คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

เว็บบอร์ด

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   เว็บบอร์ด
  4.    >   วิลิสมาหรา ห้าทับหลัง ณ อุษาคเนย์

วิลิสมาหรา ห้าทับหลัง ณ อุษาคเนย์

13 กุมภาพันธ์ 2560

ชื่นชอบ 3

3,576 ผู้เข้าชม

1

แบ่งปัน
“ทับหลัง” ในงานสถาปัตยกรรมประเภท “ปราสาทหิน” ศิลปะขะแมร์แต่โบราณ หมายถึงหินรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่วางไว้ หรือ ทับไว้เหนือซุ้มประตูทางเข้าเทวสถานหรือปราสาท และมักรองรับ “หน้าบัน” หรือหินรูปสามเหลี่ยม ที่ศิลปะไทยเรียก “หน้าจั่ว” ไว้อีกชั้นหนึ่ง

ทั้ง “ทับหลัง” และ “หน้าบัน” ถือเป็นงานประติมากรรมที่ผู้สร้างปราสาท ใช้เป็นพื้นที่แสดงงานศิลปะประดับปราสาทให้สวยงาม และบางครั้งใช้แสดงเจตนารมณ์ว่าเทวสถานองค์นั้นๆ สร้างถวายเทพเจ้าองค์ใด หรือเทิดทูนบูชาเทพเจ้าองค์ใด ด้วยการจำหลัก หรือแกะสลักลวดลายและเรื่องเล่าเกี่ยวกับเทพเจ้าไว้อย่างวิจิตรตา

ปราสาทหินที่อยู่ในเขตแดนประเทศไทยปัจจุบัน มีทับหลังและหน้าบันชิ้นงามๆ จำนวนมาก ทว่า มีหลายชิ้นที่นำไปเก็บรักษาและจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑสถานตามจังหวัดต่างๆ แต่ก็ยังมีอีกส่วนหนึ่ง ที่ยังคงประดับไว้ ณ จุดที่ตั้งเดิมตามปราสาทหินหลายแห่ง

วันนี้ จะนำท่านไปชมทับหลังชิ้นงามตามปราสาทต่างๆ 5 แห่งในเขตแดนไทยและลาว ซึ่งการคัดสรรทับหลังชิ้นงามทั้งห้านี้ มิได้มุ่งหมายเพื่อจัดลำดับความงามหรือความสำคัญ ตามหลักเกณฑ์ทางวิชาการโบราณคดีแต่อย่างใด หากเป็นการคัดเลือกจากทัศนะหรือความประทับใจของผู้เขียนเอง ซึ่งมิอาจนำไปอ้างอิงทางวิชาการได้


๑.ทับหลัง “ศิวนาฏราช” ปราสาทศีขรภูมิ  อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ประดับอยู่เหนือซุ้มประตูทางเข้าปรางค์ประธานของปราสาท เป็นประติมากรรมจำหลักศิลาอันอลังการตระการตายิ่งนัก และอาจจัดเป็นงานจำหลักใน “ลัทธิรังเกียจที่ว่าง” คือแกะสลักเรื่องราวและลวดลายไว้แทบทุกตารางนิ้วของทับหลัง โดยมีภาพ “ศิวนาฏราช
เหนือหน้ากาล” (หรือเกียรติมุข) เป็นจุดเด่น

โดยมุ่งหมายสำแดงฤทธานุภาพ 3 สถานะของพระศิวะ คือผู้สร้างโลก ผู้ปกปักรักษาโลก และผู้ทำลายล้างโลกยามทุกข์เข็ญ ด้วยการร่ายรำ หรือแสดงนาฏราชจนเกิดไฟประลัยกัลป์เผาผลาญโลก นอกจากนี้ ศิวนาฏราชยังถือเป็นต้นแบบ 108 ท่ารำในวิชานาฏยศาสตร์ของอินเดีย ซึ่งส่งอิทธิพลต่อวิชานาฏศิลป์ของชาวอุษาคเนย์ – อาเซียนด้วย
 
ทับหลังชิ้นสำคัญนี้ ยังจำหลักภาพเหล่าทวยเทพองค์สำคัญ ทั้งพระพรหม พระนารายณ์ พระคเณศ พระอุมาฯลฯมาร่วมบรรเลงดนตรีปะะกอบการร่ายรำของพระศิวะครั้งนี้ด้วย จนมีคำกล่าวว่า ไปศีขรภูมิแล้วได้ชมหน้าบันภาพนี้ภาพเดียวก็คุ้มแล้ว อีกทั้งยังเป็นปราสาทเดียวในเขตแดนไทย ที่มีภาพจำหลักนางอัปสรา หรือเทพอัปสรซึ่งมีนกแก้วเกาะที่ไหล่ช่างน่ารักยิ่งนักด้วย


๒.ทับหลัง “อุมามเหศวร” เหนือหน้ากาลกำลังคายพวงอุบะ ที่ปรางค์ด้านทิศเหนือของปราสาทเมืองต่ำ อำเภอ ประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นภาพจำหลักนูนสูงที่งดงามด้วยลายพรรณพฤกษา เสริมส่งองค์พระศิวะโดดเด่นในฐานะมหาเทพประทับนั่งบนหลังโคนนทิ (พระพาหนะทรง) โดยมีพระศรีอุมาประทับนั่งบนพระเพลาพระศิวะ เรียกกันว่าภาพ “อุมามเหศวร” 
นอกจากนั้น ปราสาทเมืองต่ำยังโดดเด่นด้วยซุ้มประตูทางลงสู่สระน้ำที่ล้อมรอบปราสาท ดั่งมหานทีสีทันดรล้อมรอบเขาพระสุเมรุ อันควรค่าแก่การชมยิ่งนัก


3.ทับหลัง “นารายณ์บรรทมสินธุ์” หรือ “พระวิษณุอนันตสายิน” ที่ซุ้มประตูทางเข้าปรางค์ประธานปราสาทพนมรุ้งทิศตะวันออก งานประติมากรรมที่โด่งดังที่สุด จากการถูกโจรกรรมไปหลายสิบปี กว่าที่จะได้กลับคืนมาในปี 2531
เป็นภาพเล่าเรื่องพระวิษณุ หรือพระนารายณ์บรรทมอยู่เหนือพญาอนันตนาคราชในเกษียรสมุทร (ทะเลน้ำนม) จากนั้นมีดอกบัวอออกมาจากพระนาภี โดยเหนือดอกบัวนั้นมีพระพรหมประทับนั่งอยู่ ตามคติความเชื่อของชาวฮินดูลัทธิไวษณพนิกาย ว่าพระวิษณุเป็นผู้สร้างพระพรหมเพื่อมาสร้างโลก

อย่างไรก็ตาม เหนือทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ยังมีภาพ “ศิวนาฏราช” ประดับอยู่ที่หน้าบัน อันเป็นสิ่งบ่งชี้ประการหนึ่งว่า ปราสาทพนมรุ้งเป็นเทวสถานในลัทธิไศวนิกาย ที่เทิดทูนพระศิวะเหนือกว่าเทพใดๆ


4.พระธาตุนารายณ์เจงเวง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร แม้จะเป็นปราสาทขนาดเล็ก แต่ก็มีภาพทับหลังที่น่าสนใจ โดยเฉพาะที่ปรางค์ประธานด้านทิศเหนือ มีทับหลังเล่าเรื่อง “กฤษณาวตาร” คือพระวิษณุหรือพระนารายณ์แบ่งภาคมาเกิดเป็นพระกฤษณะ กำลังปราบสิงห์ที่ดุร้ายทรงพละกำลัง อันถือเป็น “เทพปกรณัม” หรือเรื่องเล่าเพื่อเทิดทูนพระวิษณุในฐานะเทพผู้ปกปกป้องคุ้มครองโลก 

โดยพระกฤษณะในภาพนี้ ปรากฏในซุ้มเรือนแก้ว อันรายรอบด้วยลวดลายพรรณพฤกษาที่งดงามด้วยฝีมือการแกะสลักแบบนูนสูง นอกจากนั้น เหนือขึ้นไปจากภาพพระกฤษณะ ยังมีหน้าบัน “นารายณ์บรรทมสินธุ์” ฝีมือช่างท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใครอีกด้วย


5.ทับหลัง “พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ” เหนือซุ้มประตูทางเข้าทิศตะวันออกของปรางค์ประธานปราสาทวัดพู แหล่งมรดกโลก ณ แขวงจำปาสัก สปป.ลาว ซึ่งสามารถเดินทางเข้าไปชมได้ไม่ยาก ด้วยการข้ามแดนไทย-ลาว ตรงด่านช่องเม็ก จังหวัดอุบลราชธานี 

เป็นทับหลัง “พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ” ที่ได้รับการยกย่องว่างามอย่างวิลิสมาหรา ด้วยศิลปะแบบ “บันทายสรี” จากฝีมือช่างซึ่งอนุมานว่าอาจเป็นช่างหลวงจากเมืองพระนคร (Angkor) ศูนย์กลางอำนาจของราชสำนักขะแมร์ยุครุ่งเรือง ส่งมารังสรรค์ภาพประดับเทวสถานที่บุรพกษัตริย์สร้างไว้

เป็นภาพจำหลักแบบนูนสูง คือแกะหรือคว้านหินทรายลงไปลึกราวสององคุลี หรือสองข้อนิ้ว กระทั่งกลีบดอกไม้ในลายพรรณพฤกษาดูราวจะพลิ้วไหวได้...ยามต้องลมพัดแรง อีกทั้งยังจำหลักลายละเอียดแทบทุกตารางนิ้วแบบลัทธิ “รังเกียจที่ว่าง” อีกเช่นกัน ที่สำคัญคือเป็นทับหลังชิ้นเอกที่ยังประดับไว้ ณ ตำแหน่งเดิม โดยได้รับการปกปักรักษาไว้อย่างดียิ่ง  

*ทับหลัง “พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ” เหนือซุ้มประตูทางเข้าปรางค์ประธานปราสาทวัดพู 


*สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ฉายพระรูปหน้าปรางค์ประธาน ปราสาทศีขรภูมิ


*ปราสาทเมืองต่ำโดดเด่นด้วยซุ้มประตูทางลงสู่สระน้ำ ที่ล้อมรอบปราสาทดั่งมหานทีสีทันดร


*เหนือทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ยังมีภาพ “ศิวนาฏราช” ประดับอยู่ที่หน้าบัน 


*พระธาตุนารายณ์เจงเวง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 

วันที่สร้าง : 15 มีนาคม 2560

1

แบ่งปัน
สร้างโดย