คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

กลองมโหระทึก

หลักฐานการอยู่ในเส้นทางการค้าโบราณของตราด กลองมโหระทึก วัฒนธรรมดองซอน (เวียดนาม)

         กลองมโหระทึกบ้านนายเสมอ อิ่มทะสาร บ้านเลขที่ 25 หมู่ 9 ตำบลวังกระแจะ อำเภอเมือง จังหวัดตราด พบเมื่อปี พ.ศ. 2531 หลังจากที่นายเสมอเสียชีวิต กลองก็อยู่ในความดูแลของคุณยายเฉลิม อิ่มทะสารผู้เป็นภรรยา โดยนายเสมอขุดพบกลองมโหระทึกสำริดในไร่สับปะรด ขณะขุดวางท่อน้ำ หลังจากที่ขุดพบกลองมโหระทึก นายเสมอได้ตั้งศาลขึ้นเหนือบริเวณที่ขุดพบกลอง และนำกลองขึ้นวางไว้ในศาลเพื่อบูชา สภาพของพื้นที่ที่พบกลองเป็นพื้นที่ไร่สับปะรด ซึ่งเป็นเนินดิน บริเวณใกล้เคียงมีการตัดหน้าดินออกไปเพื่อใช้ในการก่อสร้าง ทำให้เนินดินบริเวณนั้นมีความสูงจากพื้นดินโดยรอบค่อนข้างมาก มีคลองวังไหลผ่านไปสู่อ่างเก็บน้ำเขาระกำ พบกลองมโหระทึกในระดับความลึกจากผิวดินประมาณ 60 เซนติเมตร สภาพกลองชำรุดแต่ส่วนหน้ากลองและตัวกลองยังเชื่อมกันต่อกันอยู่ในบางส่วน ตัวกลองแตกหลายแห่ง ในชั้นดินเหนือกลองมีการโรยก้อนดินลูกรังสีแดง ตัวกลองวางหงายขึ้น เพื่อใช้บรรจุชิ้นส่วนกระดูกมนุษย์และโบราณวัตถุ ได้แก่

1. เครื่องมือเหล็ก สภาพชำรุด มีคราบสนิมเกาะหนาประเภทสิ่วเหล็ก ขวานเหล็ก มีดขอ
2. ชิ้นส่วนภาชนะสำริดเนื้อบาง ผิวเรียบเป็นมัน
3. ลูกปัดหินคอร์เนเลียน (Cornelian)
4. ห่วงทองคำ รูปกลม มีลายซี่หวีเรียงเป็นแถว ชิ้นส่วนกำไลสำริด
5. ชิ้นส่วนปากภาชนะดินเผา
6. ห่วงสำริด นอกจากนี้ในบริเวณใกล้เคียงยังพบภาชนะดินเผาเคลือบสีขาว ตกแต่งลายประทับลักษณะคล้ายคน ส่วนปากและพวยหักไป

         การพบกลองมโหระทึกบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเล อาจเป็นนัยยะแสดงถึงความสัมพันธ์ในทางวัฒนธรรมของกลุ่มชนในวัฒนธรรมร่วมที่มีการใช้กลองนี้ เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง และแสดงให้เห็นว่าพื้นที่ในเขตนั้นๆ เป็นชุมชนที่มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม มีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีในเรื่องการผลิตทางด้านโลหกรรม มีการประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับกลุ่มชนอื่นๆ ภายนอก จนกระทั่งมีการแลกเปลี่ยนทางด้านวัฒนธรรมและการเผยแพร่ความเชื่อต่อกัน

6,970 views

0

แบ่งปัน