คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ประเพณีอัฎฐมีบูชา

ประเพณีถวายพระเพลิงพระบรมศพจำลองของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ประเพณีอัฎฐมีบูชา หรือ

ประเพณีถวายพระเพลิงพระบรมศพจำลองของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

            เป็นประเพณีที่จัดขึ้น ณ วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง ตําบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยชาวทุ่งยั้งได้จัดติดต่อกันมาเป็นเวลานาน ในสมัยก่อนถ้าปีใดมีปัญหาอุปสรรค ชาวบ้านยังไม่ว่างก็จะประชุมหารือขอเลื่อนเป็นปีต่อไป ในการจัดงานในระยะแรกๆ ก็เป็นที่รู้จักกันอยู่ในเฉพาะเขตบ้านทุ่งยั้งเท่านั้น และทำกันเฉพาะผู้ใหญ่ คนเฒ่าคนแก่ที่ยังยึดถือเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ถึงแม้พระพุทธเจ้าจะได้เสด็จดับขันธ์ปรินิพานไปแล้วกว่าสองพันกว่าปี  แต่หลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ยังคงอยู่ไม่มีเสื่อมคลาย 

            ด้วยความยึดมั่นในพระพุทธศาสนาของชาวทุ่งยั้ง อําเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ จึงได้ร่วมกันจัดทําพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพจำลองขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นเป็นประจําทุกปี โดยงานได้พัฒนาและปรับปรุงไปตามลำดับ แต่ยังคงอนุรักษ์พิธีกรรมต่างๆไว้อย่างครบถ้วน เมื่อศูนย์วัฒนธรรมและองค์กรต่าง ๆ ให้การสนับสนุนมากขึ้น งานถวายพระเพลิงพระบรมศพจำลองนี้ก็ยิ่งใหญ่ขึ้นตามลําดับ และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ก็ได้ส่งเจ้าหน้าที่มาสังเกตการณ์และให้คำแนะนาการจัดงานเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวสู่จังหวัด

 

                 เมื่อใกล้ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เพ็ญวิสาขบูชาของทุกปี กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน ตลอดจนผู้เฒ่าผู้แก่ทั้งหลาย จะนัดแนะกันมาปรึกษาหารือกําหนดวันจัดงาน จัดแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ จัดตั้งกรรมการเพื่อดําเนินงาน การจัดสร้างพระรูปจําลอง ซึ่งผู้สูงอายุถือว่าจะได้บุญกุศลมาก จะมาช่วยกันคนละไม้คนละมือก่อนวันงานเป็นสิบ ๆ วัน โดยใช้วัสดุพื้นบ้าน เช่น ไม้ไผ่ ฟาง ข้าว ไม่นุ่น และดินเหนียว เพื่อปั้นพระเศียรจําลองซึ่งจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวคนประมาณ 5 เท่า เสร็จแล้วจะห่อหุ้มด้วยผ้าจีวร ดูคล้ายกับพระพุทธเจ้าปางไสยาสน์หรือปางปรินิพพาน ตะแคงขวา หลับพระเนตร  พระเศียรหนุนพระเขนย ฝ่าพระหัตถ์ขวารองรับพระเศียร พระกรซ้ายทับไว้บนพระปรัศว์ช้าย(ขาซ้าย) พระบาทซ้ายซ้อนไว้บนพระบาทขวา เหยียดปลายพระบาทเสมอกันทั้งสองข้างชาวบ้านจะสร้างเสร็จก่อนวันวิสาขบูชาหนึ่งวัน

          ในวันวิสาขบูชา ชาวบ้านจะช่วยกันนำเอาพระบรมศพจําลองขึ้นประดิษฐานไว้ในพระวิหารหลวง (ปัจจุบันย้ายมาตั้งบนศาลาเพราะมีประชาชนมานมัสการจำนวนมาก) แล้วจึงจัดทําพิธีทางศาสนาด้วยการตักบาตรทําบุญถวายเป็นกุศล ติดต่อกัน 9 วัน 9 คืน โดยจัดถวายภัตตราหารแต่พระภิกษุสงฆ์ทั้งเช้าและเพล หลังเพลจะมีเทศน์เรื่องพุทธประวัติและปฐมสมโพธิกถา  ภาคค่ำจะมีปาฐกถาธรรม  โดยชาวบ้านจะมาร่วมทําบุญตลอด 9 วัน พระสงฆ์จากท้องถิ่นต่างๆ ก็จะเดินทางมาปักกลด แสดงธรรมและรอวันถวายพระเพลิงพระบรมศพจำลอง ทั่วทั้งบริเวณวัดทุ่งยั้งเป็นภาพที่น่าประทับใจยิ่ง

 

               ครั้นถึงวันแรม 8 ค่ำเดือน 6 ซึ่งเรียกว่าวันอัฏฐมีบูชา ครบ 9 วันที่ได้ประดิษฐานพระบรมศพจําลองไว้ในพระวิหารหลวง ก็จะเคลื่อนพระบรมศพจำลองออกจากพระวิหารหลวงแห่แหนไปตามถนนบรมอาสน์ ตลอดสองฟากถนนที่รถพระบรมศพจำลองผ่าน ชาวบ้านจะพากันนั่งลงยกมือขึ้นเหนือศีรษะแสดงคารวะพระบรมศพจำลองด้วยอาการสงบ 

            จากนั้นจะนําพระบรมศพจําลองขึ้นประดิษฐาน ณ เมรุมาศที่ได้จัดทําไว้อย่างสวยงาม โดยพระเมรุจะสร้างระหว่างที่พระบรมศพจําลองอยู่ในพระวิหารหลวงเป็นเวลา 9 วัน ประชาชนจะเริ่มเข้ามารอบๆ พระเมรุ มือถือดอกไม้ ธูปเทียน รอเวลาสำคัญจะมาถึง ฝ่ายจัดการพิธีจะตรวจสอบตัวละครสมมติเข้าประจําที่เรียบร้อยหรือยัง ประกอบด้วย พระสงฆ์จํานวนมากที่เดินทางมาจากวัดใกล้-ไกลนับจำนวนร้อยๆ รูป นักเรียนนักศึกษาและประชาชนที่แต่งตัวสมมติเป็นเทวดา นางฟ้า  พระอินทร์  พระพรหม เหล่าฤาษีชีพราหมณ์ ตลอดจนมัลลกษัตริย์และกษัตริย์จากหัวเมืองต่างๆ  เมื่อทุกอย่างพร้อมเรียบร้อย ประธานพิธีทั้งฝ่ายสงฆ์และฝ่ายฆราวาสมาถึง ณ บริเวณพิธี ละครโรงใหญ่เริ่มขึ้นซึ่งทุกคนที่ร่วมในงานจะเป็นทั้งผู้ดูและผู้แสดงทั้งหมด

            ทุกอย่างดูจะหยุดนิ่งไปหมด เมื่อเสียงพิธีกรเริ่มบรรยายตั้งแต่องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และมาเน้นในตอนใกล้เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์สาวกได้เสด็จข้ามแม่น้ำหิรัญญวดีถึงเมืองกุสินารา จนถึงป่ารังของมัลลกษัตริย์ นครกุสินาราแล้ว รับสั่งให้พระจุนทะเถระปูลาดอาสนะลงบริเวณใต้ต้นไม้รังคู่หนึ่ง ให้หันพระเศียรไปทางทิศอุดรแล้วเสด็จประทับสีหไสยาสน์ ตั้งพระทัยไม่เสด็จลุกขึ้นอีก พอย่างเข้ายามราตรี ได้มีปริพาชกผู้หนึ่งชื่อสุภัททะมาขอเข้าเฝ้า พระบรมศาสดาก็ทรงให้สุภททะ เข้าเฝ้าถามปัญหา แล้วทูลขอบรรพชาอุปสมบทจนได้สำเเร็จพระอรหันต์ต่อจากนั้น ก็ประทานปัจฉิมโอวาสแก่พระอานนท์และพระภิกษุสงฆ์ทั้งมวล แล้วเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ในคืนวันขึ้น 15ค่ำ เดือน 6 คือวันวิสาขบูชาในเวลาใกล้รุ่ง

 

                จากนั้นผู้ร่วมงานทั้งหมดจะทยอยเข้าคารวะและทักษิณาวรรตพระบรมศพจำลอง เริ่มจากพระสงฆ์สาวก ข้าราชการ และประชาชน เมื่อถึงเวลาถวายพระเพลิง พระสงฆ์จะสวดเสียงดังกระหึ่มไปทั่วงาน ดังสลับกับเสียงพลุ ตะไลไฟพะเนียง แล้วทุกอย่างก็ค่อยๆมอดไหม้และจากกันไปด้วยความสงบ 

ขอบคุณภาพละเนื้อหาจาก:

เอกสารประกอบการสอน วิชา ส 072 ท้องถิ่นของเรา 2 จังหวัดอุตรดิตถ์ : คุณยาใจ กอนวงษ์

www.tnews.co.th

4,691 views

0

แบ่งปัน