คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ถ้ำช้างร้อง

"พลับพลาพระเจ้าตาก"

ถ้ำช้างร้อง เป็นถ้ำขนาดเล็กริมแม่น้ำปิงตั้งอยู่ท่ามกลางหุบเขา ห่างไกลผู้คน ไม่มีทางสัญจรด้วยรถ ต้องมาทางน้ำด้วยเรือเพียงอย่างเดียว เป็นสถานที่เงียบสงัด วิเวก ลี้ลับมาก และมีกายทิพย์ เช่น ภุมเทวดาไปปรากฏให้พระที่ไปภาวนาเห็นอยู่บ่อยๆ โดยถ้ำนั้นอยู่ห่างจากแก่งก้อไปทางทิศใต้ ประมาณ 25 กิโลเมตร ยังเป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ เนื่องจากบันทึกประวัติศาสตร์กล่าวไว้ว่า พระเจ้าตากสินมหาราชและพระนางจามเทวี เคยเสด็จมาประทับเมื่อนานมาแล้ว

สำหรับตำนานเกี่ยวกับเรื่องที่ว่าพระเจ้าตากสินมหาราชเคยเสด็จมาที่ถ้ำช้างร้องแห่งนี้นั้น มีบันทึกไว้ดังนี้

 

ปีพุทธศักราช 2317 มีเหตุการณ์สำคัญยิ่งที่ทำให้เกิดการพลิกหน้าประวัติศาสตร์ล้านนา นี่คือช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่ล้านนาต้อง "เลือกข้าง" ว่า จะอยู่กับใคร ระหว่างการยอมอยู่ใต้บังคับของพม่าดุจช่วงสองร้อยปีที่ผ่านมานับแต่บุเรงนองยึดเมืองเชียงใหม่เมื่อ พ.ศ.2101 หรือว่าอยากทดลองเปลี่ยนไปอยู่กับอำนาจใหม่เป็นประเทศราชของสยามแทน?

บุคคลผู้มีบทบาทอย่างสูงในการตัดสินใจคือ พญาจ่าบ้าน (บุญมา) และพญากาวิละ ขณะนั้นกษัตริย์พม่าแห่งกรุงอังวะได้มอบหมายให้พญาจ่าบ้าน เป็นผู้ดูแลนครเชียงใหม่ ส่วนพญากาวิละเป็นผู้ดูแลนครลำปาง ภายใต้การควบคุมของ "โป่มะยุง่วน" ผู้ที่ชาวเชียงใหม่เรียกว่า "โป่หัวขาว" เนื่องจากเป็นหม่องที่ชอบโพกผ้าสีขาวเป็นสัญลักษณ์เสมอ

กองกำลังของพญาจ่าบ้านมีเพียงหยิบมือ ในขณะที่พม่ามีทหารนับหมื่น หนทางเดียวที่ล้านนาจะหาญสู้พม่าได้ ก็คือการหันไปสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าตากสิน พญาจ่าบ้านได้ส่งหลานชายผู้มีฐานะเป็นอุปราชเมืองเชียงใหม่ ซึ่งพม่าตั้งให้ดูแลเมืองลำพูนด้วย ชื่อ "ก้อนแก้ว" นำกองทัพ "ทหารโพกผ้าแดง" ไปเข้าเฝ้าพระเจ้าตากสิน ณ ถ้ำแห่งหนึ่งกลางลำน้ำปิง เวียงลี้

อุปราชก้อนแก้วเป็นคนหนุ่ม ฝีมือเข้มแข็ง ซุ่มฝึกกองทหารโพกหัวด้วยผ้าแดงไว้ราวพันกว่าคน เป็นผู้นำทัพที่ชาวล้านนารักใคร่และเคารพยำเกรงมาก ถือว่าเป็นแม่ทัพมือขวาของพญาจ่าบ้านเลยทีเดียว


ประวัติศาสตร์ช่วง "ฟื้นม่าน" ของชาวล้านนา ได้ถูกนำมาแต่งเป็นกวีนิพนธ์เรื่องแล้วเรื่องเล่า อาทิบทกวี "โคลงค่าวริร่ำถ้อยเมืองพิงค์" ไม่ทราบนามผู้รจนา เขียนด้วยอักษรธรรมบนใบลานไม่ระบุปีที่แต่ง แต่ทางวัดป่าแพ่ง ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ได้คัดลอกสำนวนเก็บไว้เมื่อปี พ.ศ.2406 กวีนิพนธ์มีความยาว 80 บท แต่ขอยกมาเพียง 3 บทเพื่อให้เห็นภาพความเคลื่อนไหว

หัวขาวโป่ม่านเถ้า เพพลัด
ตื่นแตกหนีกระจัด พ่ายค้าน
เครื่องยศเสตฉัตร ...ทอด ทุมเอย
วิบากเลยถบพ้าน พรากห้องเสียเมือง
กษัตริย์เสิกอยุธิเยศเจ้า* เหนือหัว
กวัดกวาดฝูงคนครัว ลูกล้อน
ช้างม้าหมู่งัวควาย ริบร่าย รอมเอย
เก็บรายกันเข้าข้อน แต่งตั้งเวียงละพูน
ตั้งจ่าบ้านหื้อครองอยู่ รักษา
พลไพร่ฝูงประชา ไพร่ฟ้า
ก้อนแก้วเป็นอุปราชา รองราช ลงเอย
พิงเพิ่งหลานและน้า อยู่เฝ้าเมืองละพูน


 

*กษัตริย์อยุธยาในที่นี้เป็นความเข้าใจของคนล้านนาที่ยังคงเรียกเมืองสยามว่าอยุธยาอยู่ แท้จริงได้ย้ายราชธานีไปอยู่กรุงธนบุรีแล้ว

การขึ้นมาปราบพม่าที่เชียงใหม่ พระเจ้าตากสินได้ตรึงทัพไว้ที่ถ้ำช้างร้อง กลางกระแสน้ำแม่ปิงที่ไหลเชี่ยวกราก ปัจจุบัน ถ้ำนี้เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติแม่ปิง ตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

พระเจ้าตากสินให้ทหารผูกพลับพลาไม้ไว้หลังหนึ่ง เป็นศาลาโถง หลังคามุงแป้นเกล็ด ตกแต่งหน้าบันเรียบง่ายด้วยจั่วหน้าพรหม มีจุดเด่นอยู่ที่คันทวยฉลุฉลักลวดลายเล็กน้อยพองาม มีพระธุดงค์มาจำศีลตลอด

ชาวลี้เรียกสถานที่แห่งนี้ว่า "พลับพลาพระเจ้าตาก"

ขอบคุณเนื้อเรื่อง จาก Botkwamdee.blogspot.com

และขอบคุณภาพจาก

TAT TAK

www.travel.lumphunpao.go.th

6,579 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดลำพูน