คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

สะพานโยง

สะพานประวัติศาสตร์ สัญลักษณ์อำเภองาว

อำเภองาว เป็นอีกหนึ่งอำเภอของจังหวัดลำปาง เป็นอำเภอเล็กๆ มีบรรยากาศที่เงียบสงบ งาว เป็นเมืองเก่าที่มีมาแต่โบราณ อายุมากกว่า 700 ปี มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญทั้งด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ธรรมชาติ และวิถีชีวิตที่งดงาม อำเภองาวเดิมชื่อว่า เมืองเงิน เป็นหัวเมืองหลักเมืองหนึ่งของอาณาจักรล้านนา และเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญของเมือง เขลางค์นคร

เมืองเงินในอดีตนั้นมีเจ้าผู้ครองนครที่เข้มแข็ง และชำนาญการสงคราม มีความเชี่ยวชาญในการรบ โดยใช้ของ้าวเป็นอาวุธสำคัญ เมื่อข้าศึกจากหัวเมืองลื้อ หัวเมืองเขิน เข้ามารุกรานก็ไม่สามารถเข้าไปถึงเมือง เขลางค์นครได้ เพราะ เมื่อมาถึงเมืองเงินก็ถูกตีแตกแพ้ไปทุกครั้ง เจ้าเมืองเงินได้อาสาปราบปรามข้าศึก พวกฮ่อเงี้ยว ที่มารุกรานถึงหัวเมืองเงี้ยว หัวเมืองลื้อ และหัวเมืองเขิน จนถึงแคว้นสิบสองปันนาจนได้รับชัยชนะ ทำให้เป็นที่ร่ำลือ เจ้าเมืองเขลางค์นครจึงได้ประทานง้าวด้ามเงิน เป็นบำเหน็จคุณงามความดี และความกล้าหาญ เป็นที่ยินดีแก่ชาวเมือง ต่อมาจึงเรียกเจ้าเมืองว่าพระยาง้าวเงิน และเรียกชื่อเมืองว่าเมืองง้าวเงิน กาลเวลาผ่านไป เสียงเรียกนั้นได้เพี้ยนเป็น เมืองงาว

การเดินทางครั้งนี้เรามุ่งหน้าไปยังตำบลหลวงเหนือ และตำบลหลวงใต้ เป็นศูนย์กลางของอำเภองาว ณ ที่แห่งนี้มีสะพานโยงที่เก่าแก่ที่สุดของอำเภองาวเลยก็ว่าได้ สะพานโยงเป็นสะพานแขวนกลางเมืองจากตำบลหลวงเหนือไปยังตำบลหลวงใต้ ภาพที่เราเห็นข้างหน้านั้นมี 2 สะพาน คือ สะพานที่มีรถสัญจรได้ และสะพานโยงที่ไม่เปิดให้รถข้าม แต่ผู้คนสามารถเดินข้ามฝั่งสัญจรได้

 

สะพานโยง เป็นสะพานแขวนกลางเมือง ตั้งอยู่ระหว่างตำบลหลวงใต้ และตำบลหลวงเหนือ มีที่มาจากการล่องซุงในแม่น้ำงาว การสร้างสะพานจึงสร้างแบบธรรมดาไม่ได้ เพราะ จะทำให้สะพานพังเสียหาย แล้วซุงไม้สักก็จะล่องไปสู่แม่น้ำยมไม่ได้ ดังนั้นสะพานข้ามแม่น้ำงาวจึงถูกสร้างให้เป็นสะพานแขวน โดยมีวิศวะกรผู้ออกแบบ และอำนวยการสร้างสะพานเป็นชาวเยอรมัน สะพานโยงข้ามแม่น้ำงาวนั้นสร้างเมื่อ พ.ศ. 2469 มีความยาว 75 เมตร และกว้าง 6 เมตร เป็นสะพานที่ไม่มีเสา วางโครงเหล็กแบบทางรถไฟ ที่ใช้ไม้หมอนเรียงเป็นลูกระนาด ปูด้วยไม้กระดานทับเฉพาะช่วงล้อรถยนต์ มีทางเท้าทั้งสองข้าง และใช้ลวดสลิงยึดตลอดตัวสะพาน ปัจจุบันสะพานนั้นเปิดให้เดินสัญจรข้ามฟากเท่านั้น สะพานโยงยังถือเป็นจุดถ่ายภาพที่สำคัญที่ห้ามพลาดของนักท่องเที่ยวอีกด้วย

เมื่อมาถึงแล้วก็ต้องเก็บภาพไว้เป็นที่ระลึกเหมือนนักท่องเที่ยวทั่วไป บนสะพานมองเห็นแม่น้ำงาว และบ้านเรือนที่สร้างมานาน บริเวณใต้สะพานนั้นมีสวนสาธารณะ มักจะมีชาวบ้านมานั่งพักผ่อน อีกฝั่งของสะพานนั้นเป็นตลาดสดอำเภองาว จะคึกคักในช่วงเช้าตรู่ และตอนเย็น เวลาที่เรามาตอนนี้นั้นตลาดวายเสียแล้ว ชาวบ้านที่นี้ใช้สะพานโยงในการเดินสัญจรจากฝั่งหนึ่งไปอีกฝั่งหนึ่งด้วยความเคยชิน เนื่องจากการเดินมีความสะดวก และปลอดภัยมากกว่าสะพานที่มีรถสัญจรไปมา คนงาวที่นี้อยู่กันอย่างเรียบง่าย ไม่วุ่นวายเหมือนตัวเมืองใหญ่ๆ

เราขับรถเข้าไปในตัวเมืองงาว ผ่านร้านค้าร้านขายของมากมาย ที่งาวในตอนนี้ไม่ต่างจากตอนนั้นเท่าไหร่เลย ทำให้หวนคิดถึงบรรยากาศที่ได้มาลงชุมชนที่นี้ ตอนนั้นได้มาใช้ชีวิตอยู่ที่อำเภองาวกับเพื่อนๆ ในคณะเป็นเวลา 40 วัน ได้พบเจอผู้คนมากมาย ผู้คนที่นี้เป็นมิตร ภาพตอนที่ปั่นจักรยานไปตลาดงาวแล้วถูกสุนัขร้านขายปุ๋ยวิ่งไล่ เป็นภาพที่จดจำได้มาจนถึงทุกวันนี้ เราขับรถผ่านไปก็หัวเราะไป ถนนสายนี้ล้วนมีเรื่องราวมากมายให้คิดถึง แม้เราผ่านมา แต่ก็จะไม่ผ่านไป...

6,646 views

0

แบ่งปัน