คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

พระเจ้าตากยึดตราด

พระเจ้าตากยกกองทัพมายังเมืองตราด ยึดเรือสำเภาจีน หลักฐานการเป็นเมืองท่าสำคัญ

         หลังจากที่พระเจ้าตากสินได้ตีฝ่าวงล้อมออกมาจากกรุงศรีอยุธยา มาทางทิศตะวันออก เดือน 2 ขึ้น 4 ค่ำ จศ. 1128 อัฐศกปีจอ ตรงกับวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2309 เพื่อมารวบรวมไพร่พลกลับไปกอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนมาโดยเร็ว จนมาถึงยังเมืองตราด (เมืองทุ่งใหญ่) พวกกรมการเมืองและราษฎรต่างพากันมาอ่อนน้อม แต่ที่ปากน้ำเมืองตราดมีเรือสำเภาจีนมาทอดทุ่นอยู่หลายลำ พระเจ้าตากสินได้เรียกนายเรือมาพบ แต่พวกนายเรือชาวจีนขัดขืนต่อสู้ พระเจ้าตากสินได้นำกำลังทางเรือออกมาล้อมสำเภาจีนเหล่านั้น และได้ต่อสู้กันอยู่ประมาณครึ่งวัน จึงสามารถยึดเรือสำเภาจีนไว้ได้ทั้งหมด พร้อมทั้งทรัพย์สินสิ่งของมาเป็นจำนวนมาก1

 

 

         ในการยกทัพมาตีเรือสำเภาจีนที่เมืองตราดนั้น ได้ปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ ว่า

 

         ...ครั้น ณ วันจันทร์ จุลศักราช ๑๑๒๙ ปีกุนนพศกเสร็จพระราชดำเนินทัพโดยสถลมารค กอปรด้วยพลทหารประมาณ ๑,๐๐๐ เศษ เดชะพระบรมโพธิสมภารฝนตก ๗ วัน ๗ คืน แล้วตรัสสั่งให้พระพิชัย หลวงราชรินทร์เป็นแม่ทัพคุมเรือประมาณ ๕๐ ลำเศษ พร้อมพยุหโยธาทั้งปวงยกไปทัพหลวงเสด็จโดยทางสถลมารคถึงบ้านทุ่งใหญ่ แล้วเสด็จเรือไปล้อมข้าศึกไว้คืนหนึ่ง

         ฝ่ายวานิชพ่อค้านายสำเภาทั้งปวงก็ยังมิได้อ่อนน้อมครั้นเพลารุ่งเช้าจึงดำรัสสั่งนายทัพนายกองให้ยกเข้าตีสำเภาอยู่ประมาณกึ่งวัน ข้าศึกลูกค้าชาวสำเภาต้านทานมิได้ก็อัปราชัยแพ้ทัพหลวง ได้ทรัพย์สินจำนวนมาก ฝ่ายจีนเจียมผู้ใหญ่กว่าชาวสำเภาทั้งปวงยอมสามิภัคดิ์ จึงพาธิดามาถวาย ในเวลาเสด็จ

 

 

         สันนิฐานว่าท่าเรือสำเภาที่พระเจ้าตากสินได้ทำการรบกับสำเภาจีนคือบริเวณปากคลองท่าตะเภา ตามที่พระสาธนธนากร (มุ่ย ชพานนท์) และเสมียนทอง เจริญสุข ได้กล่าวไว้ในวรรณกรรมเรื่อง ธรรมะทางปลูกศรัทธา” แต่งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2478 ความว่า

ท่าตะเภาเค้านี้มีประวัติ ครั้งกษัตริย์ที่เป็นผู้กู้สยาม
เจ้าตากสินกล้าหาญชาญสงคราม ท้าวเธอตามราวีตีสำเภา
หากำลังตั้งใจเพื่อได้ผล พาณิชชนโฉนดข้าปัญญาเขลา
ต้องรบรับอัปราท่าตะเภา จึงได้เอานามนั้นใช้กันมา

 

........................................

1 กอบกู้ชาติไทยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, ม.ป.ป., 45

10,337 views

0

แบ่งปัน