คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ขวานหินโบราณ

ขวานหินโบราณเครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ประมาณ 3,500-4,500 ปี

         คุณ สิริ อภิวาท ประธานกลุ่มเกษตรกรทำนาท่าพริก หยิบขวานหินที่ตนเองสะสมให้ดูพร้อมกับเล่าถึงที่มาของการเริ่มเก็บสะสมขวานหิน ได้มีความสนใจขวานหินตั้งแต่ยังเด็ก เริ่มจากการที่ไปที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่กรุงเทพ แล้วได้เห็นเครื่องมือยุคหินแล้วเกิดความชอบปนสงสัยว่าที่จะหวัดตราดจะมีเครื่องมือยุคหินอยู่หรือไม่มากน้อยเพียงใด จึงเริ่มศึกษาเครื่องมือยุคหินมาเรื่อยๆ เครื่องมือยุคหินชิ้นแรกที่เจอคือขวานหิน พบที่บ้านท่าพริกหมู่ 5 จึงได้นำไปถามผู้เฒ่าผู้แก่ว่ามันคืออะไร จึงได้รับคำตอบว่า เขาเรียกว่า “ขวานฟ้า” จากคำบอกเล่าเหตุที่เรียกว่า “ขวานฟ้า” เพราะจะสามารถเจอเครื่องมื่อยุคหินนี้จะเจอในจุดที่ฟ้าผ่า นักเลงไก่ชนจะแสวงหาขวานฟ้านี้กันเป็นอย่างมาก เพราะในสมัยโบราณจะมีความเชื่อว่า ถ้านำขวานฟ้านี้ไปใส่ในรังไก่ชนที่กำลังฝัไข่ ลูกไก่ที่ฟักออกมาจะตีเก่งเหมือนฟ้าผ่า คุณ สิริ อภิวาท ยังมีเครื่องมือยุคหินอีกหลายแบบ ทั้ง ขวานหินแบบ กะเทาะ ขวานหินแบบขัด ขวานหินกลม เครื่องลับหิน

         ขวานหินขัดโดยทั่วไปอาจจะมีรูปทรงและสีสันที่ไม่ใคร่สะดุดตา และหากอยู่ในพิพิธภัณฑ์ก็มักจะไม่ค่อยได้รับความสนใจเท่าใดนัก แต่ทว่าวัตถุที่ดูแสนจะธรรมดานี้มีความสำคัญอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะมันคือหลักฐานต่อเนื่องจากพัฒนาการของเทคโนโลยีเครื่องหิน (Lithic Technology) สามารถนำไปดัดแปลงเพื่อประโยชน์ใช้งานได้หลากประเภท ตั้งแต่เป็นของใช้ในครัวเรือน อาวุธ เครื่องประดับ รูปเคารพ วัสดุก่อสร้าง แผ่นจารึก หรือแม้แต่โลงศพตามคุณสมบัติของเนื้อหิน มีการขึ้นรูปและตกแต่งด้วยเทคนิคกะเทาะ ตอก ต่อย สลัก สกัด ตัด ขัด ขูด หรือแม้กระทั่งเผาและฝังสีก็ตามที เพื่อให้ได้มาซึ่งวัตถุที่มีรูปทรงและสีสันตามที่ต้องการ ความพยายามที่จะสร้างวัตถุตามที่ต้องการนี้ ทำให้มนุษย์ออกเดินทางเสาะแสวงหาวัตถุดิบที่อยู่ห่างไกลออกไป ซึ่งนำไปสู่การติดต่อแลกเปลี่ยนรวมไปถึงการต่อสู้แย่งชิงทรัพยากรของมนุษย์1

         น่าจะพอสรุปได้ว่าจังหวัดตราดเป็นแหล่งชุมชนของมนุษย์โบราณมาก่อน จึงพบเครื่องยุคหินจำนวนมาก ชาวบ้านตำบลท่าพริกในปัจจุบันนิยมเรียกว่า “ขวานฟ้า” เพราะแหล่งที่เจอจะอยู่บริเวณที่ฟ้าฝ่า ซึ่งเชื่อมโยงกับความเชื่อของชาวบ้านที่จะนำขวานหินขัดที่พบไปใส่ในรังไก่ชน ทำให้ไก่ชนบ้านท่าพริกมีชื่อเสียงขึ้นชื่อว่าชนเก่งตีได้ดุเดือนเหมือนฟ้าผ่า

........................................

พจนก กาญจนจันทร, 25 ปี พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ, ม.ป.ป., 96

26,034 views

1

แบ่งปัน