คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

CORAZEMA

โคราชสีมา?: 343 ปีเมืองนครราชสีมา พ.ศ.2217-2560 เมืองใหญ่อันเป็นขอบขัณฑสีมาแห่งพระราชอาณาจักร

ภาพแรกปกหนังสือ A new historical relation of the kingdom of Siam

แต่งโดย La Loubère, Simon de, 1642-1729 มีอายุเก่าแก่ 375 ปี

ภาพที่สอง เมืองนครราชสีมาที่ปรากฎในหนังสือของลาร์ลูแบร์

ภาพจาก

-Cornell University Library-

โคราชมาจากไหน?[1]

            โคราชหรือนครราชสีมา[2] เมืองเก่าแก่ของอีสานมีอายุมากถึง 1,000 ปี จากการขุดค้นแหล่งโบราณคดีสะท้อนให้เห็นการก่อตัวของชุมชนโบราณ และการเคลื่อนที่ของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และสมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น พื้นที่โคราชในปัจจุบันทับซ้อนด้วยหลายวัฒนธรรมที่เกิดจากการประทะประสานกัน อาทิเช่นวัฒนธรรมทวารวดี วัฒนธรรมขอม วัฒนธรรมลาว และวัฒนธรรมไทย โคราชจึงเป็นเมืองที่มีความหลากมิติมากในเชิงประวัติศาสตร์วัฒนธรรม คำว่า นครราช หมายถึงเมืองอันยิ่งใหญ่ ส่วนคำว่า สีมา กร่อนมาจากคำว่า เสมา ซึ่งมีความหมายว่า อาณาเขต ราชอาณาเขต ขอบเขต หรือขัณฑสีมา มีความหมายโดยรวมว่า “เมืองใหญ่อันเป็นขอบขัณฑสีมาแห่งพระราชอาณาจักร”

            ก่อน พ.ศ.2000 โคราชเคยเป็นเมืองที่มีประชากรมากในวัฒนธรรมขอม เมืองพิมาย เป็นเมืองหน้าด่านของขอมพระนคร จนกระทั่งเริ่มเสื่อมอำนาจในพุทธศตวรรษที่ 19 การผงาดขึ้นของอยุธยา ได้ทำให้เมืองในปริมณฑลลุ่มน้ำเจ้าพระยาขยายอำนาจได้กว้างขวางขึ้น ชาติพันธุ์ดั้งเดิมในโคราชคือ กลุ่มชาวพื้นเมืองตระกูลมอญ-ขแมร์ ประมาณพุทธศตวรรษที่ 22-23 พระนารายณ์กษัตริย์อยุธยามีพระราชบัญชาให้นายช่างวิศกรฝรั่งเศสคุมการก่อสร้างเมืองป้อมปราการขนาดใหญ่ทางทิศตะวันออกของเมืองละโว้โบราณ ซึ่งพระองค์ได้แปรพระราชฐานจากพระราชวังหลวงอยุธยามาประทับที่พระนารายณ์ราชนิเวศน์ เมืองลพบุรี หลักฐานของชาวฝรั่งเศสในสมัยพระนารายณ์ คือ มองซิเออร์ เดอร์ ลาร์ลูแบร์ เผยให้เห็นในแผนที่พระราชอาณาจักรอยุธยาว่าหนึ่งในนั้นมีเมือง “โคราช” ปรากฏอยู่ด้วย

            เมืองโบราณสำคัญในนครราชสีมาคือ เมืองพิมาย อยู่บริเวณลุ่มน้ำมูล และเมืองเสมา อยู่ในบริเวณลุ่มน้ำลำตะคอง ในการก่อสร้างเมืองใหม่ของอยุธยา พระนารายณ์โปรดให้สร้างเมืองมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยม รูปกลองชัยเภรี กว้างประมาณ 1,000 เมตร ความยาวประมาณ 1,700 เมตร มีพื้นที่ภายในประมาณ 1,000 ไร่ และมีคูเมืองกว้าง 20 เมตร ลึก 6 เมตร ล้อมรอบเมือง มีระบบถนนภายใน ตัดเป็นตารางหมากรุก และโปรดให้สร้างกำแพงเมืองด้วยศิลาแลงมีความสูง 6 เมตร ยาวรอบเมือง 5,200 เมตร มีการประดับใบเสมาตามแนวกำแพงมากกว่า 4,000 ใบ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าพระองค์มีพระราชประสงค์ให้สร้างเมืองเพื่อเป็นฐานอำนาจของพระองค์และเพื่อป้องกันการรุกรานของขอมทางฝั่งตะวันออกด้วย

            ทว่าการก่อสร้างเมืองได้ออกแบบใบเสมาให้มีรูปร่างตามแบบฝรั่ง และปรากฏว่า พระยายมราช สังข์ เจ้าเมืองนครราชสีมาได้สั่งให้มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะของใบเสมาให้เป็นแบบไทย สร้างป้อมประจำกำแพงเมือง และตามมุมกำแพงมากถึง 15 ป้อม มีประตูเมืองกว้าง 3 เมตร ทั้งหมด 4 มุมเมือง ซึ่งประกอบไปด้วยประตูชุมพล, ประตูพลแสน, ประตูพลล้าน และประตูไชยณรงค์

            หลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พ.ศ.2310 เมืองนครราชสีมาเป็นฐานที่มั่นสำคัญของชุมนุมชนชั้นนำอยุธยาที่ลี้ภัยสงครามจนะกระทั่งพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ปราบปรามและรวมแผ่นดินอีกครั้งในปีเดียวกัน นครราชสีมาขึ้นตรงกับราชสำนักใหม่ระหว่าง พ.ศ.2310-2325 ในช่วงเวลานี้ โคราชดำรงฐานะเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญของราชสำนักธนบุรี มีหน้าที่ควบคุมความมั่นคง ความสงบเรียบร้อยของหัวเมืองเขมรป่าดง ในช่วงเวลานี้โคราชทำหน้าที่เสมือนกับเป็นตัวแทนการสื่อสารระหว่างชนชาวลาวที่อพยพมาตั้งรกรากในอีสานและขอสวามิภักดิ์กับพระเจ้ากรุงธนบุรี

            ในช่วงสงครามปี พ.ศ.2318-2321 โคราชทำหน้าที่เป็นฐานการประชุมพลของกองทัพจากธนบุรีซึ่งต้องรวบรวมทัพและเสบียงอาหารเพื่อเดินทัพเข้าตีเมืองนางรอง เมืองจำปาศักดิ์ และนครเวียงจันทน์ ภายหลังจากสมัยรัชกาลที่ 1 ได้เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์ระหว่าง พ.ศ.2369-2371 ในช่วงเวลานี้โคราชบอบช้ำจากพิษสงคราม กำแพงเมือง บ้านเรือนราษฎร ถูกทำลายจนพินาศเนื่องจากเจ้าอนุวงศ์เดินทัพเข้ายึดเมืองและกวาดต้อนครัวลาวกลับเวียงจันทน์

       ภายหลังการสร้างเมืองนครราชสีมาในสมัยพระนารายณ์ มีเจ้าเมืองปกครองดังต่อไปนี้[3]

  1. เจ้าพระยายมราช สังข์ ผู้สำเร็จราชการเมืองนครราชสีมา สมัยอยุธยา
  2. พระยากำแหงสงคราม
  3. เจ้าพระยานครราชสีมา ปิ่น ณ ราชสีมา
  4. พระยานครราชสีมา เที่ยง ณ ราชสีมา
  5. เจ้าพระยานครราชสีมา ทองอินทร์ ณ ราชสีมา
  6. พระพรหมบริรักษ์ สิงหเสนี
  7. พระยากำแหงสงคราม เมฆ ณ ราชสีมา
  8. พระยากำแหงสงคราม กาด สิงหเสนี
  9. พระยากำแหงสงคราม จัน ณ ราชสีมา ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลนครราชสีมา

            โคราชมีความสำคัญต่อราชสำนักสยามมาเป็นเวลายาวนานถึง 259 ปี (พ.ศ.2217-2476) และยังสำคัญมาจนถึงปัจจุบันในฐานะที่เป็นประตูทางเข้าสู่อีสาน โคราชในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้พัฒนาเจริญก้าวหน้ามากขึ้นในฐานะที่เป็นชุมทางรถไฟแห่งแรกของอีสาน มีการพัฒนาระบบโทรเลขไปรษณีย์ ระบบการคมนาคม ระบบการศึกษาซึ่งล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงแก่สังคมชาวโคราช ในสมัยรัชกาลที่ 6-7 ได้มีการปรับปรุงระบบมณฑลและขยายเส้นทางเดินรถไฟจากอีสานใต้ขึ้นสู่อีสานตอนเหนือสำเร็จ ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 และการก่อกบฏของพระองค์เจ้าบวรเดชในปี พ.ศ.2476 ทำให้รัฐบาลต้องปราบปรามกลุ่มขุนนางอนุรักษ์นิยมให้ราบคาบลง นับแต่นั้นมาสถานะความสำคัญของโคราชก็ลดลงมา อย่างไรก็ตามในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โคราชกลับมาสำคัญอีกครั้งจากการเข้ามามีบทบาทของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่ให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้เจริญก้าวหน้า เกิดการสร้างถนนมิตรภาพเชื่อมอีสานเหนือ นอกจากนี้รัฐบาลยังใช้โคราชเป็นที่ตั้งฐานทัพทางทหารที่เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของอีสาน

            ปัจจุบันโคราชกลายเป็นชุมทางเข้าออกสู่อีสานจากที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา มีสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมเป็นจำนวนมาก มีป่าไม้ และทัศนียภาพทางธรรมชาติที่งดงาม นอกจากนี้ยังเป็นแลนมาร์คสำหรับการลงทุนทางเศรษฐกิจที่สำคัญของอีสานด้วย ทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้หากปราศจากบริบททางภูมิรัฐศาสตร์ที่เกื้อหนุนให้โคราชกลายเป็นพื้นที่ที่มีชัยภูมิเหมาะสมแก่การตั้งเมืองปราการและสั่งสมวัฒนธรรมให้มีความเจริญก้าวหน้า ปัจจุบันโคราชคือมหานครที่เติบโตทางเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา มาก หากพิจารณาจากจำนวนประชากรในเขตเทศบาลนครแล้วถือว่ากินขาดเนื่องจากโคราชมีประชากรที่หนาแน่นที่สุดในอีสาน

            หากเราเดินทางจากสระบุรีเข้าสู่โคราช พลาดไม่ได้เลยที่จะต้องมาสักการะท้าวสุรีนารี หรือเที่ยวเขาใหญ่ ชมวัดสำคัญ ๆ ในเมือง เที่ยวเขื่อนลำตะคอง ขึ้นชมวิวที่เขายายเที่ยง หรือไปเที่ยวปราสาทพิมาย พูดสำเนียงเหน่อ กินข้าวเจ้า กินตำโคราช ตำปูปลาร้า ตำซั่ว ตำมั่วเลิศรส หากใครเฟ้นหาแหล่งท่องเที่ยวแบบแบกเป้ตะลุยเดี่ยวหรือไปยกแก๊ง หรือไปทั้งครอบครัว ขอแนะนำว่าโคราชคือแลนด์มาร์คที่เหมาะสมมาก เพราะเที่ยวได้ทุกฤดูกาล อาหารการกินสมบูรณ์ โคราชนี่คือที่สุดของ Amazing Esan เลยนะจะบอกให้ (เหน่อ)

 

[1] พีรภัทร ห้าวเหิม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

[2] ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน จดหมายเหตุมณฑลนครราชสีมา พ.ศ.2467 และ พวงไข่มุก คนารัตนพฤกษ์. "ความสำคัญของเมืองนครราชสีมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2411-2453)". (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521)

[3] กรมศิลปากร, จดหมายเหตุนครราชสีมา 11 กันยายน พ.ศ.2497, พิมพ์สนองคุณ เจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น ณ ราชสีมา) และ เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินท์ ณ ราชสีมา), กรุงเทพฯ: ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ม.ป.ป.)

ภาพหมุดที่ 86 คือเมือง"โคราชสีมา" หรือ "Curus"จากหลักฐาน Interactive map of the Chao Phraya River from the Gulf of Thailand until Chai Nat by François Valentyn (1666-1727). The map is named Groote Siamse Rievier Me-Nam Of Te Moeder Der Wateren In haren loop met de vallende Spruyten Verbeeld” and part of his work "Oud en Nieuw Oost-Indiën" (1626) - part 3 - Book 6 - Beschryvinge van Siam en onsen Handel aldaar. [http://www.ayutthaya-history.com/Geo_River_InterActiveMap.html]

ภาพแรก แผนที่ราชอาณาจักรอยุธยา และที่ตั้งเมืองนครราชสีมา หรือ โคราชสีมา

ในบันทึกของมองซิเออร์ เดอ ลาร์ลูแบร์ ปี พ.ศ.2236 รัชสมัยพระนารายณ์กษัตริย์อยุธยา

ช่วงเวลานี้ตรงกับ ค.ศ.1693

ภูมิทัศน์ของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และลานหน้าอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (ย่าโม)

5,873 views

1

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดนครราชสีมา