คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

untitled

เรื่องเล่าของเรา...คนไทยเชื้อสายจีน

          เรื่องราวต่อไปนี้เป็นเรื่องราวของคุณยายของผมกับเหตุการณ์ต่างๆที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของเธอในสถานที่แห่งหนึ่ง ซึ่งนั่นก็คือถนนเจริญกรุง ถนนแห่งแรกของสยามประเทศนั่นเอง และนั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องที่ผมจะพูดถึงในวันนี้ ซึ่งถ้าจะถามว่าเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โดยตรงใหม ผมว่าไม่ แต่นี่ก็เป็นเรื่องราวในมุมมองของคนคนหนึ่งซึ่งผ่านเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ต่างๆมาพอสมควรเลยทีเดียว……..

          ยายเป็นลูกคนจีนโพ้นทะเล ยายเล่าให้ฟังเสมอว่าสมัยก่อนนั้นเมืองจีนหากินลำบากมาก ชีวิตชาวบ้านยากจน แร้นแค้น และอดอยาก ทวดทำงานกับเทียดที่เปิดโรงงานผลิตกระดาษอยู่ที่ หมู่บ้านฝอซาน มณฑลกวางตุ้ง ไม่นานกิจการก็ล้มลาย ทวดก็ต้องไปทำงานตามที่ต่างๆ ช่วงนั้นบ้านเมืองอดอยาก ทำมาค้าขายก็ไม่เจริญ ทวดมีพี่น้องอยู่ทั้งหมด 12 คน (ตามประสาคนจีนมีลูกมาก) ทั้ง 12 คนต่างอพยพไปตามที่ต่างๆทั่วโลก หลบหนีออกจากความอดอยาก สิงคโปร์บ้าง อเมริกาบ้าง แคนาดาบ้าง มีเพียงทวดที่อพยพมาไทย

          ช่วงที่ทวดอพยพมานั้นเป็นช่วงที่เกิดสงคราม ยุคข้าวยากหมากแพง ใช้ชีวิตลำบาก ตัวเองก็เสื่อผืนหมอนใบ มาไทยตัวเปล่า เริ่มต้นจากศูนย์อย่างแท้จริง มาครั้งแรกก็เช่าบ้านอยู่ที่เยาวราช ตรงซอยเสือป่า(ปัจจุบันเป็นถนน) บ้านเช่านี่ก็ไม่ใช่เช่าคนเดียวทั้งหลังนะ แต่หลังหนึ่งอยู่กัน 3 ครอบครัว !!! ทวดทำงานเย็บกางเกงชาวเลขาย ซึ่งเป็นกางเกงที่ชาวจีนแถบเยาวราชนิยมใส่ในสมัยนั้น บางครั้งเวลามีคนป่วยที ก็จะติดกันทั้งบ้าน ตั้งเย็บกางเกงไม่ได้หลับได้นอน บางครั้งหลับคาจักรเย็บผ้าเลยก็มี พอหลังจากยายเกิดได้ไม่นาน(เรื่องที่เล่ามาก่อนหน้านี้ ยายยังไม่เกิด) ยายเกิดปี 1946 ซึ่งสงครามพึ่งจบไปได้ไม่ถึงปี บ้านเมืองก็เริ่มดีขึ้น ทุกสิ่งเริ่มพัฒนาก้าวสู่ยุคใหม่ ยายเกิดไม่ทันจอมพล ป. แต่ทวดก็เล่าให้ฟังว่าจอมพล ป. มีนโยบายเปลี่ยนเครื่องแต่งกาย จนทั้งประเพณีต่างๆทั้งหลาย อย่างคนไทยก็ห้ามเคี้ยวหมาก ต้องใส่เสื้อ ต้องมีรองเท้า ต้องสวมหมวกฝรั่ง จะเล่นดนตรีไทย นาฎศิลป์ไทยต้องมีใบอนุญาต นโยบายของคนจีนก็มีทั้งห้ามใส่เกี๊ยะ หรือ ห้ามใส่หมวกงอบแบบจีน ด้วยเหตุผลที่ว่าเพื่อนำไทยสู่ความเป็นอารยะ ตอนยายเด็ก ๆ เวลาจะติดต่อกัน ถามว่ามีไปรษณีย์ใหม มีตะแลปแกป(โทรเลข)ไหม มันมี แต่ก็ไม่ค่อยได้ใช้หรอก เพราะเวลานัดเพื่อน คุยเล่นกัน ก็จะไปหาที่หน้าบ้านเลย สมัยนั้นเวลาจะไปโรงเรียนก็จะมีรถรางกับรถลาก(แบบใช้คน) รถรางมีตัวรถสีเหลือง ป้ายรถรางจะติดธงสีแดง มีที่นั่งแบบมีเบาะกับแบบม้านั่งไม้ แบบมีเบาะ 2 สลึง แบบไม้ 1 สลึง เวลาจะขึ้นรถรางไปโรงเรียนก็ต้องเดินจากบ้านที่เสือป่าไปขึ้นที่ต้นสายที่เรียกว่า “สามแยก” (ปัจจุบันคือแยกหมอมี) รถไฟจะทอดผ่านตามถนนเจริญกรุง ผ่านตลาดน้อย ไปสู่บางรักแล้วก็เดินอีกนิดหน่อยไปที่โรงเรียน โรงเรียนที่ยายเรียนเป็นโรงเรียนจีนกวางตุ้งชื่อกว่างเจ้า ปัจจุบันยังคงเปิดสอนอยู่ หลายท่านอาจไม่เคยได้ยินชื่อกว่างเจ้า แต่คงเคยได้ยินชื่อของเผยอิงแน่ๆ เผยอิงก็เป็นโรงเรียนจีนเหมือนกัน แต่เป็นของจีนแต้จิ๋ว ซึ่งคนไทยเชื้อสายจีนส่วนใหญ่เป็นจีนแต้จิ๋ว โรงเรียนเผยอิงจึงมีขนาดและจำนวนนักเรียนที่เยอะกว่าอย่างไม่น่าแปลกใจ พูดถึงวัยเด็กก็ต้องมีโรงเรียน และความสุข ความสุขของเด็กสมัยนั้นก็จะเป็นการดูทีวี ซึ่งมีแต่ทีวีขาวดำ ซึ่งมันก็แพงอยู่ดี เวลาจะดูก็ต้องไปดูบ้านคนอื่น ถ้าเป็นผู้ใหญ่ก็จะฟังวิทยุ เวลาว่างก็จะอ่านหนังสือพิมพ์ ขนมสมัยนั้นเวลาซื้อ จะมีคนหาบเร่มาขายหน้าบ้าน ขนมก็จะเป็นอะไรง่ายๆ อย่างถั่วต้ม มันต้ม จุ๋ยก้วย เต้าส่วน โอวจุ๊ก(ข้าวเหนียวดำกับเต้าส่วน) นอกจากนี้ยายยังเล่าว่าตอนแรกตัวก็ไม่ยอมรับว่าตัวเองเป็นคนไทยหรอก จนอยู่ไปสักพักก็รู้เองว่าตัวเองเป็นคนไทย

          ตัดภาพมาตอนยายสาวๆ หลังจากเรียนจบ ป.4 (สมัยนั้นการศึกษาไม่สูงมากนัก) ยายก็กลับมาช่วยที่บ้าทำงาน จนอายุ 21 ก็แต่งงานกับตาที่ภัตตาคารที่มีชื่อเสียงที่สุดในตอนนั้น “ภัตตาคารห้อยเทียนเหลา” ซึ่งเราก็เห็นได้ว่าแม้แต่คนไทย เชื้อสายจีนก็รับวัฒนธรรมตะวันตกมาเยอะเหมือนกัน ดูจากรูปแต่งงานซึ่งเป็นชุดขาวตามแบบฝรั่ง จากนั้นตามประเพณีสะใภ้จีนก็ต้องไปอยู่กับสามี ยายก็ออกไปอยู่กับตาที่ทำร้านลูกชิ้นที่อยู่บนถนนผดุงด้าว (จนถึงตอนนี้หลายๆท่านอาจสงสัยว่า ไม่เห็นเกี่ยวกับเจริญกรุงเลย แต่บอกได้เลยว่าสถานที่ทั้งหมดอยู่ในแถบเจริญกรุงหมด ทั้งเยาวราช หรือแม้กระทั่งซอยเสือป่าหรือถนนผดุงด้าวก็เป็นคล้ายแขนงย่อยๆของถนนเจริญกรุง) ความบันเทิงสมัยนั้นก็จะมีโรงหนังต่างๆ เช่น โรงหนังเท็กซัส ฉายหนังอินเดีย โรงหนังโอเดียนฉายหนังฝรั่งกับหนังจีน โรงหนังเฉลิมบุรีฉายหนังไทย มีโรงงิ้ว โรงงิ้วจะอยู่หลังบ้านที่ผดุงด้าวเวลาแสดงก็จะโฉ่งเฉ่งๆเสียงดัง ที่สี่แยกราชวงศ์มีห้างแมวดำและห้างใต้ฟ้า ซึ่งใหญ่ที่สุดในตอนนั้น มีตึกเก้าชั้นซึ่งเป็นตึกที่สูงที่สุดในสยาม ณ เวลานั้น มีโรงเตี๊ยม โรงน้ำชา ร้านรวงมากมาย รถรางหายไป เปลี่ยนเป็นรถยนต์ ซึ่งนี่ถือเป็นความเจริญขีดสุดของย่านเยาวราช และเจริญกรุงในตอนนั้น และในเวลานั้นรัฐบาลก็มีนโยบายเปลี่ยนชาวจีนเป็นคนไทย เปลี่ยนหลักสูตรการสอนของโรงเรียนจีนให้สอนภาษาไทย และความรักเมืองไทยเหมือนถิ่นบรรพบุรุษ เปลี่ยนสัญชาติให้ชาวจีนเป็นชาวไทยเชื้อสายจีน ซึ่งก็จะมีชาวจีนบางคนเลือกเก็บแซ่เอาใว้และใส่ไปในนามสกุลไทยใหม่ เป็นที่มาของแซ่ต่างๆในคนไทยลูกหลานคนจีนนั่นเอง และเวลาก็ผ่านไปเรื่อยๆจนเข้าสู่ยุคปัจจุบันที่เรารู้จักกันนั่นเอง และนี่ก็คือเรื่องราวของเมืองไทยในสายตาชาวไทยเชื้อสายจีนคนหนึ่งที่อยู่กับย่านเจริญกรุงและเฝ้ามองมันผ่านไปตามกาลเวลาอย่าช้าๆนั่นเอง……….

เรื่องและภาพ : ขรินทร์ อนุสาร

6,974 views

1

แบ่งปัน

มิวเซียมในกรุงเทพมหานคร