คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

สันหลังบางสิบหมื่น

ชุมชนหาดวอนนภา เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านหาดวอนนภา ซึ่งเป็นชุมชนประมงเมื่อประมาณ 60-70 ปีที่ ผ่านมา ชายทะเลแถบนี้เป็นป่าแสม เดิมชุมชนนี้มีชื่อเรียกว่า เพิงล่าง (บางแสนล่าง) และในขณะนั้นมีชาวบ้านอาศัยอยู่เพียง 4-5 หลังคาเรือน ได้มี คหบดีชื่อ คุณนาย วอน นภาศัพท์ ภรรยาของหมอชิต (ยานัตนุ์หมอชิต) มาชื้อที่บริเวณเพิ่งล่าง เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยและได้บริจาคที่ดินนั้นสร้างเป็นโรงเรียนให้แก่ชุมชนชาวบ้านจึงเรียกชุมชนนี้เพื่อเป็นเกียรติแก่ คุณนายวอน นภาศัพท์ว่า “หาดวอนนภา” รวมทั้งตั้งชื่อโรงเรียนว่า “โรงเรียนหาดวอนนภาศัพท์”

ซึ่งสมัยนั้นชาวชุมชนหาดวอนนภาส่วนใหญ่จะเป็นคนไทยเชื้อสายจีน ดำเนินชีวิตด้วยการออกทะเลหาปลาด้วยเรือเล็ก ๆ และเครื่องมือง่าย ๆ บ้านเรือนมีลักษณะเป็นบ้านเล็ก หลังคามุงจาก ชุมชนหาดวอนนภาเป็นชุมชนเล็กๆ ตั้งอยู่บริเวณชายหาดที่ต่อเนื่องกับชายหาดบางแสนจากวงเวียนบางแสนไป 2 กิโลเมตร แต่เดิมทีคนในชุมชนส่วนใหญ่ยึดอาชีพประมง และอาชีพที่เกี่ยวเนื่อง เป็นผลผลิตที่เกิดจากการประมง เช่น ทำน้ำปลาผลิตอาหารแห้ง ซึ่งสร้างรายได้ให้กับครอบครัว เศรษฐกิจของหาดวอนนภาเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงประมาณปี พ.ศ. 2486 จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีได้ประกาศให้บางแสนเป็นสถานที่ตากอากาศและเป็นแหล่งท่องเที่ยวอย่างเต็มตัว ทำให้วิถีชีวิตของชาวบ้านชุมชนหาดวอนนภาเริ่มเปลี่ยนไป เริ่มมีอาชีพค้าขายภายในชุมชนเพิ่มมากขึ้น เช่น การค้าขายอาหารทะเลสดและแห้ง และสินค้าพื้นเมืองมาถึงทุกวันนี้

สะพานปลาหาดวอนนภา ที่แห่งนี้นี้ยังสะท้อนวิถีชุมชนชาวประมงบางแสนดั้งเดิม บรรยากาศรอบข้างเต็มไปด้วยเรือชาวประมองที่จอดเทียบท่าเรียงรายตามแนวสะพานปลา เป็นภาพที่คุ้นตาของคนที่ผ่านไปมา เป็นอาชีพหลักที่มีบทบาทสำคัญของบางแสน อาจเป็นเพราะว่าส่วนหนึ่งบางแสนเป็นแหล่งท่องเที่ยว อาหารทะเล ส่วนใหญ่มาจากชาวประมงเหล่านี้ ที่ออกเรือในทุกวัน ความขยันทำมาหากิน เครื่องมือเครื่องใช้นั้น เกิดจากภูมิปัญญาของชาวบ้าน ที่สร้างและคิดขึ้นเอง

วิถีชีวิตของชาวประมงพื้นบ้าน ได้สะท้อนถึงภูมิปัญญาของวิถีชีวิตที่เรียบง่าย พอเพียง   สงบสุข ที่เป็นอยู่อย่างเรียบง่ายและมีความสุข ซึ่งต่างจากสังคมเมืองที่วุ่นวายในปัจจุบันนี้

หมู่บ้านประมงหาดวอนนภา ยามเย็นจะมีการทอดแหกันริมสะพานปลาหาดวอนนภา  ในละแวกใกล้เคียงก็จะมี ชาวประมงที่สร็จจากการออกเรือหาปลา ทำการการแกะแห และซ่อมแซมแหอยู่ไม่ห่าง

ชาวบ้านที่อาศัยกันอยู่เป็นครอบครัวชาวประมงนั้น ต่างมีวิธีการที่ทำกันมาจากรุ่นสู่รุ่น คือการแปรรูปอาหารทะเล เช่น ปลาแดดเดียว ปลาหวาน ปลาหมึกแห้ง หอยเสียบดอง ล้วนเป็นวิธีภูมิปัญญาชาวบ้าน เพื่อยืดอายุอาหารให้ไม่เสีย และยังเป็นของหลักที่ใครมาบางแสนในปัจจุบัน

4,259 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในกรุงเทพมหานคร