวณทุ่งศรีเมืองเพื่อประกวดแข่งขันกัน จากงานของชาวบ้านก็พัฒนามาสู่การสนับสนุนอย่างจริงจังจากส่วนราชการ พ่อค้า ห้างร้านเอกชน ร่วมกับประชาชนทายกทายิกาคุ้มวัดต่างๆ และใน ปี พ.ศ. 2519 จังหวัดอุบลราชธานีได้เชิญ องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (อ.ส.ท. ในขณะนั้น) มาสังเกตการณ์ และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 เป็นต้นมาทางจังหวัดอุบลราชธานี ก็ได้รับการสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ให้งานประเพณีแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี เป็นงานประเพณีระดับชาติ โดยเฉพาะในปีท่องเที่ยวไทย (Amazing Thailand 2541-2542) งานประเพณีแห่เทียนพรรษา เป็น 1 ในงานประเพณีที่ถูกโปรโมทเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวให้กับชาวต่างชาติ  งานประเพณีแห่เทียนพรรษาเป็นงานประเพณีที่รวมความผูกพันของชุมชนท้องถิ่น โดยเริ่มตั้งแต่การที่ชาวบ้านร่วมกันบริจาคเทียนเอามาหลอม หล่อเป็นเทียนเล่มใหญ่เล่มเดียวกัน

 

ข้อมูลจาก  จังหวัดอุบลราชธานี   www.ubonratchathani.go.th

ภาพโดย  thetrippacke

55,518 views

1

share

Museum in Ubon Ratchathani

17 December 2021
2,859
0
30 July 2018
5,594
521
03 August 2022
33,221
643
10 April 2019
20,136
558
27 July 2018
3,403
508
30 July 2018
3,276
509
27 July 2018
4,754
504
27 July 2018
8,842
491