กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   จิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว

จิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว

02 กรกฎาคม 2562

ชื่นชอบ 613

6,813 ผู้เข้าชม

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

              หลังจากได้ฟื้นฟูการทอผ้าจกแล้ว    ผ้าจกเป็นที่แพร่หลาย  นับว่าเป็นการพลิกฟื้นผ้าจกไท-ยวนราชบุรีขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งหลังจากเกือบสูญหายไปจากชุมชนคูบัว     เมื่อประมาณ  ๘๐  ปีที่ล่วงมา   ความคิดดั้งเดิมที่จะจัดตั้งศูนย์สะสมวัฒนธรรมไทยโยนก  คูบัว   ถูกนำมาทบทวนปรับปรุงโครงการให้เหมาะสมขึ้นกว่าเดิม    ฉะนั้นในปีพุทธศักราช  ๒๕๓๘  ดร.อุดม  สมพร  พร้อมด้วยคณะ  อาทิ  พ.อ.อานัติ  ขำแก้ว,  อาจารย์พิศิษฐ์  ขำแก้ว,  คุณสังข์  ขำแก้ว   ร่วมคิดร่วมปรึกษา  จัดทำโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ผ้าไทพื้นบ้านภาคตะวันตก ขึ้นที่บริเวณวัดแคทราย  แต่ไม่มีงบประมาณสนับสนุนการดำเนินโครงการ  ถึงกระนั้นก็ตามคณะผู้ดำเนินการก็ยังเคลื่อนไหวหาผู้สนับสนุนอย่างต่อเนื่อง  ต่อมาเมื่อพระครูสุทธิบุญญาทร  เจ้าอาวาสวัดแคทราย  มรณภาพ   เจ้าอาวาสต่อมามีความคิดเห็นขัดแย้ง   ไม่สนับสนุนการใช้พื้นที่วัดสร้างพิพิธภัณฑ์เพื่ออนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น  แต่คณะดำเนินการไม่ละทิ้งเจตนารมณ์เดิมจึงแสวงหาพื้นที่แห่งใหม่ดำเนินการต่อไป  เพราะมีหลักคิดว่า  “ ทำดี  ทำที่ไหนก็ได้  ถ้าหากการกระทำนั้นเป็นไปเพื่อสาธารณะ  ไม่แสวงหาประโยชน์เพื่อตนเองและหมู่คณะ   การกระทำนั้นก็จะสำเร็จในที่สุด ”    ด้วยความมุ่งมั่นในอุดมการณ์ดังกล่าวจึงเป็นผลให้ได้รับการประสานงานจากคณะกรรมการวัดโขลงสุวรรณคีรี  อาทิ  อาจารย์สุวิน  เมาระพงษ์,  ว่าที่ร้อยตรีเพิ่มสุข  เมาระพงษ์, คุณนวล  ห่วงทอง, คุณคำ  อ่อนแก้ว, คุณธวัชชัย     สระเกษ  ให้คณะดำเนินการขออนุญาตใช้พื้นที่วัดโขลงสุวรรณคีรี  จัดสร้างพิพิธภัณฑ์ผ้าไทฯ

ภายในอาคาจิปาถะภัณฑ์ แบ่งห้องแสดงไว้หลายห้อง ประกอบด้วย..

          ส่วนจัดแสดงแบ่งเป็น  10 ห้องได้แก่ 

ห้องที่  1  แสดงภูมิปัญญาสมัยทวารวดี 

ห้องที่  2  แสดงเครื่องมือทำมาหากิน 

ห้องที่  3  มุมหลับนอนสอนลูกหลาน 

ห้องที่  4  แสดงการระดมความคิดของคนในชุมชน 

ห้องที่  5  แสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไท-ยวน

ห้องที่  6  แสดงเรื่องทำมาหากินของไท-ยวน 

ห้องที่  7  ห้องโถงสำหรับจัดนิทรรศการ 

ห้องที่  8  ภูมิปัญญาทอผ้าจก 

ห้องที่  9  ห้องอนุรักษ์ผ้าโบราณ 

ห้องที่  10  ห้องชาติพันธุ์ในจังหวัดราชบุรี

          นอกเหนือจากวัฒนธรรมสมัยทวารวดีที่เคยปรากฏหลักฐานที่นี่เมื่อพันกว่าปีมาแล้ว  คือเมืองโบราณคูบัว  แล้ว  ที่นี่ยังแสดงวัฒนธรรมของคนไทยวนที่อพยพมาตั้งรกรากที่นี่เมื่อกว่า 200 ปีที่ผ่านมา  โดยแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตตั้งแต่การเกิด  การกิน  การสอนลูกหลาน  การนับถือศาสนา  ได้เห็นความสัมพันธ์ของพระสงฆ์ในสมัยก่อนกับฆราวาส  จากนั้นจะเป็นวิถีชีวิตของคนที่นี่ในด้านการทำเกษตรทำนาทำไร่  เครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพ 

 

          ส่วนที่จัดแสดงที่อยู่ชั้นบนเป็นเรื่องผ้าจกไท-ยวน  โดยมีห้องเกี่ยวกับวิธีทอผ้าจกด้วยหุ่น  อีกห้องเป็นห้องใหญ่ที่จัดเก็บรวบรวมผ้าจกใหญ่  ผ้าจกโบราณ  และมีผ้าจกใหม่ไว้ให้เปรียบเทียบกัน  มีลวดลายไว้ให้ลูกหลานได้เรียนรู้แบบลายถักทอ  ห้องสุดท้ายคือห้องชาติพันธุ์  เนื่องจากว่าคนราชบุรีไม่ได้มีแต่คนไท-ยวนอย่างเดียว  ห้องนี้จึงจัดเป็นห้องชาติพันธุ์ในราชบุรีซึ่งมี  7  ชาติพันธุ์  ได้แก่  ไทยวน  ไทยทรงดำ  มอญ จีน  กะเหรี่ยง  ลาวเวียง  ไทยพื้นถิ่น  และผ้าของชาวติมอร์ตะวันออก

บริหารจัดการ

กรมศิลปากร

ประเภทพิพิธภัณฑ์

เกษตร, วิทยาศาสตร์, การแพทย์, เทคโนโลยี, ชีวิตและธรรมชาติ

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

ศิลปะปูนปั้นสมัยทวารวดี

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

วัดโขลงสุวรรณคีรี ตำบลคูบัว อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี 70000
โทรศัพท์ : 032-323197, 081-763-1989
เว็บไซต์ : http://www.jipathaphan.com/

วันและเวลาทำการ

เปิดทุกวัน 8.00 - 16.30 น.

ค่าเข้าชม

ไม่เก็บค่าเข้าชม

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะจะต้องทำหนังสือก่อนขอเข้าเยี่ยมชม

ข้อมูลสำหรับผู้พิการ

ไม่มีข้อมูลสำหรับผู้พิการ

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีพื้นที่สำหรับจอดรถ

2

แบ่งปัน

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง