คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ประเพณีตานค้างบูยา

เมืองลับแล

ประเพณีตานค้างบูยา หรือ ประเพณีตานสลากชะลอม(ก๋วยสลาก) เป็นประเพณีโบราณของชาวไทยยวน(ล้านนา) เพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษที่ล่วงลับ 

 

คำว่า "ค้างบูยา" ก็เหมือนกับ "ต้นกัลปพฤกษ์" ที่มีของกินของใช้ห้อยแขวนประดับให้ดูสวยงาม (สมัยก่อนจะเน้นประดับตกแต่งด้วยมวนบุหรี่จำนวนมากปัจจุบันลดปริมาณลงแล้วแต่ยังพอมีให้เห็นเพื่อความสมบูรณ์ของการทำทาน) ข้างล่างที่เป็นกระบะจะใส่ ผลไม้หรือพืชสวนตามหาได้ เช่น ทุเรียน ลางสาด ลองกอง ส้ม กล้วย หมาก และพืชไร่ เช่น ฟัก ฟักทอง แต่ส่วนประกอบสำคัญที่ห้อยตามชั้นจะร้อยมวนบุหรี่ จึงมีสำนวนคำร้องกระเซ้าเย้าแหย่เด็กร้องให้ว่า "ไปค้าฆ้องบ่ได้หยังมา ได้แต่บูยามาสองสามเบ้า บ่ปอปั๋นพี่ บ่ปอปั่นน้อง" เป็นต้น

นอกจาก "บุหรี่" แล้ว ยังมี "ดอกไม้" ที่พับจากกระดาษ และ "ธง" ที่ตัดจากกระดาษแก้วหลากสี ห้อยประดับตามแบบโบราณสวยงาม ถือเป็นการอวดฝีมือเจ้าของค้างบูยาอีกด้วย ส่วนเครื่องใช้จะเป็นจำพวก ไม้ขีดไฟ สมุด ดินสอ ปากกา ขนมช้าง ขนมปลา ฯลฯ ส่วนยอดจะประดับด้วยดอกไม้กระดาษและตัวหงส์สานจากใบลานคาบผ้าเช็ดหน้าหรือธนบัตรใบละ 100 บาท 500 บาท หรือ1,000 บาท ห้อยไว้ที่ปากหงส์หรือเสียบไม้ไว้บนหลังหงส์ให้ดูสวยงามและแสดงถึงฐานะของเจ้าของค้างบูยาว่าร่ำรวยหรือมีศรัทธามากน้อยแค่ไหน

ในประเพณีถวายทานค้างบูยานี้ ยังมีการทำขนมโบราณของล้านนาไว้นำไปแจกจ่ายแบ่งปันให้กับญาติพี่น้องในวงศ์ตระกูล (หรือเรียกว่าเทศกาลทำขนมญาติพี่น้อง) ได้แก่ ข้าวต้มมัด ขนมแหนบ ขนมเทียน ขนมฟักทอง และขนมแตง เป็นต้น  โดยสมัยโบราณจะมีคำกล่าวของคนแก่คนเฒ่าท่องจำเรื่องลำดับการจัดงานตานค้างบูยาของแต่ละวัดเพื่อกันลืม ไว้ได้คล้องจองกันตามชื่อของวัดในตำบลแม่พูล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ดังนี้ "เริ่มวัดพะตุม ยุ่มไปวัดผักฮาก ลากมาวัดหัวดง โก้งไปวัดดอนแก้ว แล้วมาวัดดอนค่า ลูกหล้าวัดศรีอุทุมพร" วัน เดือน ปี ที่จัดงานก็จะเปลี่ยนแปลง ตามปฏิทินจันทรคติ

 

ประเพณีตานค้างบูยา เป็นประเพณีที่มีเอกลักษณ์เฉพาะอำเภอลับแล แสดงถึงสายสัมพันธ์และความสามัคคีระหว่างญาติพี่น้อง เพื่อนบ้าน ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยโบราณและสืบทอดจนถึงปัจจุบัน อำเภอลับแล มีทั้งหมด ๘ ตำบล มี ๖ ตำบลที่จัดประเพณีดังกล่าว ได้แก่ ตำบลด่านแม่คำมัน ตำบลนานกกก ตำบลแม่พูล ตำบลฝายหลวง ตำบลศรีพนมมาศ ตำบลชัยจุมพล อีกสองตำบลที่ไม่ได้จัด คือ ตำบลทุ่งยั้ง ตำบลไผ่ล้อม เนื่องจาก ๒ ตำบลนี้มีวัฒนธรรมแบบชาวไทยสุโขทัย

 

ขอบคุณภาพและเนื้อหาจาก

สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดอุตรดิตถ์ และร้านม่อนลับแล

http://www.icemedia.info

Nida Sangkapreecha :  Photo Travel Club

 

3,699 views

0

แบ่งปัน