คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ตราดหรือกราด

ชื่อเมืองตราดมาจากไหน? ตราด หรือ กราด

         ชื่อเมืองตราดมีความเป็นมาอย่างไรยังคงไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน มีเพียงข้อสันนิษฐานที่ได้รวบรวมได้ ดังนี้

         พระครูคุณสารพิสุทธิ์ (เจ้ง จันทสโร) เล่าไว้ว่าตราดเพื้ยนมาจากคำว่า“กราด”เนื่องจากที่ตั้งเมืองในปัจจุบันเป็นที่ราบว่างเปล่า แม่น้ำบางพระได้พัดพาเอาต้นกราดมาติดที่ดอนนี้ จึงมีผู้นำมาตั้งเป็นชื่อเมือง เรียกว่าเมืองกราด

         ท่านเจ้าคุณพระราชเขมากร (ปกรณ์ อารัมธวิริโย) เจ้าคณะจังหวัดตราด กล่าวว่าได้รับคำบอกเล่าจากพระผู้ใหญ่รูปหนึ่งว่า คำว่า“ตราษ”เป็นภาษาเขมร หมายถึงไม้ยางซึ่งเป็นไม้พื้นเมืองขึ้นอยู่ทั่วไป ในสมัยก่อนท้องที่ของจังหวัดตราดมีไม้ยางอยู่มาก

         จากคำบอกเล่าของทั้ง 2 ท่านนำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลของกรมป่าไม้จากหนังสือของสมาคมป่าไม้แห่งประเทศไทย พบว่ามีต้นไม้ชนิดหนึ่งชื่อ “กราด” มีชื่อพื้นเมืองเรียกแตกต่างดังนี้ ยางกราด (ชลบุรี) ตาด(นครราชสีมา) ตรายด์ (เขมร ส่วย สุรินทร์) เหียงกราด (ราชบุรี) ประโยชน์ของไม้ชนิดนี้ใช้ในการต่อสร้างบ้านเรือน มีน้ำมันจากต้นเรียกน้ำมันกราด ใช้ทำน้ำมันใส่แผลและโรคเรื้อน นอกจากนี้ยังใช้ทำไต้ ใช้ยาเรือ ใช้ทาเครื่องจักรสาน จากข้อมูลนี้อาจจะเป็นไปได้ว่าเมือง “กราด” “ตราษ” “ตราด” มาจากต้นไม้ชนิดนี้

         จากการอ้างอิงหลักฐานของบันเทิง ยันต์โกเศศ สรุปได้ว่า ไม่มีเอกสารหรือหลักฐานได้ที่จะยืนยันได้แน่ชัดว่าชื่อเมืองตราดมีความเป็นมาอย่างไร คำว่า “ตราษ” “กราด” “ตราด” ใช้ปะปนกันมาเรื่อยๆ ดังปรากฏหลักฐานการบันทึกพงศาวดารมีการใช้ชื่อ “เมืองตราด” ในเหตุการณ์ยกทัพจากจากจันทบุรีสู่เมืองตราดของพระยาตาก ชื่อ “เมืองตราษ” ปรากฏในภาษีน้ำตาลทรายในสมัยรัชกาลที่ 4 (พ.ศ. 2400) สำหรับการใช้ชื่อ “เมืองกราด” มีปรากฏในราชกิจจานุเบกษาในการเสด็จประพาสหัวเมืองชายฝั่งตะวันออก ในเอกสารของฝรั่งเศสจะบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับจังหวัดตราดโดยเขียนเป็น Kratt (กราด) เข้าใจว่าเขียนตามสำเนียงพูด คนเฒ่าคนแก่ในจังหวัดตราด มักเรียกเมืองตราดว่าเมืองกราด ซึ่งข้อนี้อาจารย์มนตรี คุรุกิจโกศล ผู้อำนวยการโรงเรียนบ่อไร่วิทยาคมให้ข้อสังเกตไว้ว่า คนตราดสมัยก่อนมักพูดพยัญชนะตัว “ต” เป็นตัว “ก” เช่นผ้าไตร เป็นผ้าไกร ตระเตรียม เป็นกระเกรียม ตรอก เป็นกรอก ตีตรา เป็นตีกรา เป็นต้น สำหรับชื่อเมืองตราด ที่เขียนอยู่ในปัจจุบันเป็นชื่อที่ปรากฎในสมัยที่พระยาอินทราบดีเป็นสมุหเทศบาล พ.ศ. 24701

........................................

1 จังหวัดตราด, สำนักงาน. ม.ป.ป., ๙๐ปีตราดรำลึก. ตราด: ม.ป.ท., ม.ป.พ.,34.

4,074 views

0

แบ่งปัน