กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน หนองบัวโคก

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน หนองบัวโคก

28 มิถุนายน 2562

ชื่นชอบ 493

5,020 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

อาจารย์ทำนุ วรธงไชย  เป็นอาจารย์สอนศิลปะพื้นบ้าน มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  และเป็นผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านหนองบัวโคก จ.บุรีรัมย์ แรงบันดาลใจในการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์เริ่มมาปี 2531 สมัยที่อาจารย์ศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขาไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม ที่เน้นศึกษาวิถีชีวิตชุมชนอีสาน ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณี  ด้วยความสนใจในศิลปหัตถกรรมของชาวอีสาน จึงเลือกทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “เครื่องมือดักสัตว์ของชาวชนบท ในเขตอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์” 

 

การที่เป็นอาจารย์ต้องสอนศิลปะพื้นบ้าน  ทำให้สนใจเสาะหาเครื่องใช้พื้นบ้านมาเป็นตัวอย่างให้นักศึกษาเรียนรู้  นำไปสู่การเก็บสะสมรวบรวมเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้านอีสาน ที่ชาวบ้านทำขึ้นใช้เองในชีวิตประจำวัน   ทั้งขอซื้อ บริจาค หรือแลกกับสิ่งของ โดยอาจารย์เห็นว่าเครื่องมือดังกล่าวมีหลากหลายชนิด หลายรูปแบบ  ที่ใช้ทักษะเชิงช่างประดิษฐ์ขึ้น มีทั้งหน้าที่ใช้สอยและความงดงามในเชิงศิลปะ   ในช่วงเวลาดังกล่าวอาจารย์ได้ลงเก็บข้อมูลภาคสนาม บันทึกภาพ ร่างภาพเขียนภาพ สัมภาษณ์สอบถามผู้ใช้ รวมทั้งนำเครื่องมือเหล่านั้นมาทดลองการใช้งาน การศึกษาดังกล่าวทำให้อาจารย์พบเห็นวิถีชีวิตและเครื่องมือเครื่องใช้ชนิดอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกมาก

 

หลังจากนั้นอาจารย์ได้มีโอกาสทำงานด้านวัฒนธรรมกับองค์กรต่างๆ อาทิ การออกแบบตกแต่งภายในอาคารศูนย์วัฒนธรรมอีสานใต้ ทำโครงการประยุกต์พัฒนาอาชีพการปั้นหม้อดินแบบพื้นบ้าน และเป็นวิทยากรในการอบรมการออกแบบและปั้นเครื่องปั้นดินเผาให้กับนักศึกษาและชาวบ้าน  ในปี 2540 อาจารย์ได้ค่าตอบแทนจำนวนหนึ่งจากการจัดตกแต่งภายในให้กับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ร้อยเอ็ด  จึงได้สร้างอาคารหลังแรก ขนาด 6x9 เมตร ในบริเวณบ้านพัก  เพื่อจัดเก็บผลงานศิลปหัตถกรรมพื้นที่บ้านที่สะสมไว้  เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจ เข้ามาศึกษาดูงาน    ซึ่งบริเวณเดียวกันยังมีกิจการปั้นภาชนะดินเผาขายและใช้เป็นที่อบรมดูงานการปั้นภาชนะดินเผาอีกทางหนึ่งด้วย    โดยเครื่องมือที่จัดแสดงในระยะแรก เช่น เครื่องใช้ในครัวเรือน จำพัก กระติบข้าว ทัพพีไม้ กระชอน  ตะเกียงกระป๋อง  เตารีดถ่าน  หมวกกะโล่

 

ต่อมาในเดือนมีนาคม 2548 ได้สร้างอาคารขึ้นอีกหนึ่งหลัง  เพื่อจัดทำพิพิธภัณฑ์อย่างเต็มรูปแบบ  เป็นอาคารชั้นเดียวขนาด 4x12 เมตร เพื่อจัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้านที่รวบรวมไว้กว่า 1,000 ชิ้น     โดยได้จัดแยกหมวดหมู่เครื่องมือเครื่องใช้แต่ละประเภท ได้แก่ อาวุธและเครื่องมือล่าสัตว์  เครื่องมือดักจับสัตว์น้ำ สัตว์บก สัตว์ปีก เครื่องใช้ครัวเรือน  เครื่องมือการเกษตร  เครี่องใช้เบ็ดเตล็ดและสุขภัณฑ์  พิพิธภัณฑ์เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2548 โดยเชิญนายอำเภอลำปลายมาศเป็นประธาน  โดยให้นายอำเภอเปิดผ้าคลุมป้ายพิพิธภัณฑ์ด้วยการใช้แรงดีดของ “ด้วง” ซึ่งเป็นเครื่องมือดักหนูประกอบกับน้ำหนักถ่วงของ “กับโค่น” เครื่องมือดักนก

 

ข้าวของต่างๆ ถูกจัดวางแสดงไว้ในตู้  และแขวนไว้ตามฝาผนังทั้งในอาคารและนอกอาคาร  อาทิ  ตะเกียงเจ้าพายุ  เครื่องจักสานจำพวกกระบุง กระจาด ตะกร้า เชี่ยนหมาก  กระต่ายขูดมะพร้าว ฉวักตักแกง  กระบวย ชุตักน้ำ  โอ่งดินเผา รางข้าวหมู ม้าซอยยา  เครื่องมือช่างจำพวก กบไสไม้ เลื่อยมือ เป็นต้น ด้านนอกอาคารต่อเติมเป็นส่วนจัดแสดงจำลองครัวไฟพื้นบ้าน แต่ที่ดูจะโดดเด่นที่สุดน่าจะเป็นอาวุธและเครื่องล่าดักจับสัตว์ประเภทต่างๆ  อาทิ หน้าไม้  ปืนแก๊บ เครื่องมือดักสัตว์น้ำโดยดักให้สัตว์น้ำผ่านหรือไหลตามกระแสน้ำ เช่น สาบ ซูด ซ่อน  ตุ้มชนิดต่างๆ  ลันและอีจู้ดักปลาไหล  สุ่ม เบ็ดน้ำเต้า  ตัวโอ แงบดักกบ  เครื่องมือดักสัตว์บก อาทิ กับแก๊ป  ด้วงแย้ จั่นดักหนู  กับงับ  อีทุบ เสือตบกัน  เครื่องมือดักจับสัตว์ปีก อาทิ  ตุ้มนกคุ่ม  ซิง  เพนียดนกเขา ตังบาน  กับโค่น

 

ต่อมาอาจารย์ได้สร้างอาคารจัดแสดงเพิ่มเติม เป็นอาคารเปิดโล่ง ที่จัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ทางเกษตร และวัตถุที่มีขนาดใหญ่ เช่น เกวียน  ภาชนะใส่ข้าวเปลือก  คราด  เคียว ไม้ฟาดข้าว กระดึงแขวนขอวัวควาย เป็นต้น บริเวณภายนอกอาคารร่มรื่นไปด้วยพันธุ์ไม้และการจัดตกแต่งสวน  โดยคนในครอบครัวช่วยกันออกแบบและลงมือทำ    

 

การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ อาจารย์ทำนุจะเป็นผู้ดูแลและเป็นวิทยากรบรรยาย สาธิตการใช้เครื่องมือต่างๆ ให้กับผู้เยี่ยมชมด้วยตนเอง  และที่ทำควบคู่ไปกับพิพิธภัณฑ์คือ การอบรมและบรรยายการทำเครื่องปั้นดินเผา  หากกลุ่มนักเรียนนักศึกษาสนใจ  ทางพิพิธภัณฑ์จะนำช่างชาวบ้านมาสาธิต และให้ฝึกทดลองทำ โดยผู้เข้ารับบริการจะต้องเสียค่าวิทยากรและค่าวัสดุ

บริหารจัดการ

เอกชน

ประเภทพิพิธภัณฑ์

วิถีชิวิต, วัฒนธรรม, ประเพณี, ภูมิปัญญา และ ศาสนา

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

เครื่องมือดักจับสัตว์อีสาน

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

172 ถ.บุรีรัมย์-ลำปลายมาศ บ้านหนองตลาดควาย ตำบลหนองบัวโคก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ 31130
โทรศัพท์ : 085-7748773

วันและเวลาทำการ

เปิดทุกวัน เวลา 8.00 - 18.00 น.

ค่าเข้าชม

ไม่เสียค่าเข้าชม

การเดินทาง

จากอำเภอลำปลายมาศ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 226  ขับจากอำเภอลำปลายมาศมุ่งหน้าอำเภอเมืองบุรีรัมย์ มาประมาณ 10 กิโลเมตร พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านหนองบัวโคกจะอยู่ด้านขวามือ มีร้านชื่อว่าดินดิปอยู่ด้านหน้าริมถนน มีเครื่องปั้นดินเผามากมายวางเรียงรายอยู่

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

-

ข้อมูลสำหรับผู้พิการ

-

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีที่จอดรถ

1

แบ่งปัน

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง