คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

นางนอง นองน้ำตา

บางนางนอง ในเส้นทางคลองด่าน คลองประวัติศาสตร์

 

ก็มืดค่ำอำลาทิพาวาส

เลยลีลาศล่วงทางกลางวิถี

ถึงวัดบางนางนองแม้นน้องมี

มาถึงที่ก็จะต้องนองน้ำตา

 

อาการนองน้ำตาข้างต้นไม่ใช่ของใครที่ไหน แต่มาจากท่านมหากวีสุนทรภู่ นักเดินทางที่ฝากนิราศหวานซึ้งถึงหญิงสาวที่รัก (หรือไม่รักก็ไม่ยักรู้ได้) โดยมักจะผูกโยงกับสถานที่ต่างๆ  หนึ่งในนั้นก็คือ นิราศเมืองเพชรที่แต่งขึ้นสมัยรัชกาลที่ 3 ระหว่างที่ผ่านวัดนางนองวรวิหาร ที่ในปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร 

อันที่จริงสุนทรภู่ไม่ใช่คนแรกที่กระทำการนองน้ำตาแถวๆ บางนางนอง หรือ วัดนางนองนี้นะครับ เพราะตามหลักฐานบริเวณนี้มีกวีแวะมานองกันหลายยุคหลายสมัย

เริ่มจากที่เก่าแก่สุดอยู่ในโคลงกำสรวลสมุทร วรรณกรรมยุคต้นอยุธยาที่กล่าวถึงการเดินทางจากอยุธยาทางเรือเพื่อจะลงใต้ วรรคหนึ่งในนั้นกล่าวถึงย่านนี้ว่า “นองชลเนตร”  

ต่อด้วย “นางนองเหมือนพี่นองชลนา ใน กลอนเพลงยาวนิราศเรื่องรบพม่าที่ท่าดินแดง พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 เมื่อครั้งเสด็จยกกองทัพไปรบในสงครามเก้าทัพ

และหลังจากนั้นกวียุคต้นรัตนโกสินทร์คนอื่นๆ ก็กล่าวถึงการนองที่ว่านี้ ไม่ว่าจะเป็น “นองท่านางนองสนาน” ของพระยาตรัง  หรือ “นางนองชลน่านไล้” ของ นรินทร์อิน

จะเห็นได้ว่ากวีทุกยุคสมัยที่ผ่านนางนอง ต้องครวญคร่ำโวหารกวีคล้ายๆ กัน ซึ่งหมายถึงที่มาของชื่อ “นางนอง” คงมาจากสภาพภูมิประเทศที่ลุ่มน้ำท่วมถึง ประกอบการคลองหลากสาขา จึงเป็นสิ่งที่ยุ่งยากในการคมนาคม

ก่อนอื่นต้องบอกว่าย่านนี้ถือว่าเป็นย่านข้าหลวงเดิมของรัชกาลที่ 3 ซึ่งประกอบด้วยวัดสำคัญคือ วัดนางนอง วัดราชโอรส และวัดหนัง ซึ่งล้วนแล้วเป็นวัดเก่าแก่แต่ครั้งอยุธยา อีกทั้งในการบูรณะยังเกี่ยวข้องกับรัชกาลที่ 3 ทั้งสิ้น 

ผู้อ่านอาจจะสงสัยว่าเพราะอะไรใครๆ ถึงต้องผ่านย่านนี้?

เหตุมาจากวัดนางนอง อยู่ในเส้นทางคลองด่าน คลองสายสำคัญที่เชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยาจากคลองบางกอกใหญ่ถึงแม่น้ำท่าจีนที่สมุทรสาคร และสามารถออกไปชายทะเลได้ 

เส้นทางนี้เป็นใช้หลบลมมรสุม ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมเก่าแก่มาอย่างยาวนาน จึงถูกใช้เป็นทางผ่านของทั้งพระเจ้าตากเสด็จไปศึกบางกุ้งที่ราชบุรี และรัชกาลที่ 1 เสด็จไปรับศึกไปพม่าที่กาญจนบุรี (รบพม่าท่าดินแดง) เป็นต้น

 

จะเห็นได้ว่าแม่น้ำลำคลองชื่อบ้านนามเมืองก็มีเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์ไม่แพ้ความงามด้านศิลปกรรม ซึ่งล้วนแล้วเป็นประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่ไหลเวียนหลบซ่อนควรค่าแก่การบอกเล่าสืบไป

อ้างอิงจาก : สุจิตต์ วงษ์เทศ. แม่น้ำลำคลองสายประวัติศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : มติชน, 2544.

 

4,240 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในกรุงเทพมหานคร