คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

เว็บบอร์ด

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   เว็บบอร์ด
  4.    >   ไม่มี ‘คณะราษฎร’ ในพิพิธภัณฑ์ภายใต้กำกับของรัฐไทย?

ไม่มี ‘คณะราษฎร’ ในพิพิธภัณฑ์ภายใต้กำกับของรัฐไทย?

23 เมษายน 2560

ชื่นชอบ 8

2,465 ผู้เข้าชม

0

แบ่งปัน
หลังจากที่สยามและฝรั่งเศสทำสัญญาระหว่างประเทศที่ชื่อว่า ‘หนังสือสัญญาระหว่างสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยาม กับเปรสสิเดนต์แห่งรีปับลิกฝรั่งเสศ 23 มีนาคม ร.ศ. 125’ (ตรงกับเรือน พ.ศ. 2449 ตามวิธีนับปีในสมัยนั้น ที่นับวันที่ 1 เมษายน ของทุกปีเป็นวันขึ้นปีใหม่ แต่ถ้านับอย่างปัจจุบันแล้วจะตรงกับ พ.ศ.​ 2450) ซึ่งว่าด้วยการแบ่งเค้กดินแดนระหว่างสยามกับฝรั่งเศสเสร็จเรียบร้อย (ซึ่งก็หมายความด้วยว่า พระเจ้าอยู่หัวในรัชสมัยนั้นคือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 รวมถึงชนชั้นนำสยามหลายๆ พระองค์ คงจะสามารถหลับพระเนตรพริ้มแล้วจินตนาการถึงภาพลางๆ ของ ‘ขวานทอง’ ได้เรียบร้อยแล้ว) ก็ได้มีการก่อตั้งสมาคมทางวิชาการด้านประวัติศาสตร์ และโบราณคดี ที่ชื่อ ‘โบราณคดีสโมสร’ ในเรือน พ.ศ. 2450 ซึ่งก็คือปีเดียวกันนั่นเอง

ที่น่าสนใจก็คือ รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จเป็นประธานในพิธีเปิดโบราณคดีสโมสรที่ว่านี้ด้วยพระองค์เองเลยทีเดียว แถมส่วนหนึ่งของพระราชดำรัสพระราชทานในรัชกาลที่ 5 ได้ทรงนำเสนอวิธีการศึกษาถึงเรื่องราวในอดีตของสยามไว้อย่างน่าสนใจว่า 

“จึงขอชวนท่านทั้งหลายในสโมสรประชุมกันครั้งแรกนี้ ให้กระทำในใจไว้ ว่าเราจะค้นหาข้อความเรื่องราวของประเทศสยาม ไม่ว่าเมืองใดชาติใดวงษ์ใดสมัยใด รวบรวมเรียบเรียงขึ้นเปนเรื่องราวของประเทศสยาม จับเดิมตั้งแต่ 1,000 ปีลงมา เรื่องราวเหล่านี้คงต้องจับตั้งแต่เมืองหลวง ไนยหนึ่งเรียกว่าหาง ห้าง ฤาช้าง ซึ่งเปนที่ตั้งของชาติไทยแต่ต้นเดิม ลงมาจนถึงเมืองเชียงแสน เชียงราย เชียงใหม่ สวรรคโลก โศกโขทัย อยุทธยาเก่า อยุทธยาใหม่ แลเมืองลโว้ ลพบุรี นครไชยศรี นครศรีธรรมราช ฤาเมืองซึ่งเปนเจ้าของครองเมือง เช่น กำแพงเพชร ไชยนาท พิษณุโลกย์ เมืองสรรค์ สุพรรณ กาญจนบุรี เพชรบุรี เหล่านี้เปนต้น บรรดาซึ่งได้เปนใหญ่ในกาลครั้งใดครั้งหนึ่ง แล้วรวบรวมมาเปนประเทศสยามอันหนึ่งอันเดียวนี้” (ข้อความและอักขรวิธีตามต้นฉบับ)

แน่นอนว่าเมื่อสามารถมโนถึงขวานทองกันได้แล้ว ก็ต้องสร้างประวัติศาสตร์ใส่ในขวานด้ามนี้ด้วยนะครับ แต่ก็น่าเสียดายที่หลังจากนั้นเพียง 3 ปี รัชกาลที่ 5 ก็เสด็จสวรรคต ทำเอาการจับเอาประวัติศาสตร์ยัดเข้าใส่ด้ามขวานทอง ต้องชะงักค้างไปเกือบ 20 ปีเต็มเลยทีเดียว เพราะกว่าที่จะมีผู้สานต่อปณิธานในพระราชดำรัสเมื่อคราวเปิดโบราณคดีสโมสรของรัชกาลที่ 5 ก็ต้องรอจนกระทั่งถึง พ.ศ. 2469 ในสมัยรัชาลที่ 7 โน่นเลย

ณ เรือน พ.ศ. ดังกล่าว สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (พระราชอนุชาในรัชกาลที่ 5 ควบตำแหน่งผู้ทรงได้รับการขนานพระนามว่า บิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย) ได้ทรงจัดแบ่งยุคสมัยต่างๆ ในประเทศไทยตามเค้าโครงปัจจุบันเป็นครั้งแรก ดังปรากฏในพระนิพนธ์เรื่อง ‘ตำนานพุทธเจดีย์สยาม’ แต่ยังมีรายละเอียดบางส่วนที่ไม่ลงตัวนัก
น่าสนใจว่า ก็เป็นในปี พ.ศ. เดียวกันนี้อีกด้วยที่ รัชกาลที่ 7 ทรงประกาศตั้ง ‘ราชบัณฑิตยสภา’ ให้ดูแลงานด้านโบราณคดี วรรณคดี ศิลปากร และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สำหรับพระนคร โดยมีสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระองค์เดิม ทรงดำรงตำแหน่งนายกราชบัณฑิตยสภา 

ในการนี้ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และศาสตราจารย์ Goerge Cœdès ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการอ่านจารึกอุษาคเนย์ ชาวฝรั่งเศส ได้เริ่มปรับปรุงการจัดแสดง ทำให้ พิพิธภัณฑสถาน เปลี่ยนจาก ‘พิพิธภัณฑสถานประเภททั่วไป’ กลายเป็น ‘พิพิธภัณฑสถาน ที่รวบรวมสงวนรักษาโบราณศิลปวัตถุ ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ’

สองปีถัดมา คือในเรือน พ.ศ. 2471 Cœdès ได้ตีพิมพ์หนังสือชื่อ ‘โบราณวัตถุในพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร’ ซึ่งเป็นหนังสือที่ใช้สำหรับอธิบายโบราณวัตถุ ที่จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในขณะนั้นตามชื่อของหนังสือ โดยเนื้อหาภายในเป็นการปรับปรุงการแบ่งยุคสมัยต่างๆ ในประเทศไทย จากที่มีมาก่อนในหนังสือตำนานพุทธเจดีย์สยาม มาเป็นเค้าโครงอย่างที่ใช้กันมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้

เรียกง่ายๆ ว่า การเรียบเรียง และจัดแบ่งประวัติศาสตร์ชาติไทยให้เป็นยุคสมัยต่างๆ ตามความมุ่งหวังที่ปรากฏอยู่ในพระราชดำรัสของรัชกาลที่ 5 ครั้งนั้น มีออฟฟิศอย่างเป็นทางการอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สำหรับพระนคร หรือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ที่บริเวณท้องสนามหลวง ปัจจุบันนั่นเอง 

ประวัติศาสตร์ของประเทศไทยจึงถูกเรียบเรียง รวบรวม นำเสนอด้วยการจัดแสดง และถือกำเนิดขึ้นในพิพิธภัณฑ์ในกำกับของรัฐนั่นแหละนะครับ รัฐท่านอยากจะนับอะไรว่าเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ไทย ก็เอาเข้าไปจัดแสดงเอาไว้ อะไรไม่ใช่สิ่งที่รัฐอยากจะให้อยู่ในประวัติศาสตร์แห่งชาติ ท่านก็แกล้งทำเป็นนิ่งๆ ไม่นำเอาเข้าไปจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ ประมาณหนึ่งว่าเป็นสิ่งที่ไม่เข้าพวก ไม่ถูกนับเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ชาติไทย

และก็ไม่ใช่ว่า เมื่อสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และ Cœdès จัดพิพิธภัณฑ์จนแล้วเสร็จ และเปิดให้เข้าชมตั้งแต่เมื่อ พ.ศ. 2471 แล้ว จะไม่มีการนำเอาอะไรเข้าไปเพิ่ม หรือปรับเปลี่ยนอะไรเลยนะครับ ในคราวหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ได้ถูกรัฐบาลของคณะราษฎรมอบหมายให้เทคโอเวอร์ และรับช่วงงานพิพิธภัณฑ์ต่อมาจากราชบัณฑิตยสภา ก็ได้มีการปรับโน่น เพิ่มนั่น อะไรต่างๆ ในพิพิธภัณฑ์อยู่เนืองๆ ดังนั้นถึงจะเป็นอะไรที่เกิดขึ้นหลัง พ.ศ. 2471 ก็สามารถที่จะเพิ่มเติมเข้าไปไว้ในพิพิธภัณฑ์ได้เสมอ

แต่ก็เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับคณะราษฎรนี่แหละ ที่ไม่เคยถูกนำเข้าไปจัดแสดงเข้าเป็นส่วนหนึ่งในพิพิธภัณฑ์เลย ซึ่งก็แน่นอนว่า ไม่ใช่เพราะคณะราษฎรไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ไทย เพียงแต่เป็นเพราะอำนาจของรัฐไทย ไม่ได้นับเอาคณะราษฎรเป็นส่วนหนึ่งของ ‘ประวัติศาสตร์แห่งชาติ’ ต่างหาก เรื่องราวและสิ่งของเกี่ยวกับคณะราษฎรจึงไม่เคยถูกจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ในกำกับของรัฐ เช่นเดียวกับ พระพุทธรูปที่แสดงให้เห็นถึงความรุ่งเรืองของศาสนาพุทธในยุคต่างๆ, หลักศิลาจารึกที่ว่าด้วยการปกครองแบบพ่อปกครองลูก และอะไรอื่นอีกสารพัด

และจึงไม่น่าแปลกใจเลยนะครับที่ กรมศิลปากร จะบอกว่า หมุดก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญ หรือที่มักจะเรียกกันง่ายๆ ว่า หมุดคณะราษฎร นั้น ไม่ใช่โบราณวัตถุ

ที่มาภาพประกอบ: 

วันที่สร้าง : 16 พฤศจิกายน 2562

0

แบ่งปัน
สร้างโดย