คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

เว็บบอร์ด

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   เว็บบอร์ด
  4.    >   คอมเมนต์จัดหนัก จาก ‘ปลัดเล’ ถึง รัชกาลที่ ๔

คอมเมนต์จัดหนัก จาก ‘ปลัดเล’ ถึง รัชกาลที่ ๔

24 มิถุนายน 2560

ชื่นชอบ 4

4,106 ผู้เข้าชม

7

แบ่งปัน
พุทธศักราช  ๒๓๘๗ “บางกอกรีคอร์ดเดอร์”หนังสือพิมพ์ภาษาไทยเล่มแรกในประวัติศาสตร์สยามถือกำเนิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยนายแพทย์ชาวอเมริกัน ที่คนไทยรู้จักดีในนาม “หมอบรัดเลย์” หรือ “ปลัดเล” ซึ่งเพี้ยนเสียงมาจากนามจริงว่า ดร.แดเนียล บีช แบรดลีย์ (Dr.Daniel Beach Bradley) เป็นผู้สถาปนา 

โดยเริ่มจากการตั้งโรงพิมพ์ คิดตัวพิมพ์ภาษาไทย เพื่อพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับศาสนาและการแพทย์สำหรับแจกและจำหน่าย จนนำไปสู่การพิมพ์หนังสือทั่วไป อาทิ นิราศลอนดอน จินดามณี สามก๊ก และ “อักขราภิธานศรับท์” ซึ่งถือเป็นพจนานุกรมเล่มแรก ในส่วน “บางกอกรีคอร์ดเดอร์” ก็มีการรายงานข่าว และการเขียนบทความเชิงวิพากษ์วิจารณ์สังคมอย่างทันสมัยเป็นครั้งแรก
                                     
                                     (หมอบรัดเลย์ – ภาพ – วิกิพีเดีย) 

หมอบรัดเลย์จึงถือเป็น “บิดาแห่งการพิมพ์” และ “ผู้สร้างตำนานแพทย์แผนใหม่ของสยาม” เป็นเหตุให้ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๔ ทรงถือหมอบรัดเลย์เป็นพระสหายสนิท และทรงให้เกียรติหมอถึงขั้นว่าหากปีใด วันพระราชสมภพของพระองค์ตรงกับวันอาทิตย์ ก็จะทรงเลื่อนงานฉลองเป็นวันถัดไป เพื่อให้หมอและคณะมิชชันนารีมาร่วมงานได้ 

ครั้นเมื่อหมอออกหนังสือพิมพ์ “บางกอกรีคอร์ดเดอร์” ก็ทรงสมัครเป็นสมาชิก และพระราชนิพนธ์บทความไปตีพิมพ์อยู่เนืองๆ และบางครั้งก็เป็นการโต้แย้งหมอบรัดเลย์ ดังบันทึกของแหม่มแอนนา เลโอโนเวลส์ ครูสอนภาษาอังกฤษในสมัยร.๔ ตอนหนึ่งว่า...
                          
                           (ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๔  / ภาพ – https://www.topicstock.pantip.com)

“ท่านผู้เฒ่าที่น่านับถือทั้งคู่นี้ มักจะโต้แย้งแสดงคารมกันในหนังสือพิมพ์เนือง ๆ เช้าวันนี้ได้ทรงพระราชนิพนธ์โต้แย้งเรื่องมนุษย์เราเกิดมามีบาปติดตัวของหมอปลัดเล ขณะที่แหม่มกำลังคัดพระราชหัตถ์เลขาเพื่อจะส่งไปตีพิมพ์นั้น พระองค์ท่านทรงสำราญพระราชหฤทัยเป็นอันมาก เพราะทรงดำริว่าคราวนี้หมอปลัดเลคงจะต้องยอมจำนนต่อเหตุผลของพระองค์ท่านเป็นแน่” 

หมอบรัดเลย์ก็เคยเขียนวิจารณ์ว่า เงินทองของสยามประเทศมีไม่มาก แต่แทนที่จะเอาเงินไปพัฒนาประเทศ พระมหากษัตริย์กลับเอาไปใช้เลี้ยงคนในวังอย่างไม่จำเป็นถึง 22,754 คน  ซึ่งล้นเกล้ารัชกาลที่ 4 ไม่ทรงกริ้ว ด้วยทรงเข้าใจดีว่าหมอบรัดเลย์หวังดีกับเมืองไทย ยกเว้นคราวที่หมอบรัดเลย์เขียนว่าทรงมีเจ้าจอมมากกว่าพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเขียนค้านทันทีว่า พระปิ่นเกล้าฯมีมากกว่าพระองค์ 
                                         

ทั้งนี้  “บางกอกรีคอร์ดเดอร์” จัดพิมพ์ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ออกปักษ์ละ ๒ ใบ มี ๔ หน้า โดยฉบับภาษาไทย ใช้ชื่อว่า “หนังสือจดหมายเหตุ” รูปแบบการจัดหน้าแบ่งออกเป็น ๒ คอลัมน์ มีภาพประกอบคือภาพวาด ขายปลีกใบละสลึงเฟื้อง ถ้าซื้อแบบพิมพ์เป็นเล่มรวมเมื่อปลายปีขายเล่มละ 5 บาท
เนื้อหามีลักษณะเป็นตำรา ข่าวทั้งต่างประเทศและในประเทศ ราคาสินค้า และบทความเชิงวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ในสมัยนั้น โดยหมอบรัดเลย์ชี้แจงวัตถุประสงค์ไว้ใน “บางกอกรีคอร์ดเดอร์” ฉบับปฐมฤกษ์ว่า หนังสือพิมพ์นั้นมีคุณต่อบ้านเมืองเป็นอันมาก เป็นแสงสว่างของบ้านเมือง คนชั่วเท่านั้นที่กลัวหนังสือพิมพ์ เพราะกลัวว่าหนังสือพิมพ์จะประจานความชั่วของตน
 
เอกสารอ้างอิง 
๑.ส.พลายน้อย. ชาวต่างชาติในประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพ : บำรุงสาส์น, ๒๕๑๗
๒. สุกัญญา ตีระวนิช. หมอบรัดเลกับการหนังสือพิมพ์กับกรุงสยาม. กรุงเทพ : มติชน, ๒๕๒๙ 

                     http://img.thaibuzz.com/ip/p3005.jpeg
                    ชีวิตในพระราชฐานฝ่ายใน (ภาพ – https://www.chaoprayanews.com)
                     
กรุงเทพฯสมัยรัชกาลที่ ๔ (ภาพ – https://www.topicstock.pantip.com)

วันที่สร้าง : 15 กันยายน 2560

7

แบ่งปัน
สร้างโดย