คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

เว็บบอร์ด

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   เว็บบอร์ด
  4.    >   ช้องนางอุษาคเนย์ (๑) ธีรภาพ

ช้องนางอุษาคเนย์ (๑) ธีรภาพ

09 มกราคม 2560

ชื่นชอบ 5

1,612 ผู้เข้าชม

0

แบ่งปัน
เมื่อเร็วๆ นี้ “บีบีซีไทย” รายงานข่าว “ธุรกิจขายเส้นผมกำลังมาแรงในพม่า” โดยระบุว่าสตรีชาวพม่ากำลังนิยมขายเส้นผมยาวสลวยของพวกเธอให้ร้านรับซื้อเส้นผม ซึ่งมีอยู่มากมายตามหมู่บ้านต่าง ๆ อันเป็นผลพวงจากความต้องการเส้นผมในตลาดโลกมีมากขึ้น
 

โดยเฉพาะในจีนและอังกฤษ ซึ่งผู้หญิงกำลังนิยมต่อผมเพื่อความสวยงาม ในขณะที่สาวชาวพม่ามองว่า การขายเส้นผมเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการหารายได้ เพราะทำเงินได้ดีกว่าการทำเกษตรกรรม

ทำให้นึกถึงธุรกิจขายเส้นผมในลาว อันมีที่มาจากคติความเชื่อที่สืบทอดกันมานานว่า มาตรฐานสาวงามคือต้องไว้ผมยาว แล้วเกล้ามวยผมสูง หากผมยาวไม่พอจะเกล้าได้ ก็จะเอาเส้นผมของคุณแม่หรือคุณยายมาต่อ เส้นผมที่นำมาต่อหรือพัน นั้น เรียก “ซ้อง” ตรงกับคำในภาษาไทยว่า “ช้อง” ซึ่ง อ.เปลื้อง ณ นคร ปราชญ์ทางภาษาอธิบายความหมายไว้ว่า “ผมเติมสำหรับแซมผมจริงให้ใหญ่หรือสูงขึ้น” 

                           (ภาพ...“ซ้องสำเร็จรูป” สำหรับสาวลาวยุคใหม่)

สาวลาวนิยมใช้ “ซ้อง” เมื่อต้องแต่งชุดประจำชาติ หรือ “อาพอนเพดซงลาว” (อาภรณ์เพศทรงลาว) ในงานบุญ งานประเพณี โดยเฉพาะบรรดานาฏศิลปินทั้งหลาย ต้องมี “ซ้อง” เป็นตัวช่วยให้เกล้ามวยผมได้สูงและสวย เพราะวันนี้ สาวๆ ไม่นิยมไว้ผมยาวกันแล้ว จึงมี “ซ้องสำเร็จรูป” ให้ซื้อหามา “กวม” หรือ “ครอบ” แล้วใช้กิ๊บเหน็บไว้ จนเกล้ามวยผมสูงได้ในพริบตา 

นอกจากนั้น ยังนิยมประดับดอกลั่นทม หรือจำปาลาว ไว้ตรงซ้องที่นำมาเติม อันเป็นที่มาของเนื้อร้องในย่อหน้าแรกของบทเพลงอมตะ “จำปาเมืองลาว” จากปลายปากกาท่านอุดตะมะ จุนละมะนี ซึ่งคนไทยรู้จักกันดีในชื่อเพลง “ดวงจำปา” ที่ขึ้นต้นว่า... 

“โอ้ดวงจำปา เวลาซมน้อง นึกเห็นพันซ้อง มองเห็นหัวใจ เฮานึกขึ้นได้ ในกลิ่นเจ้าหอม เห็นสวน ดอกไม้ บิดาปลูกไว้ ตั้งแต่ใดมา เวลาง่วมเหงา ยังช่วยบรรเทา ให้หายโศกา โอ้ดวงจำปา คู่เคียงเฮามา แต่ยามน้อยเอย...” 
                                        

                (ภาพ..ฟ้อนดวงจำปา เอกลักษณ์นาฏศิลป์ลาววันนี้)

กล่าวได้ว่า ความไพเราะ ลึกซึ้ง กินใจ ของบทเพลง “จำปาเมืองลาว” ทำให้ดอกจำปาลาวที่ “พันซ้อง” กลายเป็นภาพลักษณ์หนึ่งของประเทศลาวและคนลาว ทั้งยังทำให้ “จำปาลาว” กลายเป็นดอกไม้แห่งความระลึกนึกถึงบ้านเกิดเมืองนอน และเป็นดอกไม้ประจำชาติลาวไปโดยปริยาย ด้วยผู้คนจดจำได้ดี โดยไม่ต้องมีประกาศอย่างเป็นทางการ เพราะ... 

“โอ้ดวงจำปา บุปผาเมืองลาว งามดังดวงดาว ซาวลาวปลื้มใจ เมื่อตกอยู่ใน แดนดินล้านซ้าง เมื่อได้พลัดพราก อดีตพลัดจาก บ้านเกิดเมืองนอน ข้อยจะเอาเจ้า เป็นเพื่อนฮ่วมเหงา เท่าสิ้นชีวา โอ้ดวงจำปา มาลางามจริง มิ่งเมืองลาวเอย” 
(เพลง ดวงจำปา หรือ จำปาเมืองลาว 



น่าสนใจว่าธรรมเนียมการใช้ “ซ้อง” หรือ “ช้อง” มาต่อเติมเสริมแต่งนี้ เป็นภาพสะท้อนคติความเชื่อของผู้คนในกลุ่มตระกูลภาษาไท-ลาว ที่ให้ความสำคัญกับ “ศีรษะ” และ “ศิราภรณ์” คือเครื่องประดับศีรษะ เพราะศีรษะเป็นที่อยู่ของ “ขวัญ” ซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔ อธิบายว่า 

“สิ่งไม่มีตัวตน เชื่อกันว่ามีอยู่ประจำชีวิตของคนตั้งแต่เกิด ถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล จิตสบายใจมั่นคง ถ้าคนตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็ออกจากร่างไป เรียกว่า ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน”

ในขณะที่ กลุ่มชาติพันธ์ไทในดินแดนล้านนา มีความเชื่อว่าขวัญที่อยู่บนศีรษะของเด็ก เป็นตัวแทนจิตวิญญาณของญาติผู้ใหญ่ที่เสียชีวิต แล้วกลับชาติมาเกิดเป็นลูกหลานในชาตินี้ แม้ฟังดูจะเป็นเรื่องลี้ลับ ที่หาคำอธิบายไม่ได้ แต่คติความเชื่อนี้ ทำให้เมื่อใดที่มีเด็กเกิดใหม่ในครอบครัว จะมีการทำนายกันว่า ใครเป็นคนที่กลับชาติมาเกิดเป็นเด็กคนนี้ (MGR Online)

                           (ภาพ...ดอกจำปาลาว หรือ “ลั่นทม” ในภาษาไทย)

ทุกวันนี้ในประเทศลาว และในชนบทของไทย ยังมีการจัดพิธี “สูดขวัญ” หรือ “สู่ขวัญ” กันอย่างเอิกเกริก เพื่อรับขวัญเด็กเกิดใหม่ รับขวัญอาคันตุกะผู้มาเยือน รวมถึงเรียกขวัญให้ผู้เจ็บไข้ได้ป่วย หรือทรัพย์สินเงินทองหาย หรือญาติพี่น้องที่เพิ่งผ่านเรื่องร้ายๆ มา

และจึงไม่น่าแปลกใจ ที่ข้อห้ามเล่นศีรษะ เป็นหนึ่งในข้อควรระวัง ที่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติพึงตระหนักและเรียนรู้ เมื่อจะมาเยือนไทยและลาว   


                             (ภาพ...สตรีลาวนิยมไว้ผมยาว แล้วเกล้ามวยผมสูง)


                             (ภาพ...สาวลาวยุคใหม่นิยมใช้“ซ้องสำเร็จรูป” เมื่อสวมใส่ชุดประจำชาติ)


                               (ภาพ...“ผูกข้อต่อแขน” ขั้นตอนสำคัญในพิธีสู่ขวัญ)


                               (ภาพ...สายการบินแห่งชาติลาวมีดอกจำปาลาวเป็นโลโก้)

วันที่สร้าง : 15 มีนาคม 2560

0

แบ่งปัน
สร้างโดย