กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง

อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง

04 ตุลาคม 2564

ชื่นชอบ 640

45,426 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

ปราสาทพนมรุ้ง ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้ง ซึ่งเป็นภูเขาไปที่ดับสนิทแล้ว เป็นโบราณสถานเนื่องในอิทธิพลอารยธรรมเขมรโบราณที่มีความงดงาม และมีความสำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย

 

ศาสนสถานแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อถวายแด่พระศิวะ หนึ่งในสามเทพเจ้าสูงสุดในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู (ตรีมูรติ) ลัทธิไศวะนิกาย เขาพนมรุ้งและปราสาทบนยอดเขาจึงเปรียบเสมือนเขาไกรลาสอันเป็นที่ประทับของพระศิวะ และยังเป็นสัญลักษณ์ของศูนย์กลางจักรวาล กลุ่มอาคารบนยอดเขามีการก่อสร้างหลายยุคสมัยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 154 – 18

 

“พนมรุ้ง” มาจากภาษาเขมรว่า “วนํรุง” แปลว่า ภูเขาอันกว้างใหญ่ โดยคำนี่ปรากฏอยู่ในศิลาจารึกอักษรขอมพบที่ปราสาทพนมรุ้ง และยังปรากฏชื่อผู้สร้างปราสาทคือ “นเรนทราทิตย” เชื้อสายราชวงศ์มหิธรปุระผู้เกี่ยวข้องเป็นพระญาติของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 แห่งเมืองพระนคร ผู้สร้างปราสาทนครวัด

 

ภายในมีสิ่งก่อสร้างที่สำคัญ อาทิ

  • สะพานนาคราช มีความหมายเปรียบเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับโลกของเทพเจ้า เพราะในความเชื่อเกี่ยวกับจักรวาลของฮินดู สะพานที่เชื่อมระหว่างมนุษย์กับเทพเจ้า คือ สายรุ้ง ในเอเชียตะวันออกและอินเดียมักจะเปรียบสายรุ้งกับงู(นาค) หลากสี ที่ชูหัวไปยังท้องฟ้าหรือกำลังดื่มน้ำจากทะเล ศูนย์กลางบนพื้นหินของสะพานจำหลักรูปดอกบัว ๘ กลีบ อยู่ในวงกลม

 

  • ทางเดินขึ้นไปยังลานบนยอดเขาทำเป็นบันไดหินทราย สูง ๑๐ เมตร มี ๕ ชั้น จำนวน ๕๒ ขั้น  มีชานพัก ๕ ชั้น บันไดและชานพักแต่ละชั้นลดหลั่นกันขึ้นไปตามลำดับความสูง ให้ความรู้สึกของยอดเขาที่สูงเสียดยอดขึ้นไปสู่สวรรค์

 

  • ลานหน้าระเบียงคด เป็นลานโล่งกว้าง ตั้งอยู่บนฐานซึ่งเกิดจากการถมปรับระดับพื้นที่ภูเขาเพื่อประโยชน์ใช้สอย ลักษณะเป็นยกพื้นเตี้ยๆ รูปกากบาทก่อด้วยศิลาแลง ผังรูปกากบาทนี้  ทำให้เกิดช่องทางเดินและช่องสี่เหลี่ยมคล้ายสระเล็กๆ จำนวน  ๔ ช่อง

 

  • สะพานนาคราชชั้นที่ ๒ ศูนย์กลางบนพื้นหินของสะพานจำหลักรูปดอกบัว ๘ กลีบ อยู่ในวงกลม เช่นเดียวกับสะพานนาคชั้นที่ ๑ ถัดมาเป็นระเบียงคดก่อเป็นห้องยาว แต่ไม่สามารถเดินทะลุถึงกันได้เพราะทำเป็นผนังกั้นเป็นช่วงๆ  ซุ้มประตูกลางของระเบียงคดด้านทิศตะวันออกมีมุขทั้งด้านในและด้านนอก ด้านข้างชักปีกออกไปต่อกับห้องของระเบียงคด จึงมีลักษณะเป็นห้องรูปกากบาท รูปโค้งลดชั้นประดับสันหลังคาด้วยบราลี

 

  • ปราสาทประธาน  เป็นสถาปัตยกรรมหลักที่สำคัญที่สุด ตั้งอยู่ตรงศูนย์กลางของลานปราสาทชั้นใน ส่วนทางด้านหน้า คือ ทิศตะวันออกทำเป็นอาคารมีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเรียกว่า “วิหาร” ซึ่งในตำแหน่งเดียวกันกับสถาปัตยกรรมต้นแบบของอินเดีย  เป็นอาคารแผนผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเรียกว่า “มณฑป” โดยมีอันตราละหรือฉนวนเชื่อมกับปราสาทประธาน ส่วนต่างๆทั้งหมดของปราสาทประธานตั้งอยู่บนฐาน ๒ ชั้น ย่อเก็จรับกันกับอาคาร

 

  • ปราสาทอิฐ ๒ หลัง มีเสาประดับกรอบประตูที่ทำด้วยหินทราย ซึ่งนักประวัติศาสตร์ศิลปะได้ศึกษาพบว่า น่าจะมีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ และพบประติมากรรมหินทราย ๒ รูป นับเป็นสถาปัตยกรรมที่มีอายุเก่าที่สุดที่เหลืออยู่

บริหารจัดการ

กรมศิลปากร

ประเภทพิพิธภัณฑ์

ชีวประวัติ, ประวัติศาสตร์ และ โบราณคดี

พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

• งานเทศกาลที่สำคัญประจำปีของปราสาทหินเขาพนมรุ้ง

• ลวดลายแกะสลัก หินสลักรูปดอกบัวแปดกลีบ และทัพหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ที่มีชื่อเสียง

• ลายหินแกะสลักบริเวณเสาประตู รูปเทวดาประจำทิศ ฤาษี และเทพดาทางศาสนาฮินดู

• แท่นศิวลึงค์ และโคนันทิพาหนะของพระศิวะ ภายในตัวปราสาทหินพนมรุ้ง

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

หมู่ที่ 2 (บ้านดอนหนองแหน) ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ 31110
โทรศัพท์ : 044-666 251
โทรสาร : 044-666 252
เว็บไซต์ : http://www.finearts.go.th/phanomrunghistoricalpark
อีเมล : phnomrungoffice@yahoo.co.th

วันและเวลาทำการ

เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 07.00-18.00 น.

ค่าเข้าชม

  1. ค่าเข้าชมโบราณสถาน

ชื่อโบราณสถาน

อัตราค่าเข้าชมต่อคน (บาท)

สัญชาติไทย

สัญชาติอื่น

บัตรปลีก

บัตรรวม

บัตรปลีก

บัตรรวม

อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง

20

30

100

150

โบราณสถานปราสาทเมืองต่ำ

20

100

         

2. ค่านำยานพาหนะเข้าไปในเขตโบราณสถาน (กรณีเข้าประตู 3 ด้านหลังปราสาทพนมรุ้ง)

                   (1) รถจักรยาน 2 ล้อ คันละ 10 บาท

                   (2) รถจักรยานยนต์หรือรถจักรยาน 3 ล้อ คันละ 20 บาท

                   (3) รถจักรยานยนต์ 3 ล้อ คันละ 30 บาท

                   (4) รถยนต์ คันละ 50 บาท

 

3. บุคคลที่ไม่ต้องเสียค่าเข้าชม

                   (1) ภิกษุ สามเณรในพระพุทธศาสนา หรือนักพรตและนักบวชในศาสนาอื่น

                   (2) นักเรียน นิสิต นักศึกษาในเครื่องแบบ หรือไม่ได้แต่งเครื่องแบบแต่แสดงบัตรประจำตัวนักเรียน นิสิต นักศึกษาที่สถาบันการศึกษาออกให้

                   (3) นักเรียน นิสิต และนักศึกษา รวมทั้งครูและอาจารย์ผู้ควบคุม ในกรณีที่สถานศึกษาหรือสถาบันการศึกษาขอเข้าชมเป็นหมู่คณะ

                   (4) คนพิการและผู้ด้อยโอกาส

                   (5) ผู้ซึ่งอธิบดีเชิญหรือต้อนรับ

                   (6) พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

                   (7) ทหารผ่านศึกที่แสดงบัตรที่ทางราชการออกให้

                   (8) ผู้สูงอายุที่มีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไปและมีสัญชาติไทย เมื่อแสดงบัตรประจำตัวประชาชน

                   (9) สมาชิกของสภาการโบราณสถานระหว่างประเทศและสมาชิกของสภาการพิพะภัณฑ์ระหว่างประเทศ ที่แสดงบัตรประจำตัวสมาชิก

                   (10) สมาชิกของสภาการโบราณสถาน(ประเทศไทย) ที่แสดงบัตรประจำตัวสมาชิก

                   (11) สมาชิกอาสาสมัครในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม ที่แสดงบัตรประจำตัวสมาชิก

การเดินทาง

  • รถยนต์ จากกรุงเทพมหานคร เดินทางโดยเครื่องบินลงที่สนามบิน อ.สะตึก จ.บุรีรัมย์ และต่อรถยนต์มายังอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ระยะทางประมาณ 105 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 1.30 ชั่วโมง

 

  • รถไฟสายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี) ลงที่สถานีรถไฟบุรีรัมย์ และต่อรถยนต์มายังอุทยานประวัติสาสตร์พนมรุ้ง ระยะทางประมาณ 55 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง

 

  • รถโดยสารประจำทาง บขส. เส้นทางกรุงเทพฯ-พนมรุ้ง ระยะทางประมาณ 360 กิโลเมตร ลงที่สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอเฉลิมพระเกียรติ แล้วต่อรถรับจ้างขึ้นสู่อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง

         

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะและขอวิทยากร กรุณาทำหนังสือก่อนเข้าเยี่ยมชมล่วงหน้า 

ข้อมูลสำหรับผู้พิการ

มีทางลาดสามารถนำผู้พิการและคนชราเข้าชมได้ โดยติดต่อที่ประตูทางเข้าที่ 3 ด้านหลังปราสาท

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีลานจอดรถ

10

แบ่งปัน

กิจกรรม

01 เม.ย. 2567

05 เม.ย. 2567

01 เมษายน 2567
เชิญชมมหัศจรรย์พนมรุ้ง ปรากฏการณ์พระอาทิตย์สาดแสงส่องตรง 15 ช่องประตู  ผ่านองค์ศิวลึงค์ใจกลางเทวาลัย ณ ปราสาทพนมรุ้งปราสาทพนมรุ้ง ปรากฏการณ์นี้เป็นครั้งที่ 2 ในรอบปี พ.ศ.2567     วันที่  3 - 5 เมษายน 2567 เวลา 05.30 น. เป็นต้นไป (พระอาทิตย์ขึ้นประมาณ 06.00 น.) ณ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ***ทั้งนี้ปรากฏการณ์ดังกล่าว ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ หากมีเมฆหมอกหนา หรือฝนตก จะไม่สามารถมองเห็นดวงอาทิตย์ผ่าน 15 ช่องประตูปราสาทพนมรุ้งได้***   ติดต่อสอบถาม โทร. 044-666 251 หรือ Inbox facebook: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง บุรีรัมย์ Phanom Rung Historical Park

05 มี.ค. 2567

07 มี.ค. 2567

29 กุมภาพันธ์ 2567
อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ขอเชิญชมปรากฏการณ์พระอาทิตย์ตกตรง 15 ช่องประตู ณ ปราสาทพนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ วันที่ 5 - 7 มีนาคม 2567 พระอาทิตย์จะตกประมาณ 17.55 น. เริ่มจับจองพื้นที่ ตั้งแต่เวลา 17.30 น. เป็นต้นไป บริเวณลานหน้าปราสาท ทิศตะวันออก   บัตรเข้าชม รับเฉพาะเงินสดเท่านั้น คนไทย 20 บาท ต่างชาติ 100 บาท ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป เข้าชมฟรี   ติดต่อสอบถามโทร 044-666 251 หรือ Inbox facebook : https://www.facebook.com/Ensemble.of.Phanom.Rung   หมายเหตุ:* ปรากฏการณ์พระอาทิตย์ 15 ช่องประตู เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในแต่ละวัน หากมีฝนตก หมอก เมฆเยอะ หรือเมฆลงต่ำ จะไม่สามารถมองเห็นปรากฏการณ์ดังกล่าวได้

04 ต.ค. 2566

07 ต.ค. 2566

04 ตุลาคม 2566
ชมปรากฎการณ์ มหัศจรรย์พนมรุ้ง พระอาทิตย์ตกตรง ๑๕ ช่องประตู วันที่ ๕ - ๗ ตุลาคม ๒๕๖๖ เวลาประมาณ ๑๗.๕๗ พระอาทิตย์ ๑๕ ช่องประตู เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในแต่ละวัน พร้อมกันลานด้านหน้าปราสาท ตั้งแต่เวลา ๑๗.๓๐ น.   บัตรเข้าชม คนไทย ๒๐ บาท ต่างชาติ ๑๐๐ บาท ผู้สูงอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป เข้าชมฟรี โปรดแต่งกายสุภาพให้เกียรติศาสนสถาน   สถานที่จอดรถ ลานด้านหลังปราสาท : รองรับเฉพาะรถ ๔ ล้อ ประมาณ ๔๐ คัน มีค่าธรรมเนียม ๕๐ บาท ลานจอดรถประตู ๑ : รองรับรถทุกชนิด ประมาณ ๑๐๐ คัน จอดฟรีไม่มีค่าธรรมเนียม หมายเหตุ* หากจอดรถที่ลานจอดประตู ๑ ต้องเดินขึ้นไปยังปราสาทพนมรุ้งประมาณ ๗๐๐ เมตร ขากลับควรมีไฟฉายส่องสว่าง เนื่องจากแสงไฟในอุทยานฯ ไม่เพียงพอ   อัพเดทสภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา พื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ วันที่ ๕ - ๗ ตุลาคม ๒๕๖๖ มีฝนฟ้าคะนองประมาณ ๓๐% ของพื้นที่ https://shorturl.asia/EmoKB   ติดต่อสอบถามโทร ๐๔๔-๖๖๖ ๒๕๑ หรือ Inbox facebook : อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง บุรีรัมย์ Phanom Rung Historical Park

01 ก.ย. 2566

10 ก.ย. 2566

22 สิงหาคม 2566
อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ขอเชิญชมปรากฏการณ์พระอาทิตย์ขึ้นตรง 15 ช่องประตู ณ ปราสาทพนมรุ้ง วันที่ 8 - 10 กันยายน 2566 เวลา 05.30 น. เป็นต้นไป  พระอาทิตย์จะขึ้นประมาณ 05.57 น. บริเวณลานด้านหลังปราสาททิศตะวันตก   มาร่วมรับแสงแรกของวัน ณ ปราสาทพนมรุ้ง  เทวสถานศาสนาพราหมณ์ฮินดูลัทธิไศวนิกายที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย   ติดต่อสอบถามโทร 044-666 251  หรือ Inbox facebook : อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง บุรีรัมย์ Phanom Rung Historical Park   *เหตุการณ์พระอาทิตย์ตรง 15 ช่องประตูปราสาทพนมรุ้ง จะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในแต่ละวัน หากมีฝนตก เมฆเยอะ หรือเมฆลงต่ำ จะไม่สามารถมองเห็นปรากฏการณ์ดังกล่าวได้

05 มี.ค. 2566

07 มี.ค. 2566

23 กุมภาพันธ์ 2566
อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง  ขอเชิญชมปรากฏการณ์พระอาทิตย์ตกตรง 15 ช่องประตู ณ ปราสาทพนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ในวันที่ 5 - 7 มีนาคม พ.ศ.2566 เวลา 17.30 น. เป็นต้นไป  บริเวณลานหน้าปราสาททิศตะวันออก  **พระอาทิตย์ตกเวลาประมาณ 18.15 น.**   สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 044 666 251
pav

/

next

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง