คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

บายศรีสู่ขวัญผลไม้

ประเพณีบายศรีสู่ขวัญผลไม้ลับแล

     พิธีบายศรีสู่ขวัญผลไม้ เป็นประเพณีที่คนลับแลปฏิบัติสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น แต่เดิมเป็นเพียงพิธีเล็กๆ ในครัวเรือนที่ต่างคนต่างทำในบ้านของตน มาวันนี้พิธีบายศรีถูกพูดถึงและสื่อสารออกมาให้คนภายนอกได้รู้จักมากขึ้น ระยะหลังจึงมีการรวมตัวกันของหลายๆ หมู่บ้านในอำเภอมาช่วยกันจัดงานให้ยิ่งใหญ่สมฐานะที่เป็นเมืองแห่งผลไม้ พิธีนี้จัดขึ้นเพียงปีละครั้งเดียวเท่านั้น ในเดือนแปดหรือเดือนเก้า คือเดือนกรกฎาคมหรือเดือนสิงหาคมของทุกปี นอกจากนั้นชาวลับแลยังมีความเชื่อหนึ่งว่า สวนผลไม้ของพวกเขา มีเทวดาอารักษ์ คอยปกปักรักษาผืนแผ่นดิน ดลบัลดาลความสมบูรณ์ตลอดมาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย จนถึงรุ่นพ่อแม่และรุ่นลูกหลานในปัจจุบัน พิธีนี้จึงเป็นการบูชาระลึกคุณเทพาอารักษ์ไปพร้อมกันด้วย

        พิธีนี้เริ่มต้นด้วยการจัดบายศรีด้วยใบตองประดิษฐ์อย่างงดงามตระการตา มีขบวนชาวบ้าน การแต่งกายด้วยชุดพื้นบ้านผ้าซิ่นตีนจก หาบคอนผลไม้เข้าสู่พิธีเป็นแถวยาว โดยมีกลองยาวนำขบวน จากนั้นต่างคนต่างนำผลไม้ที่เก็บมาจากสวนของตัวเอง มาใส่ในพานรอบๆ บายศรี ทั้งทุเรียน ลองกอง ลางกอง ลางสาด มะไฟ มังคุด สับปะรด ฯลฯ เมื่อถึงฤกษ์ยามอันเป็นมงคล ผู้นำพิธี ที่เรียกกันว่า “พ่อหมอ” จะเริ่มจุดธูปเทียนเพื่อบูชาขมาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ กล่าวขอบคุณเทวดาผู้รักษาผลไม้ ขับร้องคำกลอนเป็นทำนองสรภัญญะที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการออกไปทำนา ทำสวนของชาวลับแล วิถีชีวิตและวัฒนธรรมต่างๆ ในชุมชน ใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมง และมีการนิมนต์พระภิกษุมาเทศนาธรรมเพื่อเป็นสิริมงคลกับผู้มาเข้าร่วมพิธีด้วย

      ชาวลับแลเชื่อว่าผลไม้ลูกแรกชนิดต่างๆ ที่ออกจากต้น ในแต่ละปีจะต้องเก็บเอาไปให้พ่อแม่กินก่อน ที่เหลือจึงจะสามารถเอามากินหรือส่งขายได้ ถ้าพ่อแม่ใครเสียชีวิตหรือล่วงลับแล้วก็จะเอาผลไม้ลูกแรกไปถวายพระที่วัดเพื่ออุทิศส่วนบุญกุศลไปให้ ประเพณีการบายศรีสู่ขวัญผลไม้เมืองลับแล นอกจากจะโดดเด่นน่าดูน่าชมไม่เหมือนใครแล้ว ยังสื่อถึงความศรัทธาของชาวบ้านที่ถือเอาสิ่งศักดิ์สิทธิ์มายึดเครื่องเหนี่ยวจิตใจ

     พิธีบายศรีสู่ขวัญผลไม้ กลายเป็นสื่อพื้นบ้านที่เชื่อมความสัมพันธ์ของคนในชุมชนได้อย่างแน่นแฟ้น เป็นสื่อกลางในการเชื่อมความสัมพันธ์ของคนในหมู่บ้าน นำไปสู่การสร้างเครือข่ายแบบประณีต ซึ่งต้องอาศัยวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมแบบนี้มาเป็นสื่อกลาง ที่สุดแล้วสิ่งนี้จะกลายเป็นอาวุธสำคัญให้ชาวบ้านยืนหยัดอยู่ในสังคมสมัยใหม่ได้อย่างเต็มภาคภูมิ เมื่อเสร็จพิธีแล้วจะมีการรับประทานอาหารร่วมกัน เป็นที่สนุกสนาน พร้อมกับแลกเปลี่ยนผลไม้ซึ่งกันและกันกลับบ้าน

     ประเพณีสำคัญประเพณีนี้ เรียกได้ว่ามีเพียงหนึ่งเดียวในประเทศไทย หรือหนึ่งเดียวในโลกที่อำเภอลับแล พิธีบายศรีสู่ขวัญผลไม้เป็นพิธีสะท้อน อัตลักษณ์ อันแสดงถึงความกตัญญูรู้คุณแด่บรรพบุรุษ และเพื่อเป็นการขอบคุณผลไม้นานาชนิดที่ผลิตผลเหล่านั้น ทำให้ชาวสวนลับแลได้มีอาชีพและรายได้มาเลี้ยงหล่อชีวิต สร้างฐานะครอบครัวให้อยู่ดีมีสุข

ขอบคุณภาพและเนื้อหาจาก

 

www.icemedia.info

www.triptravelgang.com

soclaimon.wordpress.com

3,180 views

0

แบ่งปัน