คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

บ้านหลวง จ.เชียงใหม่

สืบสานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สู่การพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน

“บ้านหลวง” หมู่ที่ 6 ตำบลโหล่งขอด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดเชียงใหม่ อยู่ทางทิศใต้ของอำเภอพร้าว สมัยก่อนใช้เป็นเส้นทางผ่านไปยังจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดเชียงรายทางบ้านแม่ขะจาน และตำบลแม่เจดีย์ อำเภอเวียงป่าเป้า เป็นหมู่บ้านที่มีขนาดใหญ่ มีอาณาเขตทั้งหมดรวมถึงพื้นที่ในการเพาะปลูกทางการเกษตรกว้างขวางที่สุดในตำบลเดียวกัน ตลอดจนมีประชากรมากสุดเช่นกัน ลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ราบระหว่างหุบเขา และบางส่วนเป็นภูเขา และป่าไม้ในเขตอุทยานแห่งชาติ มีแม่น้ำไหลผ่านเหมาะแก่การอยู่อาศัยและการเพาะปลูก และมีแม่น้ำสายหลักไหลผ่าน คือ แม่น้ำแม่ตายละ และลำห้วยต่าง ๆ ไหลผ่านครอบคลุมพื้นที่ทั่วทุกทิศ กล่าวคือ ด้านทิศใต้ มีห้วยป่าลัน ,ห้วยเติม ,ห้วยเฮี้ยะ  ด้านทิศตะวันออก มีแม่น้ำขอด ด้านทิศตะวันตก  มีห้วยป่าไร่ ,ห้วยเคี่ยน ,ห้วยปู่เยือง ,ห้วยบะกิ้ง ,ห้วยเฮี้ยะ ,ห้วยหก ยกเว้นแต่เพียงทิศเหนือเท่านั้นที่ไม่มีลำห้วยไหลผ่าน ด้วยบริบทของสภาพพื้นที่ที่เป็นพื้นที่ราบลุ่มระหว่างหุบเขาและบางส่วนเป็นภูเขา และมีทรัพยากรน้ำที่อุดมสมบูรณ์ตลอดทั้งปี จึงอาจกล่าวได้ว่า บ้านหลวง เป็นหมู่บ้านที่มีทั้งทรัพยากรดิน น้ำ และป่าไม้ที่มีความอุดมสมบูรณ์ ประชาชนในบ้านหลวงจึงประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยทำการปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่  ข้าว  ข้าวโพด  มันฝรั่ง  มะม่วง  และลำไย  นอกจากนี้ยังเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ ไก่ หมู ปลา วัว และควาย  ส่วนอาชีพรองลงมา คือ ค้าขาย  และรับจ้าง ในรอบหนึ่งปีพื้นดินที่บ้านหลวงไม่ได้ว่างเว้นจากการทำเกษตรกรรมเลย จนประชาชนในบ้านหลวงต่างเล่าขานกันว่า “แผ่นดินบ้านหลวงเป็นแผ่นดินร้องไห้” โดยเริ่มจากการเพาะปลูกข้าวและเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงพฤศจิกายน ต่อมาก็ปลูกมันฝรั่ง ช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงมีนาคม และปลูกข้าวโพด ช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤศจิกายน ส่วนเกษตรกรที่ไม่มีที่สวนไร่นาของตนเองก็จะมีการตกลงเช่ายืมพื้นที่ทำกินกับเกษตรกรรายอื่น ๆ หรือโดยกรณีอื่นใด เพื่อให้ได้มาซึ่งโอกาสในการลงทุน แต่บางรายก็เลือกที่จะปลูกพืชชนิดอื่นที่แตกต่าง เช่น พืชตระกูลถั่ว กระเทียม ดอกกระเจียว ยาสูบ กะหล่ำปลี เป็นต้น

ด้วยลักษณะภูมิศาสตร์ของบ้านหลวง และการมีส่วนร่วมของประชาชนจึงก่อให้เกิดเป็นพลังชุมชนในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ภายในหมู่บ้าน เช่น ศูนย์การเรียนรู้เดินตามรอยเท้าพ่อ การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2556 ได้ทำการก่อสร้างศาลาการเรียนรู้การอนุรักษ์ป่าไม้และสิ่งแวดล้อมในชุมชน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2551 มีพิธีสืบชะตาแม่น้ำ อันเนื่องจากพื้นที่บริเวณนี้มีปริมาณน้ำไม่เพียงพอเป็นสาเหตุให้ต้นไม้ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ดี  ต่อมาปี พ.ศ. 2554  ท่าน ดร. พระครูวรวรรณวิวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดบ้านหลวง ได้มอบหมายให้ ด.ต.สมชาย ปันทะสาย ปราชญ์ชุมชนที่มีความสนใจในการอนุรักษ์ป่าไม้และสิ่งแวดล้อมในชุมชนหาพันธุ์ไม้ที่หายากในป่าใกล้หมู่บ้าน จำนวน 60 – 70 ต้น เช่น ไม้ตะเคียน ไม้ประดู่ ต้นยางนา เป็นต้น เพื่อนำมาปลูกในบริเวณดังกล่าวที่จะช่วยสร้างความชุ่มชื้นให้แก่สภาพพื้นที่ โดยใช้หลักภูมิสังคม กล่าวคือ การปล่อยให้ต้นไม้เจริญเติบโตตามธรรมชาติตามลักษณะภูมิศาสตร์ และอาศัยน้ำจากลำห้วยช่วยหล่อเลี้ยงให้เจริญเติบโต นอกจากนี้บ้านหลวงยังมีศูนย์การเรียนรู้เกษตรผสมผสานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2559 ประชาชนในบ้านหลวงได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่นำร่อง โดยมีนายสมศักดิ์ พลหาญ เป็นเจ้าของสวนและได้พัฒนาพื้นที่ในการเลี้ยงปลานิล การเลี้ยงกบนา การเลี้ยงไก่ไข่ และการเลี้ยงไก่ประดู่หางดำ โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ ให้ประชาชนได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การประกอบอาชีพเกษตรกรรมและการเลี้ยงสัตว์อันเป็นการช่วยลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และใช้ชีวิตอย่างพอเพียง

จากรากฐานการเป็นหมู่บ้านเกษตรกรรมและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาหมู่บ้านจึงส่งผลให้บ้านหลวงได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดโครงการ “หมู่บ้านตัวอย่างตามรอยเท้าพ่อ” ประเภทโครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ ประจำปีงบประมาณ 2558 เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558 โดยผู้นำหมู่บ้านได้เข้ารับมอบโล่ห์รางวัลจาก พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ได้รับรางวัลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง "อยู่เย็น เป็นสุข" ดีเด่นระดับจังหวัด และนายยงยุทธ ศรีออน ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 6 ตำบลโหล่งขอด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับรางวัลผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน (ผู้นำ อช.) ดีเด่น ภายใต้โครงการเชิดชูเกียรติผู้นำเครือขายพัฒนาชุมชนดีเด่น มหกรรมรวมพลังคนดีแห่งแผ่นดิน ประจำปี พ.ศ. 2560 ดังนั้น บ้านหลวง หมู่ที่ 6 ตำบลโหล่งขอด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ จึงเป็นหมู่บ้านต้นแบบในการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต โดยอาศัยหลักความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันในตัวเองที่ดี และใช้เงื่อนไขความรู้ และคุณธรรมในการดำเนินชีวิต จึงทำให้ประชาชนในบ้านหลวงสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน

4,098 views

1

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดเชียงใหม่