กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   ห้องภาพเมืองสุรินทร์

ห้องภาพเมืองสุรินทร์

30 กรกฎาคม 2561

ชื่นชอบ 507

3,270 ผู้เข้าชม

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

ย้อนกลับไป ก่อน ปี พ.ศ.2547  กระแสเรื่องราวของการเก็บรวบรวมภาพเก่า  และเรื่องเล่าจากตัวบุคคลในท้องถิ่น  ยังไม่มีผู้ให้ความสำคัญมากนัก  กลุ่มคนเล็กๆ  ที่สนใจเรื่องราวทางประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า  ได้รวมตัวกันอย่างหลวมๆ  เก็บเรื่องราวและประสบการณ์ของผู้คนในครอบครัวและใกล้ตัวมาแลกเปลี่ยนกัน  ด้วยแนวคิดที่ว่า  “อยากรู้เรื่องบ้านของตนเอง  ทำไมต้องไปถามคนที่อยู่ที่อื่น  ทั้งๆ ที่คนที่จะบอกเล่าเรื่องราวของท้องถิ่นได้ดีที่สุด  ก็น่าจะเป็นคนท้องถิ่นเอง”  แม้ว่าการเล่าเรื่องราวจากประสบการณ์ของแต่ละคนจะมีมุมมองที่แตกต่างกัน  แต่การได้มีเวทีเล็กๆ  แลกเปลี่ยนกันก็สามารถทำให้สกัดข้อมูล  และสังเคราะห์  วิเคราะห์เรื่องราว  วิถีชีวิตของผู้คนในแต่ละช่วงของเวลาออกมาได้

จากความสนในเรื่องราวจากคำบอกเล่า  นำมาสู่การรื้อแฟ้มภาพเก่าๆ ข้าวของ เครื่องใช้เก่าๆ  ของแต่ละบ้านออกมา  เพื่อเป็นเครื่องมือในการฟื้นความทรงจำของผู้เฒ่าผู้แก่  แต่ละท่าน  เริ่มต้นจาก 1 ภาพ เป็น 10 ภาพ เป็น 100 ขยายขอบเขตแนวคิด  และแนวร่วมจากคนท้องถิ่นมากขึ้นตามลำดับ

ในปี พ.ศ.2547  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริถึงคุณค่าของภาพเก่าไว้ว่า  “ภาพเก่าจะสามารถบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ  ได้เอง  โดยไม่ต้องอาศัยคำบรรยายมากนัก  ถ้าทำได้ ควรจะสอดส่องหาภาพต่างๆ  ในอดีตทั้งใกล้และไกลมาเก็บไว้  พยายามขอจากคนมีภาพ  ถ้าเจ้าของไม่มอบให้เป็นสมบัติของหอจดหมายเหตุ  ก็พยายามขอยืมถ่ายสำเนาเอาไว้  ค่อยศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับภาพให้ดีที่สุด  โดยค้นจากเอกสารและสอบถามจากผู้รู้หลายๆ  ท่าน  สอบทานกัน” (“สยามประเทศ”, มติชนรายวัน, 11 มิถุนายน 2547)

พระราชดำริอันเป็นสิริมงคลนี้ก็คือ  แนวทางการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจาก  “ภาพเก่า”  และ  “เรื่องเล่า”  นั่นเอง  การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจากภาพเก่าและเรื่องเล่า  เป็นแนวทางการศึกษาที่ค่อนข้างใหม่สำหรับแวดวงการศึกษาด้านประวัติศาสตร์  ทั้งในแง่ของการเก็บข้อมูลจากคำบอกเล่าเรื่องราวของผู้คนในท้องถิ่น อันเป็นการเริ่มใช้   “พยาน”  (เรื่องเล่าของบุคคล) มาประกอบกับ  “หลักฐาน” (ภาพเก่า)  ที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์  ยิ่งไปกว่านั้นการเล่าเรื่องราวของ  “ท้องถิ่น”  โดยคนในท้องถิ่น ก็ยังเป็นเรื่องค่อนข้างใหม่เช่นกัน  ทั้งนี้เพราะโดยส่วนใหญ่เรื่องราวประวัติศาสตร์ของชาติไทยมักเป็นเรื่องของบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์แห่งชาติ และราชวงศ์ต่างๆ  การหันมาให้ความสำคัญกับคนในท้องถิ่นและเรื่องราวของท้องถิ่นจึงเป็นการเริ่มต้นของการยอมรับความหลากหลายของท้องถิ่นที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นราชอาณาจักรไทย

นอกจากนี้ การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจากภาพเก่าและเรื่องเล่า  ยังเป็นการทำให้ลูกหลานในยุคปัจจุบันได้เริ่มเรียนรู้และเห็นความสำคัญของรากเหง้าเผ่าพันธุ์  อันนำไปสู่การสร้างสำนึกของความผูกพันและรักท้องถิ่นแผ่นดินเกิด โดยการกลับมาค้นหา  “พลังและคุณค่าของท้องถิ่น” ที่เคยมีมาแต่ครั้งบรรพบุรุษ ไม่ว่าจะเป็นความรู้ภูมิปัญญา วัฒนธรรมประเพณี    
 

ฐานทรัพยากร  และสายใยความผูกพันของผู้คน  ซึ่งจะเป็นพลังสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่นต่อไปในอนาคต

กล่าวได้ว่า การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจาก “ภาพเก่า”  และ “เรื่องเล่า” เป็นการศึกษาประวัติศาสตร์บอกเล่า (มุขปาฐะ)  เป็นข้อมูลจากประสบการณ์  ความทรงจำของบุคคล และความทรงจำร่วมของชุมชน  นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างกระแสเกี่ยวกับจิตสำนึกให้เกิดความรักความภูมิใจต่อท้องถิ่น  ดังปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกล่าวถึงบุคคลซึ่งร่วมกันเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมย่อมมีสิทธิอนุรักษ์และฟื้นฟูจารีตประเพณี  ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะ และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ

ในช่วงระยะเวลา 100 ปีที่ผ่านมา  เมืองสุรินทร์ได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่หลายประการ  ทั้งด้านเศรษฐกิจ  สังคม  การเมือง  ตลอดจนวิถีการดำรงชีวิต  โดยมีเหตุการณ์ที่สำคัญเกิดขึ้นหลายเหตุการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการสร้างทางรถไฟมาถึงเมืองสุรินทร์ ในปี  พ.ศ. 2469

อย่างไรก็ดี ในปัจจุบัน  ภาพเก่าและเรื่องเล่าของเมืองสุรินทร์ได้กระจัดกระจายอยู่กับครอบครัวต่างๆ  และเอกสารเก่าจำนวนหนึ่ง และอีกจำนวนไม่น้อยได้สูญหายไปตามกาลเวลา (เพลิงไหม้บ้าง  น้ำท่วมบ้านเรือนบ้าง  ปลวกกินบ้าง  สูญหายบ้าง)  อีกทั้งข้อมูลเกี่ยวกับภาพเก่า ก็ยังมิได้มีการประมวลและเรียบเรียงให้เป็นชุดความรู้ท้องถิ่นอย่างเป็นระบบจริงจัง

ด้วยเหตุนี้ จึงมีการจัดงาน  “ภาพเก่า  เล่าเรื่อง  เมืองสุรินทร์”  ขึ้นครั้งแรก เมื่อเดือน กรกฏาคม  พ.ศ. 2547  และจัดอีก 4 ครั้งที่เวทีไผทสราญ,  จัด 3  ครั้งที่สถานีรถไฟจังหวัดสุรินทร์  และจัดเป็นกิจกรรมเรื่องเล่าเสริมทักษะเรื่องการอ่าน  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ของนักเรียนรุ่นเก่ากับรุ่นใหม่ตามโรงเรียนในจังหวัดสุรินทร์ และร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ อีก 13  ครั้ง  รวม  21  ครั้ง จาก ปี พ.ศ.2547 ถึง ปี พ.ศ. 2551  ส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการเผยแพร่ข้อมูลที่ได้รวบรวมมาได้ออกเป็นชุดข้อมูล  ชุดนิทรรศการ  เป็นประโยชน์ต่อคนท้องถิ่นและผู้ที่สนใจ  นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรม  “เรื่องเล่า  ชาวคุ้มวัด”  เพื่อรวบรวมเรื่องราว  เรื่องเล่า  ของผู้เฒ่าผู้แก่  ในแต่ละคุ้มวัด  การจัดงานเหล่านี้ได้รับการตอบรับอย่างดีเยี่ยมจากคนในท้องถิ่น  แม้ว่างานจะไม่ยิ่งใหญ่  จัดได้ตามกำลังที่กลุ่มคนเล็กๆ  พึงทำได้เท่านั้น

 

บริหารจัดการ

หน่วยงานราชการ

ประเภทพิพิธภัณฑ์

ชีวประวัติ, ประวัติศาสตร์ และ โบราณคดี

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

หน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ ถ.สายสุรินทร์-ปราสาท ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 32000
โทรศัพท์ : 044-518786 ,085-8602056
เว็บไซต์ : http://suringallery.blogspot.com/

วันและเวลาทำการ

เปิดวันพุธ-เสาร์ เวลา 10.00 - 18.00 น.

ค่าเข้าชม

ไม่เสียค่าเข้าชม

การเดินทาง

โดยรถยนต์
- ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) จนถึงจังหวัดสระบุรี แยกขวาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) ไปจน ถึงจังหวัดนครราชสีมา จากนั้นแยกใช้ทางหลวงหมายเลข 226 ผ่านจังหวัดบุรีรัมย์ ถึงจังหวัดสุรินทร์ รวมระยะทาง ประมาณ 434 กิโลเมตร

จากนั้นไปอีก 6.8 กม. ผ่าน ถนนหมายเลข 214 เลี้ยวซ้าย450 เมตรแล้วเลี้ยวขวา3.4 กม จะถึงจุดหมาย

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะจะต้องทำหนังสือก่อนขอเข้าเยี่ยมชม

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีลานจอดรถ

3

แบ่งปัน

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง