กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พฤกษาดุริยางค์

พฤกษาดุริยางค์

29 พฤษภาคม 2562

ชื่นชอบ 578

5,537 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

"พฤกษาดุริยางค์" เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ไม่มีที่ไหนเหมือนและไม่เหมือนใคร เพราะเป็น "พิพิธภัณฑ์ต้นไม้" ซึ่งเป็นต้นไม้ที่นำมาใช้ทำเครื่องดนตรี พูดง่ายๆ เป็นการ ปลูกป่า อีกรูปแบบหนึ่ง เพียงแต่ว่าไม่ใช่ป่าที่ปลูกต้นไม้ทั่วๆ ไป แต่ปลูกต้นไม้ที่สามารถนำมาสร้างเป็นเครื่องดนตรีได้

พฤกษาดุริยางค์อยู่ติดกับอาคารห้องซ้อมดนตรีใหม่ของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล บนพื้นที่รวม 10 ไร่



รศ.ดร.สุกรี เจริญสุข คณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงวัตถุประสงค์ที่ทำโครงการนี้ว่า เพราะเสียงดนตรีนั้นเกิดจากไม้ ทั้งเครื่องดนตรีไทย เครื่องดนตรีพื้นบ้าน และเครื่องดนตรีสากล รวมไปถึงเครื่องดนตรีในภูมิภาคอุษาคเนย์ ดังนั้น การสร้างสวนแห่งนี้ เพื่อเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ให้นักเรียน นักศึกษา และสังคมได้ศึกษาเรียนรู้เรื่องของไม้ที่นำมาทำเครื่องดนตรี โดยพื้นที่ของส่วนนี้ทั้งหมดแบ่งเป็นพื้นที่ในการปลูกสวนป่า และพื้นที่ในการสร้างอาคารเรียนดนตรี ซึ่งเป็นอาคารที่อยู่ท่ามกลางสวนป่าที่นำไม้มาทำเครื่องดนตรี

บริเวณด้านใน ซึ่งเป็นสถานที่จะรวบรวมพันธุ์ไม้ที่นำมาใช้ทำเครื่องดนตรีประมาณ 1,500 ต้น นอกจากปลูกเป็นป่าตามที่ว่าแล้วยังจะเป็นแหล่งศึกษาสังคมและวัฒนธรรมที่พึ่งพิงไม้จากธรรมชาติ ได้เห็นขั้นตอนของไม้ที่นำมาทำเครื่องดนตรี ตั้งแต่ยังเป็นต้น ตลอดจนการเก็บรักษาดูแลต้นไม้ และสืบทอดวัฒนธรรมดนตรี รวมถึงวิถีชีวิตของผู้คนและประวัติศาสตร์ชนชาติ สำหรับไม้ที่นำมาปลูก เป็นต้นไม้ที่นิยมนำมาใช้ทำเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ เช่น ต้นกระดังงาไทย ใช้ทำคันชักซอ ต้นจำปา ใช้ทำกลองชนิดต่างๆ ต้นไม้มะขาม ใช้ทำกลอง พิณ ขลุ่ย ไม้จามจุรี ทำรางระนาด กลองยาว กลองทัด กลองแขก และเปิงมาง และยังมีไม้ของต่างประเทศด้วย เช่น ไม้สน ใช้ทำไวโอลิน ทำกีตาร์ ไม้โอ๊ค ไม้เมเปิ้ล และไม้สปรู๊ค ใช้ทำไวโอลิน และใช้ทำชิ้นส่วนของเปียโน

นอกจากนี้ยังคำนึงถึง คนพิการ ในพื้นที่พฤกษาดุริยางค์จะทำทางเดินกว้าง 2 เมตร ปูพื้นคอนกรีตเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับคนพิการ ที่จะเข้าชมสวนและการแสดงดนตรีได้อย่างสะดวกสบาย


กิจกรรมพิเศษที่จะจัดขึ้นยังมีรูปแบบในทุกวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ จะนิมนต์พระสงฆ์ 400 รูป ไปสวดมนต์ในป่าไม้ดนตรี ให้คนมีโอกาสสัมผัสกับเสียงพระสวด ใช้พลังของเสียงและความเงียบของป่า เป็นฉากสร้างสีสรรค์ของชีวิตให้งดงาม

สิ่งพิเศษอีกอย่างในสวนดนตรีแห่งนี้ จะมี ประติมากรรมหินอ่อน ถึง 2 ชิ้นตั้งอยู่ภายในสวน โดยเป็นประติมากรรมชิ้นเอกที่แกะสลักหินอ่อนให้เป็นรูปตัวโน้ตเพลงพระราชนิพนธ์ และหินอ่อนแกะสลักรูปพระเจนดุริยางค์นั่งสีเชลโล

ประติมากรรมชิ้นแรกนี้เป็นการอัญเชิญบทเพลงพระราชนิพนธ์ และแซกโซโฟน "บาริโทน" แซกโซโฟนประจำพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาประดิษฐ์เป็นประติมากรรมหินอ่อน ตั้งอยู่ลานกว้างกลางป่า โดยมีตัวโน้ตที่พริ้วไหวออกมาจากลิ้นชัก ให้ความรู้สึกเสมือนมีเสียงเพลงขับกล่อมอยู่กลางแมกไม้ พรั่งพรูออกมาไม่รู้จบ อาจารย์สุกรีอธิบายว่า การอัญเชิญบทเพลงพระราชนิพนธ์และแซกโซโฟนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาประดิษฐ์เป็นประติมากรรมหินอ่อน เป็นการนำเสนอความเป็นมาและรากเหง้าของสังคม เป็นประวัติศาสตร์ที่มีความหมายต่อคนไทยและประเทศชาติ ส่วน


ประติมากรรมชิ้นที่ 2 เป็นหินอ่อนแกะสลักรูปพระเจนดุริยางค์นั่งสีเชลโลนั้น เป็นประติมากรรมสมัยใหม่

บริหารจัดการ

สถานศึกษา

ประเภทพิพิธภัณฑ์

วิถีชิวิต, วัฒนธรรม, ประเพณี, ภูมิปัญญา และ ศาสนา

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

พรรณไม้ที่มีความเกี่ยวข้องทางด้านดนตรี

ประติมากรรมรูปแซกโซโฟนที่แกะสลักหินอ่อนให้เป็นรูปตัวโน้ตเพลงพระราชนิพนธ์

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เลขที่ 25/25 ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ : 0-2800-2525 ต่อ 1112, 1127
โทรสาร : 0-2800-2530

วันและเวลาทำการ

เปิดให้เข้าชมทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-17.00น.

ค่าเข้าชม

ไม่เสียค่าเข้าชม

การเดินทาง

โดยรถยนต์ มาได้ 3 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางถนนสายเพชรเกษม

เลี้ยวเข้าแยกถนนพุทธมณฑล สาย 4 (ระยะทางอีกประมาณ 10 กิโลเมตร)

การเดินทางโดยรถประจำทาง รถประจำทางสาย 84 ก (คลองสาน - ม.มหิดล) มีสองแถวจากปากทางถนนพุทธมณฑลสาย 4

เส้นทางถนนปิ่นเกล้า - นครชัยศรี เข้าได้ 3 ทาง คือ

จากสี่แยกสะพานกรุงธนฯ ตรงมาตามถนนสายปิ่นเกล้า - นครชัยศรี

จากสี่แยกสะพานพระปิ่นเกล้า ตรงมาตามถนนสายปิ่นเกล้า - นครชัยศรี

จากปากทางบางขุนนนท์ เข้ามาทางตลิ่งชันแล้วเลี้ยวซ้ายมาบรรจบกับถนนปิ่นเกล้า – นครชัยศรี

การเดินทางโดยรถประจำทาง

สาย 124 (สะพานอรุณอัมรินทร์ - มหิดล) ขึ้นได้ที่ป้ ายตรงข้ามห้างพาต้า ปิ่นเกล้า

สาย 125 (สะพานกรุงธน - มหิดล) ต้นทางอยู่บริเวณสถานีรถไฟสามเสน

รถประจำทางปรับอากาศ สาย 515 ต้นทางอนุสาวรีย์ชัยฯ มาถึงหน้ามหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

รถตู้ (สหกรณ์กรุงเทพ - มหิดล) ขึ้นได้ที่หน้าภัตตาคารเสริมมิตร ตรงข้ามห้างพาต้า ปิ่นเกล้า

รถไฟ ขึ้นได้ที่สถานีธนบุรี และสถานีกรุงเทพฯ โดยขบวนเที่ยวต่างๆ ซึ่งจะผ่านสถานีศาลายา เมื่อถึงสถานีศาลายาแล้วสามารถเดินเข้าทางด้านหลังมหาวิทยาลัย หรือโดยสารรถเมล์เล็กมาทางด้านหน้ามหาวิทยาลัย

 

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะจะต้องทำหนังสือก่อนขอเข้าเยี่ยมชม

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีลานจอดรถ

1

แบ่งปัน

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง