กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก

11 ตุลาคม 2561

ชื่นชอบ 517

8,553 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

พิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก เป็นโครงการจัดสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติด้านชาติพันธุ์วิทยา กำเนิดจากนโยบายของกรมศิลปากร ภายใต้แนวคิดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มุ่งเน้นการกระจายความเจริญจากกลางใจเมืองออกสู่ชานเมือง และการเติมเต็มความสมบูรณ์ของการจัดแสดงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติให้ครอบคลุมทุกสาขาวิชาด้านมนุษยศาสตร์และสังคมวิทยา

 

ต่อมา กรมศิลปากรได้ปรับพื้นที่โดยผนวกพิพิธภัณฑสถานเฉพาะด้านสาขาอื่นๆ และอาคารปฏิบัติการในการอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมของหน่วยงานที่โยกย้ายออกจากกรุงเทพมหานคร มารวมไว้ด้วยกัน เพื่อเตรียมจัดตั้งพื้นที่ทั้งโครงการให้เป็นศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติรัชกาล-ที่ 9 แหล่งเรียนรู้สหสาขาวิชา ที่ครอบคลุมความรู้เรื่องเกี่ยวกับคนไทย ทั้งชาติพันธุ์วิทยา วัฒนธรรม ศิลปะ และธรรมชาติวิทยา ที่สามารถเอื้อประโยชน์การเรียนรู้แก่สังคมได้อย่างสมบูรณ์ และเป็นเสมือนประตูเข้าสู่ภูมิภาค ให้ความรู้แก่อาคันตุกะเป็นบทนำก่อนเดินทางไปท่องเที่ยวในพื้นที่ต่างๆของประเทศ

 

ถึงแม้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ แต่ก็สามารถให้ความรู้แก่นักเรียน หรือผู้ที่สนใจได้ ในรูปแบบของนิทรรศการสัญจรตามสถานศึกษา และศูนย์กลางชุมชน พร้อมสื่อการเรียนรู้ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นศิลปะวัตถุ โบราณวัตถุจำลอง ภาพสไลด์ เป็นต้น โดยมีผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้บรรยาย และเปิดให้บริการในส่วนของศูนย์ข้อมูลโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ ซึ่งมีการจัดแสดงโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ ประเภทเครื่องปั้นดินเผา ผ้า อาวุธ เครื่องใช้ในการเกษตร จำนวนมากกว่า 10,000 รายการในรูปแบบของคลังเปิด

บริหารจัดการ

กรมศิลปากร

ประเภทพิพิธภัณฑ์

อื่นๆ

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

ชาติพันธุ์วิทยา
พื้นฐานแนวคิดกลุ่มชาติพันธุ์ในการจัดแสดงนิทรรศการถาวร ด้านชาติพันธุ์วิทยา
ณ ปัจจุบัน คณะทำงานได้วางแนวทางการจัดแสดงเรื่องราวของกลุ่มชาติพันธุ์วิทยาในประเทศไทย บนพื้นฐานแนวคิดการจัดแบ่งกลุ่มตามตระกูลภาษาของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งแบ่งไว้ 5 ตระกูลภาษาหลักของคนในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ได้แก่

ภาษาตระกูลไท (Tai Language Family)

ภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic Language Family)

ภาษาตระกูลจีน-ทิเบต (Shino-Tibetan Language Family)

ภาษาตระกูลออสโตรเนเชียน หรือ มาลาโยโพลีเนเชียน( Austronesian or Maloyo-Polynasian Language Family)

ภาษาตระกูลม้ง- เมี่ยน (Hmong – Mien Language Family)

          รวมจำนวนกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย จากข้อมูลศึกษา ณ ปัจจุบันมี 46 กลุ่มชาติพันธุ์จำแนกตาม 5 ตระกูลภาษาหลัก ดังนี้

 

ภาษาตระกูลไท

ภาษาตระกูล

ออสโตรเอเชียติก

ภาษาตระกูล

จีน –ทิเบต

ภาษาตระกูล

ออสโตรเนเชียน

ภาษาตระกูล

ม้ง-เมี่ยน

1. ไทยกลาง

1.ละเวือะ

1. จีน

1. มลายู

1.ม้ง

2. ไทยวน

2.ดาระอาง

2. (จีน) ฮ่อ

 2. อูลักลาโว้ย

2.เมี่ยน

3.ไทลื้อ

3. มัล/ปรัย

3.อาข่า

 3. มอแกน

 

4. ยอง.

4. ขมุ

4. ลีซู

 

 

5. เขิน

5. มลาบรี

5. ลาฮู(มูเซอ)

 

 

6. ไทใหญ่

6. คแมร-ลือ

6. กะเหรียง

 

 

7. ไทยอิสาน

  (ลาวอีสาน,ลาว)

7. กูย

6.1  จกอ

 

 

8. ผู้ไท

8. บรู

6.2 พล่อ

 

 

9. กะเลิง

9. โส้

6.3 คะยา(บเว)

 

 

10. โย้ย

10. ญัฮกูรู

6.4 ตองสู

 

 

11. ญ้อ

11. ชอง

6.5 กะยัน

 

 

12. ไทยโคราช

(ไทเบิ้ง, ไทเติ้ง)

12. กะซองและซัมเร

7. ก้อง( อุก๋อง)

 

 

13. พวน

13. มอญ

8. บิซู

 

 

14. ลาวเวียง

14. เวียตนาม

 

 

 

15. ลาวตี้ ลาวแง้ว

15.เซมัง(นิกริโต)

 

 

 

16. ลาวครั่ง

(ลาวหล่ม,ไทเลย

 

 

 

 

17. โซ่ง

 

 

 

 

18. ไทยใต้

 

 

 

 

 

หมายเหตุการณ์จัดลำดับกลุ่ม

1. จัดตามกลุ่มวัฒนธรรมใหญ่ ซึ่งบางกลุ่มวัฒนธรรมอยู่ในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงกัน

    ส่งผลต่อการส่ง-รับวัฒนธรรมซึ่งกัน

 

2.  จัดตามกลุ่มที่เป็นเอกเทศทางวัฒนธรรม

แผนที่

Map

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

44 ม 5 ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ : 02-902 7568-9
เว็บไซต์ : http://www.finearts.go.th/museumkanjanaphisek/
อีเมล : kanjanaphisek.445@gmail.com

วันและเวลาทำการ

วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น.

ค่าเข้าชม

ไม่เสียค่าเข้าชม

การเดินทาง

โดยรถยนต์ จากกรุงเทเพฯ ใช้ทางด่วนพิเศษ ลงที่ด่านธรรมศาสตร์ ใช้เส้นทางถนนคลองหลวงผ่าน
ทางเข้าวัดพระธรรมกายถึงจุดตัดกับถนนวงแหวนรอบนอกบางพลี-บางปะอิน ตรงไปจนสุดเส้นทางที่ถนนเลียบคลองห้า 

หรือใช้ทางเส้นรังสิต-นครนายก เลี้ยวเข้าทางถนนเลียบคลองห้า ผ่านหน้าพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์   ตรงไปอีกประมาณ 3 กิโลเมตร

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะจะต้องทำหนังสือก่อนขอเข้าเยี่ยมชม

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีลานจอดรถ

6

แบ่งปัน

กิจกรรม

26 ต.ค. 2566

31 ต.ค. 2566

26 ตุลาคม 2566
พบกับ museum talk Live ในโอกาสพิเศษ พิพิธภัณฑ์ชวนมานั่งคุยเรื่องผีๆ  Happy Halloween “เรื่องผีๆ” 31 ตุลาคม 2566 เวลาดี 13.31 น. facebook ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก  งานนี้มีแจกเครื่องรางของขลัง ใน Live ด้วยนะ   พูดคุยสนุกๆ กับวิทยากรมากประสบการณ์ นิชนันท์ กลางวิชัย : เราเป็นผีไม่ได้หรอก เพราะเราหลอกใครไม่เป็น สิรินทร์ ย้วนใยดี : เพียงเธอล้างหน้า วันธรรมดาก็เป็นฮาโลวีน อรุณี แซ่เล้า : ผีมีอยู่จริง เอ๊ะ! หรือว่าเราชินภาพในกระจก จิตธาดา ฤกษ์สุข : เป็นได้อยู่ผีเดียว คือ ผี่น้องกัน
pav

/

next

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง