กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

07 กรกฎาคม 2565

ชื่นชอบ 4,427

45,428 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็น พิพิธภัณฑ์พระมหากษัตริย์ เดิมตั้งอยู่ ณ ใต้พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้านหน้าอาคารรัฐสภา สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ได้พระราชทานเครื่องราชภัณฑ์ส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมาจัดแสดง และเปิดให้ประชาชนเข้าชมในปี พ.ศ.2523 ต่อมาสถาบันพระปกเกล้า ได้รับโอนอำนาจการดำเนินงานพิพิธภัณฑ์มาอยู่ในความดูแลรับผิดชอบ และได้รับความอนุเคราะห์จากกรมโยธาธิการให้ใช้อาคารอนุรักษ์ 3 ชั้น ซึ่งเป็นที่ทำการของกรม จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

 

พิพิธภัณฑ์แบ่งเป็น 7 ส่วนจัดแสดงและให้บริการ คือ

 

ห้องจัดแสดงชั้น 1

จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ และพระจริยวัตรของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ อาทิ พระราชประวัติขณะทรงพระเยาว์ การอภิเษกสมรส การเสด็จพระราชดำเนินประพาสทั้งในและต่างประเทศ โดยจัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ส่วนพระองค์และวัตถุที่มีความเกี่ยวเนื่องไว้ให้ชม

 

ห้องจัดแสดงชั้น 2

จัดแสดงพระราชประวัติก่อนการเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เช่น เสด็จเข้ารับการศึกษา ณ ประเทศในทวีปยุโรป ทรงผนวช ทรงอภิเษกสมรส นอกจากนี้ยังแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชจริยวัตรพระราชนิยมด้านต่างๆ เช่น ดนตรี กีฬา และภาพยนตร์ รวมทั้งพระราชประวัติหลังสละราชสมบัติ จนกระทั่งเสด็จสวรรคต และประวัติอาคารพิพิธภัณฑ์

 

ห้องจัดแสดงชั้น 3

จัดแสดงเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉลองพระองค์ พระมาลาและฉลองพระบาท รวมทั้งจัดแสดงพระราชกรณียกิจสำคัญด้านต่างๆ จัดแสดงแบบจำลองสะพานพระพุทธยอดฟ้าและปฐมบรมราชานุสรณ์ ของที่ระลึกที่จัดทำขึ้นในพระราชพิธีฉลองพระนคร 150 ปี

 

ศาลาเฉลิมกรุง

เป็นห้องฉายภาพยนตร์ โดยจำลองบรรยากาศจากโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุงซึ่งรัชกาลที่ 7 ทรงโปรดเกล้าฯจำลองจัดฉายภาพยนตร์ทั้งภาพยนตร์ทรงถ่าย ภาพยนตร์เก่าร่วมรัชสมัย และภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับการปกครอง

 

นิทรรศการหมุนเวียน

จัดแสดงนิทรรศการที่มีความน่าสนใจและมีการเปลี่ยนแปลงทุกๆ 6 เดือน

 

อาคารรำไพพรรณี

จัดแสดงรถยนต์พระที่นั่ง ครั้งประทับที่ประเทศอังกฤษ บริเวณลานอเนกประสงค์ชั้น 2

 

ศูนย์ข้อมูลพระปกเกล้า

เป็นห้องสมุดเฉพาะที่รวบรวมหนังสือ เอกสาร สื่อโสตทัศน์ ไมโครฟิล์มเอกสารกระทรวงต่างๆ สำเนาพระบรมฉายาลักษณ์ สำเนาภาพยนตร์ส่วนพระองค์ รวมทั้งงานวิจัยซึ่งรวบรวมเอกสารจากประเทศต่างๆ

บริหารจัดการ

หน่วยงานอิสระ

ประเภทพิพิธภัณฑ์

ชีวประวัติ, ประวัติศาสตร์ และ โบราณคดี

พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

  • พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยได้มีการจัดแสดงเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉลองพระองค์ พระมาลา และฉลองพระบาทส่วนพระองค์

 

  • ห้องฉายภาพยนตร์  จำลองบรรยากาศจากโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง ที่ทำให้ผู้เข้าชมได้สัมผัสกับบรรยากาศการชมภาพยนตร์ ซึ่งจัดฉายภาพยนตร์ส่วนพระองค์และหนังหายากที่ไม่สามารถหาชมได้ทั่วไป

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

เลขที่ 2 ถนนหลานหลวง แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
โทรศัพท์ : 02-280 3413-4
โทรสาร : 02-281 6820
เว็บไซต์ : http://www.kingprajadhipokmuseum.com/
อีเมล : kpimuseum@kpi.ac.th

วันและเวลาทำการ

วันอังคาร-วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์, วันปีใหม่ และวันสงกรานต์)

เวลา 09.00-16.00 น.

  • ศาลาเฉลิมกรุง จัดฉายวันละ 2 รอบ เวลา 10.30 น. และ 14.30 น.

ค่าเข้าชม

ไม่เสียค่าเข้าชม

การเดินทาง

  • รถโดยสารประจำทางสาย : 2, 15, 44, 47, 59, 60, 70, 79, 157, 169, 183, 503, 509, 511, 556
  • เรือโดยสารคลองแสนแสบ : ท่าเรือสะพานผ่านฟ้าลีลาศ
  • BTS : สถานีราชเทวี ต่อเรือโดยสารคลองแสนแสบ ลงท่าเรือสะพานหัวช้าง
  • MRT : สถานีเพชรบุรี ต่อเรือโดยสารคลองแสนแสบที่ท่าเรืออโศก

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ได้ปรับรูปแบบการให้บริการการเข้าชมเป็นหมู่คณะ 

ด้วยการเพิ่มช่องทางลงนัดหมายการเข้าชมล่วงหน้าผ่านระบบออนไลน์

เพื่อความสะดวกในการลงนัดหมาย ท่านสามารถลงนัดหมายล่วงหน้าได้ตามลิงค์นี้

https://sites.google.com/.../%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B2...

หรือสแกน QR Code จากภาพด้านล่าง

**หมายเหตุ : เป็นการทดลองการใช้ระบบจองออนไลน์เป็นหมู่คณะ พิพิธภัณฑ์ฯ

 ขออภัยหากเกิดข้อผิดพลาดมา ณ ที่นี้

 

ข้อมูลสำหรับผู้พิการ

มีลิฟต์คอยให้บริการสำหรับผู้เข้าชมที่นั่งรถเข็น

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีที่จอดรถ ด้านหลังอาคารอนุรักษ์ พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

96

แบ่งปัน

กิจกรรม

03 เม.ย. 2567

08 มีนาคม 2567
พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบันพระปกเกล้า ร่วมกับคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดกิจกรรมเสวนาวิชาการ เรื่อง “ปฐมบทประชาธิปไตย: การเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกในสยามสมัยปฏิวัติ” ในวาระเปิดตัวหนังสือ "การเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกของสยาม: ปฐมบทประชาธิปไตยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475" เขียนโดย รศ.ดร.ภูริ ฟูวงศ์เจริญ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในวันพุธที่ 3 เมษายน 2567 เวลา 10.00 – 12.00 น. ณ ห้อง ร.102 ชั้น 1 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์  โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิร่วมเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนประเด็น และเผยแพร่องค์ความรู้ในห้วงเวลาที่ระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทนได้อุบัติขึ้นในสยาม อันเป็นเหตุการณ์และพัฒนาการประชาธิปไตยในระยะเปลี่ยนผ่านที่เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้แก่   - ศ.พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร อดีตนายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ผู้กล่าวแนะนำหนังสือ) - ศ.พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ ประธานกรรมการพิพิธภัณฑ์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (วิทยากรร่วมเสวนา) - ศ.ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ กีรตยาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (วิทยากรร่วมเสวนา) - ศ.ดร.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (วิทยากรร่วมเสวนา)   ดำเนินรายการโดย อ.ดร.ปุรวิชญ์ วัฒนสุข อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   ลงทะเบียนออนไลน์ได้ที่ https://forms.gle/df4ANyquYpuoz4M38 ปิดรับลงทะเบียนในวันจันทร์ที่ 1 เมษายน 2567 เวลา 16.00 น.  **ท่านที่ลงทะเบียนและเข้าร่วมการเสวนา 20 ท่านแรก จะได้รับหนังสือ เรื่อง การเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกของสยาม: ปฐมบทประชาธิปไตยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475**

07 ธ.ค. 2566

10 ธ.ค. 2566

01 ธันวาคม 2566
ขอเชิญร่วมย้อนอดีตงานฉลองรัฐธรรมนูญ ปี 2475 13 ทศวรรษ แผ่นดินพระปกเกล้า พระผู้พระราชทานรัฐธรรมนูญแก่ปวงชนชาวไทย 7-10 ธันวาคม 2566 เวลา 15.30 – 20.00 น. ณ พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว   ภายในงานพบกับ กิจกรรมพิพิธทัศนา (17.30 – 20.00 น.)  • การแสดงโขน ละคร จากสำนักการสังคีต กรมศิลปากร   • การแสดงดนตรีไทย และ Wind orchestra จากโรงเรียนราชวินิต มัธยม  • การแสดง Modern Ballet จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา  • การแสดงละครชาตรี จากคณะจงกล โปร่งน้ำใจ   กิจกรรมเสวนาวิชาการและบรรยายพิเศษ จากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ(15.30 – 17.30 น.)  • เรื่อง นาฏกรรมมหรสพสมโภชในงานฉลองรัฐธรรมนูญ  • เรื่อง นาฏยศิลป์แผ่นดินพระปกเกล้าฯ  • เรื่อง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ กับดนตรีวิทยา  • เรื่อง การพระราชทานและการฉลองรัฐธรรมนูญสมัยแรก    พบดาราศิลปิน และ ร่วมสนุกกับกิจกรรมพิเศษมากมาย ภายในงานกับบรรยากาศย้อนยุค  แต่งกายชุดไทยถ่ายภาพที่ระลึกฟรี  ลงทะเบียนล่วงหน้ารับคูปองอาหารว่างภายในงานฟรี https://forms.gle/tqqLbBWjiVRdbyCUA ดูรายละเอียดกิจกรรมได้ที่ Facebook: King Prajadhipok Museum สอบถาม โทร. 02 280 3414

07 ธ.ค. 2566

10 ธ.ค. 2566

23 พฤศจิกายน 2566
ขอเชิญร่วมย้อนอดีตงานฉลองรัฐธรรมนูญ ปี 2475 กับ "13 ทศวรรษ แผ่นดินพระปกเกล้า พระผู้พระราชทานรัฐธรรมนูญแก่ปวงชนชาวไทย" ระหว่างวันที่ 7-10 ธันวาคม 2566 เวลา 15.30-20.00 น. ณ พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทุกท่านจะได้พบกับกิจกรรมมากมาย ดังนี้ กิจกรรมเสวนาวิชาการและบรรยายพิเศษ จากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ ( เวลา 15.30 – 17.30 น.)  • เรื่อง นาฏกรรมมหรสพสมโภชในงานฉลองรัฐธรรมนูญ  • เรื่อง นาฏยศิลป์แผ่นดินพระปกเกล้าฯ  • เรื่อง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ กับดนตรีวิทยา  • เรื่อง การพระราชทานและการฉลองรัฐธรรมนูญสมัยแรก     กิจกรรมการแสดงวิพิธทัศนา (เวลา  17.30 – 20.00 น.)  • การแสดงโขน ละคร จากสำนักการสังคีต กรมศิลปากร   • การแสดงดนตรีไทย และ Wind orchestra จากโรงเรียนราชวินิต มัธยม  • การแสดง Modern Ballet จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา  • การแสดงละครชาตรี จากคณะจงกล โปร่งน้ำใจ   สามารถร่วมสมุกกับกิจกรรมพิเศษภายในงานกับบรรยากาศย้อนยุค และสามารถแต่งกายชุดไทยถ่ายภาพที่ระลึกฟรี ลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อรับคูปองอาหารว่างภายในงานฟรี ได้ที่  https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSefgwb4NyIKOrE0VXvbwpoWhY3nNKQyOg68usqxkYBNXVh17A/viewform   ติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เพจพิพิธภัณฑ์ฯ นะคะ https://www.facebook.com/kingprajadhipokmuseum

19 ก.ย. 2566

21 ก.ย. 2566

19 กันยายน 2566
พิพิธภัณฑ์ฯ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และ ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย  ขอเชิญชวนทุกท่านมาร่วมเดินเล่นๆ เดินเพลิน ๆ พร้อมร่วมสนุก กับกิจกรรม Education vs Collection เข้าพิพิธภัณฑ์ฯอย่างไร ได้ความรู้ ดูของสะสม   ระหว่างวันที่ 19-21 กันยายน 2566  ณ พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อสนับสนุนการเข้าชมและการเรียนรู้ร่วมกันในวันพิพิธภัณฑ์ไทย     ติดต่อสอบถามได้ที่เพจ https://www.facebook.com/kingprajadhipokmuseum หมายเหตุ** เดินชมครบทั้ง 2 อาคารรับไปเลย สมุดบันทึกน่ารักๆ จากพิพิธภัณฑ์ฯ  

06 ก.ย. 2566

26 พ.ย. 2566

06 กันยายน 2566
ขอเชิญชมนิทรรศการ “เผย วัตถุเคยซ่อน” Reveal : discover the museum”s collection   หัวเรื่องที่ 2 : แบบร่าง เอกสารงานพิมพ์  ในช่วงพระชนม์ชีพพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว วันนี้ – 23 กันยายน 2566 หัวเรื่องที่ 3 : ฉลองพระเนตร และการตรวจรักษา ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ 26 กันยายน – 23 พฤศจิกายน 2566   ณ พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เปิดให้บริการทุกวันอังคาร - อาทิตย์ เวลา 09.00-16.00 น. สนใจเข้าชมเป็นหมู่คณะติดต่อนัดหมายล่วงหน้า  02 280 3413-4 ต่อ 104
pav

/

next

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง