คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ร.5 ประพาสครั้งที่ 8

ร.5 เสด็จประพาส ถึง 12 ครั้ง กับความสำคัญเมืองตราดในยุคล่าอาณานิคม

         ประพาสครั้งที่ 8 พ.ศ. 2430 เป็นปีที่ 19 ในรัชกาลนี้ ได้เสด็จพระราชดำเนินออกจากพระนคร เมื่อวันอาทิตย์ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 11 ราวเดือนตุลาคม พ.ศ. 2430 ถึงเมืองตราดวันเสาร์ แรม 8 ค่ำ เดือน 11 ราวเดือนตุลาคม เสด็จประทับอยู่ ณ เขตเมืองตราด เป็นเวลา 4 ราตรี วันรุ่งขึ้นจึงเสด็จพระราชดำเนินไปยังเมืองจันทบุรีและกลับกรุงเทพมหานคร1

         ในการเสด็จประพาสครั้งนี้ ท่านได้ทรงจารึก จปร. ถึง 2 ที่ คือ จปร. ที่ 2 และ จปร. ที่ 3 ณ น้ำตกธารมะยม ดังที่ปรากฏในจดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ภาค 24 ความว่า

         เวลาเช้า ๔ โมงเศษ เสด็จพระราชดำเนินลงเรือพระที่นั่งกรรเชียง เข้าในคลองมะยม ประทับท่าเสด็จพระราชดำเนินไปตามทาง ไปถึงที่น้ำตกชั้นล่าง แล้วเสด็จขึ้นบนเขาตามทางที่กรมการตัดถางและผูกราวเป็นการเรียบร้อย เสด็จพระราชดำเนินไปถึงน้ำตกชั้นบน มีน้ำตกลงมาแต่ที่สูง งามมากกว่าทุกแห่ง ประทับที่ก้อนศิลาใหญ่ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้จารึกอักษรพระนามจ.ป.ร. และศักราชไว้แต่เมื่อครั้งพระราชดำเนินมา ณ เมื่อปีวอก ฉศก ครั้งนี้โปรดเกล้าฯให้จารึกศักราช ๑๒๔๙ เติมลงอีก แล้วทรงฉายพระรูป

         แล้วเสด็จพระราชดำเนินขึ้นเขาต่อไปอีก ตามทางที่ตัดอ้อมเขาไปถึงชั้นบนที่น้ำตกสูง ทางน้ำไหลมาเป็นลำคลองยาวมีหาดทรายและก้อนกรวด ประทับทอดพระเนตรที่น้ำไหลตกจากเขาสูงลัวทรงพระราชดำเนินเลียบลำธารที่เป็นคลองไปสองข้างทางเป็นแผ่นดินราบมีศิลาบ้างเป็นป่าทึบ ในลำธารนั้นตื้นบ้างลึกบ้าง เป็นแห่ง ๆ เสด็จพระราชดำเนินไปได้แหลมหนึ่งถึงที่แห่งหนึ่ง ในลำธารนั้นมีก้อนศิลาใหญ่น้อยเต็มทั้งลำคลองเป็นแก่งกันน้ำไหล ที่ริมเป็นป่ารกมาก จึงเสด็จลงทรงลุยน้ำในลำธารข้ามแก่งไป จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามแก่งนี้ให้เรียกว่า แก่งทรงลุย

         เสด็จพระราชดำเนินต่อไปในลำคลองบ้าง ขึ้นบกบ้างเลียบคลองไปบ้าง ไปตามลำคลอง มีคลองเล็กแยกเล็ก ๆ ไปอีกหลายแห่งเป็นเกาะกลางคลองแยกไปสองข้างบ้าง เป็นที่สนุกน่าพิศวง ลำธารนั้นยาวไปไม่เห็นที่สิ้นสุด เสด็จพระราชดำเนินไปจนเวลาบ่าย ๓ โมงเศษถึงที่แห่งหนึ่ง มีศิลาอยู่ริมธารประทับที่นั้น โปรดเกล้าฯ ให้จารึกศิลาเป็นอักษรพระนาม จ.ป.ร. และลงศักราช ๑๒๔๙ แล้วสรงน้ำและฉายพระรูปประทับอยู่ประมาณครึ่งชั่วโมง เสด็จกลับเกือบบ่าย ๔ โมง2

 

รอยจารึก จปร. ที่ 2 สันนิษฐานว่าเป็นจุดกองศิลา

รอยจารึก จปร. ที่ 3 ณ น้ำตกชั้นสาม

แก่งทรงลุย บริเวณ จปร. ที่ 2

........................................

1 อภิลักษณ์ เกษมผลกูล. (2553). โครงการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์เฉลิมพระเกียรติฯ “ตามรอยเสด็จฯ เกาะช้าง จังหวัดตราด”. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก, 328.2

2 เรื่องเดียวกัน, 335.

2,980 views

0

แบ่งปัน