คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

เว็บบอร์ด

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   เว็บบอร์ด
  4.    >   คลองภาษี(ฝิ่น)เจริญ

คลองภาษี(ฝิ่น)เจริญ

17 มิถุนายน 2560

ชื่นชอบ 6

1,652 ผู้เข้าชม

8

แบ่งปัน
คลองภาษีเจริญเป็นคลองขนานกับถนนเพชรเกษม ถ้าพิจารณาตามหลักภูมินามวิทยาจัดเป็นภูมินามประเภท ตั้งชื่อตามเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์  ซึ่งตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่าคลองภาษีเจริญขุดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขนส่งสินค้าเป็นหลัก ทั้งนี้สืบเนื่องจากข้อกำหนดในสนธิสัญญาบาวริ่งส่วนที่เกี่ยวกับการค้า ซึ่งไทยยอมให้มีการซื้อขายข้าวส่งออกต่างประเทศ แต่ภาวะการค้าข้าวก็ยังไม่ดีขึ้นในทันที ต่างจากการค้าน้ำตาลซึ่งได้ผลดีกว่าสินค้าประเภทอื่น ๆ เพราะเป็นสินค้าที่ชาวตะวันตกต้องการมาก และส่งผลกำไรให้มากด้วย ช่วงที่ภาวะการค้าน้ำตาลของไทยเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดช่วงหนึ่ง คือ ช่วงปี พ.ศ. 2393—2410 ดังจะเห็นได้จากจำนวนโรงงานน้ำตาลริมแม่น้ำนครชัยศรี ซึ่งมีมากถึง 23 แห่ง ในปี พ.ศ. 2408 และพื้นที่ปลูกอ้อยที่มีมากที่สุดในช่วงนั้นก็คือ นครชัยศรี ซึ่งแสดงให้เห็นว่านครชัยศรีเป็นแหล่งผลิตน้ำตาลที่สำคัญ ดังนั้นในภาวะการณ์ดังกล่าวจึงทำให้ไทยกระตือรือร้นที่จะส่งเสริมการค้าน้ำตาลและอำนวยความสะดวกในการขนส่งให้เป็นไปด้วยความรวดเร็ว โดยมีการขุดคลองเจดีย์บูชา คลองภาษีเจริญและคลองดำเนินสะดวก เพื่อให้สามารถลำเลียงน้ำตาลจากแหล่งผลิตมาสู่ตลาดได้อย่างสะดวก

ต้นคลองภาษีเจริญฝั่งวัดปากน้ำ

          สำหรับคลองภาษีเจริญนั้น เมื่อ พ.ศ.2408 พระภาษีสมบัติบริบูรณ์* (ยิ้ม) ซึ่งเป็นเจ้าภาษีฝิ่น และโรงจักรหีบอ้อยอยู่ที่บ้านดอนไก่ดี (ดอนกะฎี) ริมแม่น้ำนครชัยศรี แขวงเมืองสมุทรสาคร ได้กราบบังคมทูลขอให้มีการขุดคลองนี้ขึ้น จากบ้านดอนไก่ดีมาออกคลองบางกอกใหญ่ ริมวัดปากน้ำ เพื่อให้การขนส่งน้ำตาลในบริเวณนั้นมายังกรุงเทพ ฯ ได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริเห็นด้วย แต่เนื่องจากในปีนั้นต้องเลิกอากรสวนใหญ่ และภาษีข้าวก็เก็บไม่ได้ พระราชทรัพย์หลวงที่จะจ่าย
ออกมาเป็นทุนอย่างการขุดคลองอื่น ๆ จะไม่พอ พระภาษีสมบัติบริบูรณ์จึงได้กราบบังคมทูลต่อไปว่า เมืองอื่น ๆ เขาขุดคลองไม่ต้องเอาเงินแผ่นดินใช้เป็นแต่เขาเรี่ยไรกัน ถ้าไม่พอเขา จึงขออำนาจแผ่นดินช่วยและได้ถวายความเห็นเป็น 2 อย่างคือ
                   1. เก็บเงินจากเรือแพที่เดินเข้าออก
                   2. ตั้งโรงหวยที่เมืองนครไชยศรี และเมืองสมุทรสาคร 3 ปี เพื่อเอาเงินมาเป็นค่าจ้างขุด



          ในที่สุดพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าอยู่หัวก็โปรดเกล้าให้พระภาษีสมบัติบริบูรณ์ (ยิ้ม) เจ้าภาษีฝิ่น เป็นแม่กองขุดคลองสายนี้เมื่อปีขาล พ.ศ.2409 (เจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ  บุนนาค) และทรงเห็นว่าการขุดคลองเพื่อเก็บเงินคืนคงไม่ได้เท่าไร จึงโปรดเกล้า ฯ ให้หักเงินภาษีฝิ่นกันเป็นส่วนที่พระภาษีสมบัติบริบูรณ์จะต้องส่งคลัง พระราชทานเป็นค่าจ้างในการขุดคลองเป็นเงิน 112,000 บาท  โดยกะแผนที่คราวเดียวกับคลองดำเนินสะดวก (พ.ศ.2409) แต่ลงมือขุดคลองดำเนินสะดวกก่อนขุดคลองภาษีเจริญที่หลัง  ในประชุมพงศาวดารภาคที่ 25  บันทึกปีที่ขุดคลองภาษีเจริญว่าเป็นปี พ.ศ. 2410 ต่างจากในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 4 ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิดี(ขำ  บุนนาค) อยู่ 1 ปี ดังความในประชุมพงศาวดารตอนหนึ่งว่า
             “เมื่อปีเถาะ พ.ศ.2410 โปรด ฯ ให้พระภาษีสมบัติบริบูรณ์ (ยิ้ม) เจ้าภาษีฝิ่นเป็นแม่กอง ขุดคลองกว้าง 7 วา ลึก 5 ศอก แต่คลอง บางกอกใหญ่ในกรุงเทพ ฯ ที่ริมวัดปากน้ำไปออกแม่น้ำนครชัยศรี ที่ตำบล ดอนไก่ดี เป็นระยะทาง 620 เส้น หักเงินภาษีฝิ่นพระราชทานเป็นค่าจ้าง ขุดคลอง 112,000 บาท พระราชทานนามว่า “คลองภาษีเจริญ…”

ประตูน้ำคลองภาษีเจริญฝั่งกระทุ่มแบน 

ลุงเจริญ เจริญทรง ชายไร้บ้านผู้ใช้ชีวิต อยู่ในคลองภาษีเจริญ 

ปลายคลองภาษีเจริญที่ติดกับแม่น้ำท่าจีน 

ข้อมูลจาก https://sites.google.com

วันที่สร้าง : 15 กันยายน 2560

8

แบ่งปัน
สร้างโดย