คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

การรบที่เกาะช้าง

การรบที่เกาะช้าง หลักฐานการเป็นเมืองหน้าด่านของสยาม

การสู้รับบริเวณเกาะช้างเป็นผลสืบเนื่องจากกรณีพิพาทอินโดจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศส

ซึ่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝรั่งเศสทำสงครามกับเยอรมัน
 

         จึงมุ่งหวังให้เหตุการณ์ทางอินโดจีนซึ่งเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสมีความสงบสุขเรียบร้อย ฝรั่งเศสจึงติดต่อประสานมาถึงทางการไทย เพื่อทำสัญญาว่าจะไม่รุกรานหรือเกิดข้อขัดแย้งกันในเขตอินโดจีนฝรั่งเศส รัฐบาลไทยในขณะนั้นยินดีรับข้อตกลงดังกล่าว ทว่าได้ยื่นข้อเรียกร้องให้ทำการปรับปรุงเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างไทยกับดินแดนอาณานิคมของฝรั่งเศสขึ้นใหม่ ให้ถูกต้องตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ รวมทั้งขอคืนดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงที่ยึดไปจากเหตุการณ์ ร.ศ. 112 คืนแก่ไทย ซึ่งผลปรากฏว่า รัฐบาลฝรั่งเศสสมัยนั้นไม่ยอมรับข้อเรียกร้องของไทย1

         เช้าวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2484 เวลาเช้าประมาณ 6 โมง ฝรั่งเศสส่งเครื่องบินขนาดใหญ่ปีกชั้นเดียว 2 เครื่องยนต์ สีบรอนซ์ขาว มาลาดตระเวนบริเวณเกาะช้าง เมื่อเรือหลวงสงขลาและเรือหลวงชลบุรีได้รับรายงานว่าพบเครื่องบิน ทหารทั้งหมดได้รับคำสั่งให้เข้าประจำการสถานีต่อสู้อากาศยานทันที เครื่องบินบินย้อนมาบริเวณเกาะง่าม และทิ้งระเบิด 2 ลูก แต่พลาดเป้า ในจังหวะนั้นปืนต่อสู่อากาศยานปืนกลของเรือหลวงทั้ง 2 ลำ ระดมยิงกระสุนถูกบริเวณปีกขวาและหัวเครื่องบินเกิดไฟลุกไหม้ บินถลาไปตกลงในทะเลทางทิศใต้ของเกาะหวาย จากนั้นฝ่ายฝรั่งเศสได้ส่งเรือรบมาทางเกาะช้างฝั่งใต้ประมาณ 7 ลำ นำโดยเรือลามอตต์ ปิเกต์ เรือทั้งหมดได้แยกเป็น 3 หมู่ เข้าโจมตีเรือหลวงสงขลา เรือหลวงชลบุรี และอาคารเกาะง่าม เพราะคิดว่าเป็นฐานทัพของไทย เรือรบทั้ง 2 ลำของไทย จึงระดมยิงไปที่เรือลามอตต์ ปิเกต์ เรือทั้ง 3 หมู่ของฝรั่งเศส จึงเข้าระดมยิงมายังเรือหลวงทั้งสอง เรือรบทั้งสองตกเป็นรอง เพราะมีกำลังน้อยกว่ามาก จึงใช้วิธีให้เรือหลวงสงขลาระดมยิงไปที่เรือลามอตต์ ปิเกต์ เพียงลำเดียว เพราะเป็นเรือนำและขนาดใหญ่สุด และให้เรือหลวงชลบุรีแบ่งปืนเป็น 2 ส่วน ระดมยิงไปที่หมู่เรือทั้งสองของข้าศึก จากการปะทะกันเรือหลวงทั้งสองได้สร้างความเสียหายให้เรือฝ่ายฝรั่งเศส แต่เรือหลวงทั้งสองก็ได้รับความเสียหายเช่นกัน เรือหลวงสงขลาถูกระดมยิงอย่างหนัก ทำให้น้ำไหลเข้าคลังลูกปืน ไม่สามารถยิงต่อสู้ต่อได้ ส่วนเรือหลวงชลบุรีถูกกระสุนเข้าที่เสาหัวเรือ และกลางลำเรือจนเกิดไฟลุกไหม้ จึงมีคำสั่งสละเรือหลวงสงขลาในเวลา 6.45 น. และอีก 5 นาทีต่อมาก็มีคำสั่งสละเรือหลวงชลบุรี ระหว่างนั้นเรือหลวงธนบุรีได้แล่นเข้าหาเรือลามอตต์ ปิเกต์ และระดมยิงถูกบริเวณสะพานเรือ เกิดระเบิดควันพวยพลุ่งอย่างเห็นได้ชัด เรือลามอตต์ ปิเกต์ จึงหนีวิถีกระสุนเข้าไปบังเกาะ ส่วนเรือหลวงธนบุรีก็ถูกยิงเช่นกันในบริเวณหอบังคับการไฟไหม้หลายแห่ง ในขณะนั้นข้าศึกได้ส่งเครื่องบินมาทิ้งระเบิดใส่เรือหลวงธนบุรี ทำให้เกิดไฟลุกไหม้อย่างหนัก แต่ก็ยังระดมยิงเข้าไปที่บริเวณป้อมท้ายเรือลามอตต์ ปิเกต์ ขณะนั้นเรือ ลามอตต์ ปิเกต์ เสียหายอย่างหนักจึงชักธงและเปิดเสียงหวูดส่งสัญญาณให้เรือลำอื่นล่าถอย กระทั้งเวลา 8.30 น. มีคำสั่งหยุดยิง แต่ทหารไทยในเรือหลวงธนบุรีต้องนำกำลังที่เหลือเข้าดับไฟที่กำลังไหม้อย่างหนัก เรือหลวงช้างได้เข้าไปช่วยดับไฟ และลากจูงเรือหลวงธนบุรีไปถึงหน้าแหลมงอบ จนสุดท้ายเวลา 16.40 น. เรือหลวงธนบุรีเริ่มตะแคงเอนลงทางกราบขวา จนเสาทั้งสองค่อยๆ เอนจมน้ำลงไปในที่สุด

         จากข้อมูลหลักฐานที่พบในหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพของ เรือเอก สีมา หงสกุล ได้การไว้อย่างน่าสนใจวัน การรบที่บริเวณเกาะช้างมิอาจเรียกว่า ยุทธนาวีได้ เพราะการที่จะใช้คำว่า ยุทธนาวีนั้น ต้องมีกับจัดทัพตามหลักยุทธวิธีการรบทาเรือ มีผลถึงการแพ่ชนะสงครามได้ แต่เหตุการณ์ที่เกาะช้างนั้น เป็นการที่กำลังทางเรือส่วนน้อย อันเป็นหน่วยรักษาการณ์หรือหน่วยลาดตระเวนเพียง 3 ลำ ได้พบกับกองกำลังส่วนใหญ่ของอินโดจีนฝรั่งเศส ที่ทางตอนใต้ของเกาะช้าง และไม่ได้เจอกับกองกำลังใหญ่ของฝ่ายไทยจึงควรเรียกแค่การรบ มิใช่ การยุทธ2

........................................

1 ปกิณกศิลปวัฒนธรรม เล่ม ๑๙ จังหวัดตราด, 2556, 78.

2 อนุสรณ์ในพิธีพระราชทานเพลิงศพเรือเอก สีมา หงสกุล. ท.ม.ต.ช., ณ วัดเทพศิรินทราวาส วัพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม 2526

9,304 views

3

แบ่งปัน