คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

เรื่องเล่า วัดท้ายยอ

เรื่องเล่า “วัดท้ายยอ"

ดิฉันได้ยินเรื่องราวของวัดท้ายยอจากใครก็มิอาจจำได้ แล้วก็มีโอกาสแวะเวียนไปชื่นชมอยู่หลายครั้ง นับแต่ยังไม่มีการบูรณะ รูปทรง สีสัน

ร่องรอยความเก่าคร่ำคร่าผุผังยังอวดตัวแฝงอยู่ในความงามอันขรึมขลังสะกดสายตา

 

"เกาะยอ" เป็นอีกจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดสงขลา

"วัดท้ายยอ" อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวทางศาสนา และยังเป็นวัดเก่าแก่ของตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกค่อนไปทางทิศใต้ของเกาะยอ เป็นวัดที่ได้รับการประกาศให้เป็นวัดเมื่อปี พ.ศ.2311

 

วัดท้ายยอ ในประวัติบ่งบอกไว้ว่าเป็น วัดแรก บนเกาะยอ สร้างเมื่อปี พ.ศ.2311 ภายในวัดยังมีสถานที่น่าสนใจอื่น ๆ เช่น กุฏิเรือนไทย อายุกว่า 200 ปี

หลังคามุงกระเบื้องดินเผาเกาะยอ และกระเบื้องลอนแบบเดิม เป็นกุฏิที่สร้างขึ้นตามหลัก "มาตราสูตร" ซึ่งว่าด้วยสูตรการคำนวณจากรูปร่างของเจ้าของเรือน

และ "มงคลสูตร" เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่เจ้าของเรือน โดยทางวัดเคยคิดที่จะหาผู้สนใจมาขยายผลถอดองค์ความรู้ในการสร้างเรือนที่มีหลักการและแนวทาง

ที่น่าสนใจแต่ก็ติดขัดว่าไม่มีใครมาเป็นผู้นำรับช่วงต่อ

 

"กุฎิเจ้าอาวาส" เป็นเรือนไทยปักษ์ใต้ที่ถึงพร้อม "มงคลสูตร" และ "มาตราสูตร" ด้านหน้าหันออกสู่ทะเลสาบสงขลา มีลานกว้าง

ด้านหลังเป็นเขาเรียกว่า เขาเพหาร อันหมายถึง "วิหาร" นั่นเอง ลักษณะเด่นของกุฏิ คือ เป็นเรือนหมู่ 3 หลัง

เรียกตามลักษณะมงคลสูตรว่า "แบบพ่อแม่พาลูก" หากเป็นแบบ 2 หลัง เรียกว่า ดาวเคียงเดือน

 

 

ประวัติสร้างวัดไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน (ความจริงสร้างเมื่อปี พ.ศ.2311) สมาคมสถาปนิกสยามสันนิษฐานว่า น่าจะสร้างในช่วงรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

เนื่องจากการใช้วัสดุกระเบื้องเกาะยอ เริ่มทำขึ้นโดยชาวจีนและนิยมกันแพร่หลายในสมัยนั้น หรืออาจจะสร้างในช่วงรัชกาลที่ 4 ที่เปลี่ยนมาเป็นวัดธรรมยุตินิกาย

ร่วมสมัยกับเจดีย์บนเขาพิหารซึ่งเป็นเจดีย์ทรงลังกา ศิลปะร่วมสมัยในช่วงรัชกาลที่ 4

 

 

การสร้างกุฏิตามหลัก "เรือนสูตร" หรือ "สูตรเรือน" ที่ถูกต้องตามหลักมงคลสูตรและมาตราสูตร นิยมสร้างเฉพาะอาคารหรือบ้านเรือนของผู้มีฐานะและมีอำนาจ

ในอดีต ผู้นำท้องถิ่นด้านฆราวาส คือ กำนัน ส่วนด้านบรรพชิต ก็คือ เจ้าอาวาส ในละแวกนั้น การสร้างกุฎิจึงนิยมสร้างเฉพาะกลุ่ม คนธรรมดาไม่นิยมสร้างบ้านแบบนี้

คำว่า "เรือนสูตร" หรือ "สูตรเรือน" และ "มงคลสูตร" ผู้รู้ ได้อธิบายไว้ว่า คนโบราณเชื่อว่าในการสร้างอาคารบ้านเรือน โดยมี 2 สาย คือ

สายสัมมาทิฎฐิ เช่น การสร้างบ้านอยู่อาศัย สร้างศาลา สร้างกุฎิ จะออกจั่วก่อน หมายถึง จะเริ่มด้วยการสร้างจั่วก่อนส่วนอื่น จึงน่าจะสอดรับกับภาษิตที่ว่า "รักดีแบกจั่ว"

สายมิจฉาทิฏฐิ เช่น การสร้างโรงเรือน เตาเผาสุรา โรงบ่อนการพนัน จะออกเสาก่อน คือ เริ่มต้นด้วยการขุดหลุมลงเสาก่อน ซึ่งสอดรับภาษิตที่ว่า "รักชั่วหามเสา"

ด้วยเชื่อว่าจะมีความหนักแน่นในกิจการ

 

ในทางมงคลสูตร ยังมีเกี่ยวข้องกับการกำหนด วัน เดือน ปี และเวลาในการหาฤกษ์ยามที่เป็นมงคล และความเป็นสิริมงคลอื่น ๆ เช่น รวย มิ่ง เจริญ มาเป็นส่วนร่วมในการยกเสา

การสวดมนต์เซ่นไหว้พระภูมิเจ้าที่ การหันหน้าบ้านไปยังทิศมงคล การสร้างบ้านให้อยู่ในลักขณา "ลอยหวัน" ไม่สร้างเป็น "ขวางหวัน"

คือ รัศมีขององค์พระทรงศร(แสงอาทิตย์) เชื่อว่าเป็นมงคล คำว่า "ขวาง" ก็ให้ความหมายในทาง "ขัดขวาง" ฟังแล้วก็ไม่เป็นมงคล

ด้านมงคลสูตรได้กำหนด แม้กระทั่งการเลือกไม้หรือวัสดุมาใช้ เช่น ไม้กอ มาสร้างเป็นเสาบ้าน ความหมายคือ จะแตกเป็นกอกอ ออกลูกหลานก่อนให้เกิดสิ่งดี ๆ สู่บ้าน

ใช้ "ไม้นาคบุก" มาทำเป็นบันได ด้วยมีเสียงคำว่า นาค ที่พ้องกัน และใช้ "ไม้กลิ่นหอมชื่นใจ" เปรียบเสมือนการต้อนรับเข้าสู่ตัวบ้านด้วยความชุ่มชื่นใจ

 

สำหรับกระเบื้องดินเผาหรืออิฐเผา ที่นำมาสร้างกุฎิ ช่างจะกำหนดให้คุณภาพดีเลิศ จนมีคำกล่าวยืนยันว่า "ทิ้งทำหม้อ เกาะยอทำอ่าง หัวเขาดักโพงพาง

บ่อยางทำเคย บ่อเตยทำได้" ดังนั้น ในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่มีการบูรณะพระวิหารพระธาตุไชยา จึงกำหนดให้ใช้กระเบื้องจากเกาะยอ จังหวัดสงขลา เป็นต้น

ทั้งหมดนี้ล้วนแต่กำหนดเป็นมงคลสูตร คือ "สูตรแห่งการเกิดมงคล" ในการสร้างอาคารบ้านเรือนเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ผู้อยู่อาศัยทั้งสิ้น

 

นอกจากนั้นวัดท้ายยอ ยังมีโบราณสถานและโบราณวัตถุที่ควรค่าแก่การศึกษาและเรียนรู้ อาทิ บ่อน้ำโบราณ สระน้ำโบราณ โรงเรือพระ สถูป หอระฆัง

และมีร่องรอยของท่าเรือโบราณ ซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมของชาวเกาะยอ ด้านหลังของวัดเป็นที่ตั้งของ เขาเพหารหรือเขาวิหาร

ซึ่งประดิษฐานเจดีย์ทรงลังกาที่งดงาม

 

 

จัดทำโดย: นางสาวปัณฑิตา พงศ์อักษร

สาขาการประกอบการและการจัดการ คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ

มหาวิยาลัยทักษิณสงขลา

6,242 views

3

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดสงขลา