คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

พระธาตุสบฝาง

วัดพระธาตุสบฝาง สถานที่บรรจุพระนลาฏธาตุ(กระดูกในส่วนหน้าผาก)ของพระพุทธเจ้า

          วัดพระธาตุสบฝาง อำเภอแม่อาย เชียงใหม่

           สถานที่ตั้ง

          วัดพระธาตุสบฝางตั้งอยู่บนยอดดอยสบฝาง บนฝั่งแม่น้ำกก ห่างจากตัวอำเภอฝางไปทางทิศเหนือประมาณ 32 กิโลเมตร และห่างจากบ้านท่าตอนไปทางทิศตะวันออกประมาณ 4 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกัน ดังนี้ ทิศเหนือจรดแม่น้ำกก ทิศใต้จรดแม่น้ำฝาง ทิศตะวันออกจรดบ้านป๊อกป่ายาง ทิศตะวันตกจรดแม่น้ำกก การคมนาคมสะดวกสามารถเดินทางไปได้ทั้ง 2 ทาง คือ

           -ทางน้ำ ล่องไปตามลำน้ำกก โดยเรือรับจ้างหางยาวจากท่าเรือท่าตอนถึงวัดประมาณ 20 นาที

           -ทางบก เส้นทางถนนสายฝาง-ท่าตอน เลี้ยวขวาที่หลักกิโลเมตรที่ 18 บ้านสันโค้งผ่านบ้านหนองนกยาง

           บริเวณวัดมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 800 ไร่ พื้นที่เนินเขาติดลำน้ำกก สามารถมองเห็นทัศนียภาพด้านล่างได้อย่างชัดเจนและสวยงาม  บริเวณพื้นที่ส่วนใหญ่ของวัดจะปกคลุมด้วยป่าไม้ไผ่ขนาดใหญ่นานาชนิด ให้ความร่มรื่นน่าอยู่และหาดูได้ยากในยุคนี้  ปัจจุบัน (พ.ศ. 2547) ทางราชการกำลังตัดถนน (ทางลัด) ตรงหลัก กม.28 บนถนนสายท่าตอน-แม่จัน โดยสร้างสะพานคอนกรีตขนาดมาตรฐานข้ามน้ำกก ใกล้ๆ กับวัดพระธาตุสบฝาง ระยะทางยาวประมาณ 2 กม. เชื่อว่าอนาคตอันใกล้นี้ ทางลัด (ถนน) สายนี้จะย่นระยะทางไปสู่วัดพระธาตุสบฝางได้มากและรวดเร็วสะดวกสบายยิ่งขึ้น

          ตำนานวัดพระธาตุสบฝาง

          พระนลาฏธาตุของพระพุทธเจ้า

          จากตำนานสิงหนวัติได้กล่าวว่า ในพุทธศตวรรษที่ 9 ช่วงรัชสมัยของพระองค์พังคราช             กษัตริย์องค์ที่ 45 แห่งราชวงศ์สิงหนวัติ มีพระภิกษุชาวมอญรูปหนึ่งชื่อพระพุทธโฆษาจารย์ อยู่ที่เมืองเมาะลำเลิง ไม่ไกลจากเมืองเมาะตะมะ ได้ไปศึกษาพระพุทธศาสนาจากประเทศลังกา  หลังจากจบการศึกษาจนแตกฉานในพระธรรมวินัยแล้วจึงได้เดินทางกลับมาเผยแผ่พระพุทธศาสนา ลัทธิลังกาวงค์ในประเทศพม่า-มอญ-สุโขทัยและโยนกนคร ตามลำดับ พระพุทธโฆษาจารย์นอกจากจะนำเอาพระคัมภีร์พระไตรปิฎกมาถวายแด่พระองค์พังแล้ว พระพุทธโฆษาจารย์ยังได้นำเอาพระบรมธาตุส่วนพระนลาฏของพระพุทธเจ้า (กระดูกส่วนหน้าผาก) จำนวน 16 องค์ มาถวายแด่พระองค์พัง เมื่อพระองค์พังได้รับพระบรมธาตุแล้ว จึงทรงแบ่งพระบรมธาตุดังกล่าว จำนวน 5 องค์ (องค์ใหญ่ 1 องค์ องค์กลาง 2 และองค์เล็กอีก 2 องค์) ให้แก้พญาเรือนแก้วเจ้าเมืองไชยนารายณ์ เมื่อพญาเรือนแก้วได้รับพระบรมธาตุแล้วจึงได้ไปสร้างเจดีย์เพื่อบรรจุพระบรมธาตุดังกล่าวทั้ง 5 องค์ ไว้ที่ยอดดอยจอมทอง เขตเมืองพะเยา ส่วนพระบรมธาตุที่เหลืออีก 11 องค์ พระองค์พังจึงได้อัญเชิญพระบรมธาตุเหล่านั้นใส่ในโกศทองคำ ซ้อนโกศเงินและโกศแก้ว มอบให้แก่พญาพรหมมหาราช พระโอรสของพระองค์เองเก็บรักษาไว้

           พระบรมธาตุแสดงอภินิหาร

           เมื่อพระเจ้าพรหมมหาราชยึดนครโยนกคืนได้แล้ว  พระองค์จึงได้ขึ้นไปบนยอดดอยน้อยในวันวิสาขะบูชา เพื่อสร้างเจดีย์ครอบทับสถูปพระเกศสาธาตุองค์เดิมที่พญาสิงหนวัติได้ทรงสร้างไว้เมื่อก่อนพุทธศักราช 30 ปี ซึ่งพระเจดีย์ที่สร้างใหม่นี้มีขนาดสูง 13 เมตร กว้างด้านละ 6 เมตร เพื่อบรรจุพระบรมธาตุทั้ง 11 องค์ที่พระเจ้าพังคราชประทานให้ไว้พระพรหมมหาราชเกิดประหลาดใจและปิติยินดีเป็นล้นพ้นเมื่อพระองค์เปิดโกศทองที่บรรจุพระบรมธาตุทั้ง 11 องค์ออก และได้พบว่ามีพระบรมธาตุเสด็จมาอยู่ในโกศทองคำจนเต็มโกศ พระธาตุแต่ละองค์มีขนาดเล็กกว่าของเดิมทุกองค์ พระองค์จึงอัญเชิญพระธาตุเฉพาะองค์ใหญ่ทั้ง 11 องค์ออกมาบรรจุไว้ในเจดีย์แห่งนั้น ซึ่งต่อมาเรียกว่าพระธาตุจอมกิตติ ส่วนพระบรมธาตุที่เหลือทั้งหมด พระองค์ทรงเก็บไว้ด้วยพระองค์เอง

          ชาติภูมิของพระเจ้าพรหมมหาราช

          พระเจ้าพรหมมหาราช ทรงประสูติที่เวียงสี่ตวง ปัจจุบันเรียกว่า บ้านเวียงแก้ว ต.ป่าสักน้อย อ.เชียงแสน จ.เชียงราย เป็นพระโอรสของพระองค์พัง หรือพระเจ้าพังคราช กษัตริย์องค์ที่ 45 แห่งราชวงค์สิงหนวัติซึ่งถูกพญาขอมดำขับไล่ออกจากเมืองโยนกเมื่อปี พ.ศ. 900 และได้ย้ายมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เวียงสี่ตวงแห่งนี้ พระองค์พังคราชมีพระโอรส 2 องค์ องค์พี่ชื่อทุกขิตกุมาร ส่วนองค์น้องชื่อ พรหมกุมาร ซึ่งประสูติเมื่อปี พ.ศ. 903

          สร้างเวียงพานคำ

          พระเจ้าพรหมมหาราช มีความคับแค้นใจพญาขอมดำตั้งแต่บุพชาติ (เมื่อบุพชาติพระเจ้าพรหมมหาราชเป็นสามเณรไปบิณฑบาตในบ้านของพญาขอมดำถูกเหยียดหยามดูถูกนานัปการ)  เมื่อพระองค์เจริญวัยขึ้นจึงได้ศึกษาศิลปะการต่อสู้ตามยุทธพิธีพิชัยสงคราม เมื่อพระองค์ได้ช้างเผือกคู่บารมีชื่อช้างเผือกแก้วพานคำ จากกลางลำน้ำโขงแล้ว จึงได้พาทหารกล้าทั้งหลายไปตั้งเมืองใหม่บนฝั่งแม่น้ำสาย และตั้งเมืองใหม่นี้ว่า “เวียงพานคำ” ตามชื่อของช้างเผือกมงคลของพระองค์  ปัจจุบันเรียกเพี้ยนเป็น “ตำบลเวียงพางคำ” อำเภอแม่สาย พระองค์สร้างเวียงพานคำไว้เพื่อเป็นที่ซ่อมสุมกำลังพลและฝึกซ้อมเพื่อเตรียมที่จะรบและขับไล่ขอมดำออกจากโยนก

            สร้างเวียงไชยปราการ

           เมื่อพระพรหมราชสิ้นสุดภาระหน้าที่ในการกำจัดและขับไล่ขอมดำออกจากโยนกเรียบร้อยแล้ว พระองค์จึงไปทูลเชิญพระราชบิดา (พระองค์พังคราช) ที่เวียงสี่ตวงให้กลับมาครองเวียงโยนกอีกตามเดิม โดยให้พระเชษฐาธิราช (ทุกขิตกุมาร) ขึ้นเป็นพระมหาอุปราชแห่งโยนกนคร ส่วนพระเจ้าพรหมมหาราชในฐานะที่เป็นพระอนุชา จึงยอมพาพระมเหสีของพระองค์พร้อมบริวารและทหารบางส่วนออกจากโยนกนครมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก เพื่อหาชัยภูมิสร้างเมืองใหม่ ที่ต้นน้ำกุกกนที ให้เป็นเมืองกันชนป้องกันข้าศึกมิให้เข้ามารบกวนนครโยนกอีก  เพราะพระองค์เกรงว่าพวกมองโกเลียจะอพยพขยายอิทธิพลล่องลงมาทางใต้อีกและพวกขอมดำอาจจะคิดแก้แค้นทวงดินแดนโยนกนครคืนอีกก็เป็นได้  และตั้งชื่อเมืองใหม่นี้ว่า “เวียงไชยปราการ” พระเจ้าพรหมมหาราชทรงเสวยราชสมบัติอยู่ที่เวียงไชยปราการนี้จนถึงปี พ.ศ. 980 จึงเสด็จสวรรคตสิริพระชนมายุได้ 77 พรรษา

          สร้างวัดพระธาตุสบฝาง

         เมื่อพระเจ้าพรหมมหาราชได้สร้างเวียงไชยปราการที่ต้นน้ำกุกกนที (น้อกก) ได้ประมาณ 4 ปี ซึ่งตรงกับปี พ.ศ.923 พระองค์จึงสร้างพระเจดีย์ไว้บนยอดดอยสบฝาง ริมฝั่งแม่น้ำกก ห่างจากบ้านท่าตอนประมาณ 4 กม. เพื่อบรรจุพระบรมธาตุทั้งหมดที่เหลือจากการบรรจุที่วัดพระธาตุจอมกิตติเมืองเชียงแสน ครั้งก่อน

        สร้างพระพุทธรูป

        เมื่อพระเจ้าพรหมมหาราชได้สถาปนาองค์พระเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าเรียบร้อยแล้ว  พระองค์ยังให้ช่างหล่อพระพุทธรูปด้วยทองสัมฤทธิ์อีกจำนวนมาก  เพื่อถวายไว้กับวัดนี้และวัดที่พระองค์สร้างไว้ในเมืองไชยปราการ เช่น วัดส้มสุก, วัดเก้าตื้อ, วัดป่าแดง และวัดดอกบุญนาค เป็นต้น

         สร้างบันไดนาค

        บันไดนาควัดพระธาตุสบฝางมีลักษณะแตกต่างจากวัดอื่นๆ กล่าวคือ หัวบันไดนาคจะขึ้นจากฝั่งน้ำกกด้านทิศเหนือ ด้างล่างกว้าง 4 เมตรขึ้นไปประมาณ 10 เมตร ช่องบันไดจะแคบลดลงเหลือแค่ 1.5 เมตร ตลอดช่วงบันได ซึ่งยาว 716 ขั้น บันไดจะคดซ้าย เลี้ยวขวาขึ้นไปเรื่อยๆ ภายใต้ร่มเงาของป่าไม้ไผ่ขนาดใหญ่นานพันธุ์ให้ความร่มเย็นตลอดแนวบันได สันนิฐานว่าสร้างมาประมาณ 80 ปี ยุคที่ครูบาศรีวิชัยขึ้นมาบูรณะพระธาตุ เมื่อปี พ.ศ. 2467

          ไฟไหม้วิหาร

          ในปี พ.ศ. 2476 เกิดไฟป่าไหม้ลุกลามเข้าวัดและไหม้วิหาร จนเหลือแต่ซากที่ใช้การไม่ได้ ครูบาแก้ว กาวิชโช จึงให้ศรัทธาชาวบ้านทั้งหลายช่วยกันขนย้ายพระพุทธรูปต่างๆ ไปฝากไว้ที่วัดท่าตอน, วัดบ้านค่าย, วัดสันโค้ง, วัดแม่อายบ้านเด่น และวัดแม่ฮ่างหลวง ซึ่งมีปรากฏอยู่ทุกวันนี้

          การบูรณะพระธาตุสบฝาง

         ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนเกี่ยวกับการซ่อมบูรณะองค์พระธาตุสบฝางในอดีต เพราะหลังจากพม่าถูกขับไล่ออกจากล้านนาแล้ววัดพระธาตุสบฝางก็ยังคงเป็นวัดร้างอยู่ตลอดมา จวบจนปี พ.ศ. 2467 ท่านครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย ได้เดินธุดงค์ไปเมืองเชียงแสน และได้แวะพักแรมอยู่ที่วัดพระธาตุสบฝางได้เห็นเจดีย์เก่าและชำรุดทรุดโทรมมาก จึงให้โยมอุปัฏฐากนำหนังสือไปให้เจ้าเมืองฝาง เพื่อขออุปถัมภ์ที่จะบูรณะครั้งนั้นมิได้ต่อเติมหรือดัดแปลงรูปทรงองค์พระเจดีย์ให้ผิดไปจากทรงเดิมเพียงแต่ก่อและห่อหุ้มองค์พระเจดีย์ให้สมบูรณ์เท่านั้น   ต่อมาในปี พ.ศ.2532 พระครูวุฒิญาณพิศิษฐ์ อดีตเจ้าคณะอำเภอแม่อายได้ย้ายขึ้นมาอยู่           จำพรรษาบนดอยนี้ ได้สร้างอุโบสถจตุมุธและวิหารปฏิบัติธรรม  โดยได้รับการอุปถัมภ์จากคุณอเนก ฮุนตระกูล จากกรุงเทพมหานคร พร้อมกับได้บูรณะองค์พระเจดีย์  โดยได้กะเทาะปูนเก่าออกทั้งหมดและฉาบใหม่ทั้งองค์และเปลี่ยนยอดฉัตรบนยอดดอยพระเจดีย์ด้วยให้สมบูรณ์และสวยงามเหมาะสมยิ่งขึ้นตราบเท่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้

          งานประจำปีของวัด

          กิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นในวัดนี้มี 7   กิจกรรม ดังต่อไปนี้

-งานเวียนเทียนในวันมาฆบูชา ตรงกับวันเพ็ญเดือน 3 (ปลายกุมภาพันธ์ หรือ ต้นมีนาคม)

-งานสรงน้ำพระบรมธาตุในวันที่ 21-23 เมษายน (หลังวันสงกรานต์)

-งานประเพณีเตียวขึ้นดอยสบฝางในวันวิสาขบูชา ตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 (เดือนพฤษภาคม)

-งานถวายสลากภัตวันที่ 15 กันยายนของทุกปี

-งานแข่งเรือยาว ซึ่งเป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยจัดเดือนตุลาคม

-งานกฐินชลมารค จัดในเดือน 12 ของทุกปี (เดือนพฤศจิกายน)

-งานลอยกระทง ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 12 ของทุกปี (เดือนพฤศจิกายน)

ทุกงานจะมีประชาชนจากทั่วสารทิศในอำเภอฝาง-แม่อาย-ไชยปราการ มาร่วมงานอย่างคับคั่งทุกปี

 

ขอบคุณภาพและเนื้อหา จาก

www.chiangmainews.co.th

www.mae-ai.ac.th

ที่มา : (ประวิทย์ ตันตลานุกูล. ตำนานวัดพระธาตุสบฝาง อำเภอแม่อาย เชียงใหม่. เชียงใหม่ : เชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์, 2547 หน้า 1-9)

 

6,989 views

1

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดเชียงใหม่