คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

หมอเมือง

ภูมิปัญญาล้านนา รักษาโรค

         เหตุการณ์ตรงหน้าสะกดผมให้จดจ้องโดยไม่อาจละสายตา! เริ่มจากที่คุณหมอนำฝ่าเท้าแตะน้ำปูเลย (ไพล-สมุนไพรชนิดหนึ่ง) แล้วย้ายไปเหยียบใบไถที่อังไฟให้ร้อน จากนั้นนำฝ่าเท้าอันร้อนระอุเหยียบย่ำลงไปที่ขาของชายคนหนึ่ง ที่ต้องทุกข์ทนกับอาการปวดขามานานร่วมสัปดาห์ เพื่อให้ความร้อนช่วยคลายเส้นเอ็นและรักษาอาการปวดเมื่อย ท่านทำแบบนี้ซ้ำอยู่เกือบชั่วโมง นี่คือการ “ย่ำขาง” ภูมิปัญญาด้านการรักษาโรคของหมอเมือง หมอพื้นบ้านในดินแดนล้านนาของภาคเหนือ

         ในอดีต ธรรมเนียมปฏิบัติของชาวล้านนาคือการดูแลรักษาสุขภาพในครอบครัวกันเอง (Home Medicine) หากสมาชิกเจ็บป่วยขึ้นมาผู้อาวุโสในครอบครัวจะแนะนำให้ใช้วิธีรักษาเบื้องต้นที่สืบทอดจากบรรพบุรุษ แต่เมื่อวิธีดังกล่าวไม่สามารถเยียวยาโรคภัย ทางเลือกถัดมาคือการรักษากับหมอเมืองในชุมชน

         แนวทางการสั่งสมความรู้ของหมอเมืองเกิดจากครูพักลักจำและลองผิดลองถูก โดยได้รับการถ่ายทอดความรู้จากบรรพบุรุษ ตลอดจนตามไปเป็นลูกมือตอนรักษาผู้ป่วยและตอนไปเก็บสมุนไพรในป่า ทำให้ซึมซับวิธีการรักษาและเห็นถึงประโยชน์ของสมุนไพรแต่ละชนิด หมอเมืองยังหาความรู้จากปั๊บสาหรือตำราล้านนาโบราณ หมอเมืองบางคนใช้ช่วงเวลาตอนอยู่ในร่มกาสาวพัสตร์เรียนรู้การรักษาโรคจากพระสงฆ์ เมื่อสึกออกมาจึงใช้ความรู้ดังกล่าวประกอบอาชีพ

         การรักษาของหมอเมืองมี 5 แนวทางคือ การรักษาด้วยพิธีกรรม (พิธีกรรมบำบัด) การรักษาทางกาย (กายบำบัด) การรักษาทางยา (สมุนไพรบำบัด) การรักษาด้วยอาหารการกิน (อาหารบำบัด) และการถือปฏิบัติ จะรักษาด้วยวิธีไหนขึ้นอยู่กับอาการของโรค รวมถึงอาจผสมผสานวิธีรักษาหลายแนวทางเข้าด้วยกัน

         การแพทย์พื้นบ้านสอดคล้องเป็นหนึ่งเดียวกับวิถีชีวิตของคนชนบทในล้านนา กระทั่งสายลมแห่งการพัฒนาพัดพาเอาการแพทย์แผนตะวันตกเข้ามายังดินแดนสยาม ทำให้บทบาทของการแพทย์พื้นบ้านในล้านนาลดน้อยลง

         ความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่เกิดขึ้นจากกระแสการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์ทางเลือกที่ก่อร่างสร้างตัวขึ้นในสังคมไทยตลอดช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา ส่งผลให้คนรักสุขภาพหันมาเปิดใจให้กับการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก ตลอดจนหมอเมืองมีการรวมกลุ่มกันขึ้นในชุมชน เช่น ชมรมรักษ์ม่อนยาหมอเมืองตำบลโรงช้าง ใน อ.ป่าแดด จ.เชียงราย ที่กำเนิดขึ้นเมื่อปี 2546 มีการก่อตั้งศูนย์เรียนรู้การแพทย์พื้นบ้านขึ้นในชุมชน มีคุณหมอสำราญ มาฟู เป็นประธานชมรม

         คุณหมอสำราญเริ่มใช้การแพทย์พื้นบ้านที่ได้รับถ่ายทอดจากคุณพ่อ (ปา มาฟู) เพื่อช่วยเหลือคนในชุมชนมาตั้งแต่ปี 2518 ในการรักษาโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต และปวดเมื่อย โดยผสมผสานการรักษาหลายรูปแบบเข้าด้วยกัน เช่น การย่ำขาง ประคบสมุนไพร และตอกเส้น เมื่อปี 2550 ท่านได้รับใบประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทย และได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ซึ่งเป็นใบเบิกทางให้ได้ไปทำหน้าที่อาจารย์พิเศษให้กับวิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

         ไม่เพียงใช้เป็นสถานที่รักษาผู้ป่วย ศูนย์เรียนรู้การแพทย์พื้นบ้านตำบลโรงช้าง ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการแพทย์พื้นบ้านหลากหลายแขนง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของยาสมุนไพรที่มีสมุนไพรหายากหลากหลายชนิดไว้ให้ได้ศึกษา รวมถึงสาธิตวิธีการรักษาโรคด้วยภูมิปัญญาล้านนา เช่น การย่ำขาง และตอกเส้น

         ก่อนที่ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านที่สั่งสมมาหลายชั่วอายุคนจะสูญหายไปกับกาลเวลา เป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องช่วยกันสืบสาน และคุณหมอสำราญ มาฟู แห่งศูนย์เรียนรู้การแพทย์พื้นบ้านตำบลโรงช้าง ก็ได้ทำหน้าที่นั้นอย่างสมบูรณ์

........................................

Credit by :
นายพันธ์ศักดิ์ วรรณคำ

10,109 views

1

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดเชียงราย