คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

สุรินทร์มาจากไหน?

ฟื้นม่านตำนานเมืองสุรินทร์จากพงษาวดารและบันทึกของนักสำรวจชาวฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 19

"...ในอดีตก่อนแรกตั้ง สุรินทร์เป็นเมืองโบราณในวัฒนธรรมขอมยุครุ่งเรือง

มีการสร้างค่ายคูน้ำ กำแพงดินทั้ง 4 ทิศให้เป็นหน้าด่านป้อมปราการ

ในยุคเรืองอำนาจขอมตั้งราชธานีที่กรุงละโว้ เมืองพิมาย และเมืองสกลนคร

สุรินทร์ขึ้นตรงกับเมืองพิมายจนกระทั่งขอมหมดอำนาจในพุทธศตวรรษที่ 18..."

- ผู้เขียน -

(ภาพที่ 1 บน) อนุสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (เชียงปุม) เจ้าเมืองสุรินทร์คนแรก

ปกครองเมืองสุรินทร์ตั้งแต่ พ.ศ.2304-2337

ผู้เขียนขอบขอบคุณความเอื้อเฟื้อรูปภาพประกอบการเขียนบทความจากคุณปองพล วาทะกุล

เมืองสุรินทร์มาจากไหน?[1]

            ข้อมูลและหลักฐานทางโบราณคดีที่ปรากฏอยู่ทั่วทั้งจังหวัดสุรินทร์ได้เปิดเผยให้เห็นว่า สุรินทร์เป็นพื้นที่ที่มีการตั้งรกรากของชุมชนโบราณกระจัดกระจายอยู่เป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ทางตอนเหนือถึงตอนล่าง ข้อมูลทางโบราณคดีในชุมชนเมืองสุรินทร์ได้ชี้ให้เห็นว่า คันดีขนาดใหญ่รอบเทศบาลเมืองสุรินทร์ เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยทวารวดี สุจิตต์ วงษ์เทศ ระบุว่า เป็นเวลากว่า 5,000 ปีมาแล้วยังไม่มีการพบหลักฐานว่ามีมนุษย์อาศัยอยู่ในจังหวัดสุรินทร์ จะมีก็แต่เพียงบรรพบชนคนสุวรรณภูมิเช่น ตระกูลมอญ-ขแมร์ เร่ร่อนออกล่าสัตว์ตั้งหลักแหล่งอยู่ในอาณาบริเวณสองฝั่งแม่น้ำมูล และชี ในช่วงระยะเวลา 3,000 ปีเริ่มมีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนบริเวณพื้นที่จังหวัดสุรินทร์และใกล้เคียง มีการตั้งชุมชนไม่ห่างจากแหล่งน้ำคือแม่น้ำมูล เป็นวัฒนธรรมสมัยทุ่งกุลาร้องไห้[2]

            กำแพงเมืองสุรินทร์ หรือกำแพงดินถูกสร้างขึ้นครั้งแรกโดยสันนิษฐานว่าอยู่ในช่วงวัฒนธรรมทวารวดี ส่วนแรกคือกำแพงที่สร้างขึ้นในเขตศักดิ์สิทธิ์ของเมือง มีคูน้ำคดโค้ง ส่วนที่สองคือชั้นนอกเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดไม่สมมาตรกัน[3] ศาสนาพื้นถิ่นในบริเวณจังหวัดสุรินทร์พบว่า ผู้คนยังนับถือภูตผี บูชางู บูชากบ และยกย่องให้สตรีเป็นใหญ่ ประมาณหลัง พ.ศ.1000 เป็นต้นไปพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมเจนละ ซึ่งมีศูนย์กลางอำนาจอยู่ในปริมณฑลเขตแม่น้ำโขงและปากแม่น้ำชี—มูล พื้นที่บริเวณนี้พบว่ามีการผลิตเหล็กและเกลือ

            ประมาณ พ.ศ.1500 เป็นต้นไป วัฒนธรรมขอมได้เข้ามามีอิทธิพลในพื้นที่อีสานตอนใต้ ดังพบว่ามีการสร้างปราสาทหินจำนวนมากในเขตพื้นที่อีสานตอนใต้ ในช่วงเวลาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 16 เรื่อยมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 18 เป็นช่วงเวลาที่วัฒนธรรมขอมเจริญรุ่งเรือง มีการสร้างเมืองหน้าด่านในเขตปริมณฑลทางเหนือของเมืองพระนคร โดยสันนิษฐานว่าประมาณหลัง พ.ศ.1700 ราชสำนักขอมได้เกณฑ์แรงงานสร้างเมืองหน้าด่านโดยการขุดคูสร้างเมืองบริวารขึ้น จนกระทั่งต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ขอมได้เสื่อมอำนาจลงและนำไปสู่การเข้ามาทับซ้อนทางวัฒนธรรมล้านช้างในพื้นที่อีสานทั้งหมด ศาสนาพราหมณ์เรื่อมหมดบทบาทและแทนที่ด้วยการเข้ามาของพระพุทธศาสนา กระทั่งพุทธศตวรรษที่ 22-23 เป็นต้นมา เกิดการหลั่งไหลของประชากรฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงหนีความขัดแย้งทางการเมืองเข้าสู่พื้นที่อีสาน เนื่องจากในขณะนั้นเป็นพื้นที่รกร้าง (โดยส่วนใหญ่)

            พุทธศตวรรษที่ 24 ประมาณ พ.ศ.2300 เป็นต้นไปได้มีกลุ่มชาติพันธุ์พื้นเมืองในวงศ์วานตระกูลมอญ-ขแมร์ ที่ถูกเรียว่า กูย ได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณปริมณฑลของเทือกเขาพนมดงรัก กลุ่มชนเหล่านี้มีทักษะความสามารถในด้านวิชาคชศาสตร์ซึ่งเป็นวิชาที่ว่าด้วยการจับช้างให้ตรงตามหลักคชลักษณ์ และด้วยเหตุดังกล่าวนี้เองในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 24 การประทะสังสรรค์กันระหว่างกลุ่มชนในเขตเขมรป่าดงกับชนชั้นนำที่กรุงศรีอยุธยาจึงเกิดขึ้น

            พงศาวดารเมืองสุรินทร์ ซึ่งได้มีการเรียบเรียงขึ้นในประมาณ พ.ศ.2438-2340 ได้ระบุว่า มีกลุ่มชนอพยพมาจากเมืองอัตปือแสนปาง เข้ามาตั้งรกรากในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ข้อมูลอีกชุดหนึ่งระบุว่าบรรพบุรุษของชาวสุรินทร์อพยพมาจากเมืองตรังบัณฑายมาศ[4] พงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสาน ของหม่อมอมรวงศ์วิจิตร (ปฐม คเนจร) เปิดเผยว่า ผู้นำชุมชนชาวกูยเริ่มได้รับการติดต่อกับ ชนชั้นนำท้องถิ่นอยุธยาประมาณ พ.ศ.2302[5] ด้วยเหตุที่ช้างแตกออกจากเพนียดหลวงกรุงศรีอยุธยาเข้ามาทางป่าฝั่งตะวันออกไกลจากเมืองนครราชสีมา

            เมื่อผู้นำชุมชนชาวกูยอันประกอบด้วย เชียงปุม เชียงสี เชียงฆะ เชียงไชย เชียงขัน ช่วยกันจับช้างส่งกรุงศรีอยุธยา ตามตำนานระบุว่า ได้เอาพระยาช้างเผือกมาผูกตวัดรัดรึงไว้กัยต้นจารใหญ่ จึงเป็นที่มาของ บ้านจารพัด ใน อ.ศรีขรภูมิมาจนถึงปัจจุบัน

            อย่างไรก็ตามไม่มีหลักฐานชัดเจนว่า กลุ่มผู้นำชาวกูยได้เดินทางไปกรุงศรีอยุธยาจริงหรือไม่ มีก็แต่เพียงหลักฐานชั้นหลังที่ระบุเพียงว่า กลุ่มผู้นำดังกล่าวนี้ต่อมาได้กลายเป็นผู้มีอำนาจในท้องถิ่นอย่างสมบูรณ์ เมื่อถึง พ.ศ.2306 เชียงปุม หรือหลวงสุรินทร์ภักดี ตามประวัติศาสตร์ระบุว่าเป็นเจ้าเมืองสุรินทร์คนแรก ได้แจ้งแก่เจ้าเมืองพิมายว่าจะขอตั้งเมืองใหม่ ทางกรุงศรีอยุธยาจึงให้ยกบ้าน คูประทาย เป็นเมืองใหม่ และได้ส่งบรรณาการแก่กรุงศรีอยุธยา ประกอบด้วย ช้างม้า แก่นสน บางสน ปีกนก นอรมาด งาช้าง ขี้ผึ้ง น้ำผึ่ง ราชสำนักจึงตั้งให้ หลวงสุรินทร์ภักดีเป็นพระยาสุรินทร์ภักดี ยกเมือง “คูประทาย” เป็นเมือง “ประทายสมันต์”

            ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 1 จึงได้รับยกฐานะขึ้นเป็น “เมืองสุรินทร์” ใน พ.ศ.2329[6] อันเนื่องมาจากเจ้าเมืองสุรินทร์ช่วยราชการแผ่นดินเป็นคุณประโยชน์อันควรแก่การได้รับบำเหน็จ

            หลักฐานจากบันทึกการเดินทางเรื่อง Voyage dans le Laos (Volume 2) โดย - Aymonier, E. (Etienne), b. 1844 เปิดเผยว่า เมืองสุรินทร์มีระบบผังเมืองที่ดี มีกำแพงเมืองล้อมรอบถึงสองชั้น กำแพงเมืองชั้นในจะเรียกว่า "เมืองชั้นใน" ส่วนกำแพงเมืองชั้นนอกจะเรียกว่า "เมืองชั้นนอก" ลักษณะชุมชนเป็น ชุมชนโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายถึงสมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น

            แอมอนิแยร์ ได้ วาดรูปภาพแนวกำแพงเมืองสุรินทร์เอาไว้ในหนังสือ บันทึกการสำรวจของเขา นับเป็นแผนที่ฉบับแรกของเมืองสุรินทร์

            ในเอกสารของ แอมอนิแยร์ กล่าวว่า กำแพงเมืองชั้นในมีความกว้างจากเส้นผ่าศูนย์กลางราว 1,000 เมตร ยาว 1,300 เมตร ส่วนกำแพงเมืองชั้นนอก กว้าง 1,500 เมตร ยาว 2,500 เมตร ถนนที่ตัดผ่าน ศูนย์กีฬาและเยาวชนจังหวัด ตรงที่ตั้ง ไนท์บาซ่า, สนง.เทศบาลเมืองสุรินทร์ คือ กำแพงเมืองชั้นใน มีถนนตัดผ่านชื่อว่า "ถนนกรุงศรีใน" ส่วน ถนนเลียบกำแพงเมืองชั้นในฝั่งทิศใต้ เรียกว่า "ถนนกรุงศรีนอก" บริเวณแยก ถนนธนสาร ตัดกับ ถนนกรุงศรีใน 4 แยกตลาดสดเทศบาลเมือง เดิมเรียกว่า "สี่แยกเชียงใหม่" ศูนย์กลางของเมืองตั้งอยู่บริเวณหลักเมือง ใกล้กับ จวนผู้ว่า (ตั้งอยู่ในศาลากลาง) อดีตเคยเป็นที่ตั้งของ "จวนเจ้าเมืองพื้นถิ่น"

            บันทึกของแอมอนิแยร์ กล่าวอีกว่า “…วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ.2426 เวลาบ่าย 4 โมงเย็น เกวียน 3 เล่ม ก็คืบคลานตามกันมาจอดสงบนิ่งที่ศาลากลางเมืองสุรินทร์ (จวนเจ้าเมือง) หน้าเรือนพักของเจ้าเมืองสุรินทร์ ศาลากลางเป็นที่ที่พวกกรมการเมืองมาพบปะกันเพื่อปรึกษาหารือข้อราชการอันเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบกันมา…”[7]

            คุณค่าและความสำคัญของ พงศาวดารเมืองสุรินทร์ ไม่เพียงเป็นเอกสารที่จดบันทึกขึ้นจากคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ในท้องถิ่นเท่านั้น ยังให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในเชิงวัฒนธรรม การดำรงชีวิต รวมถึงเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับเมืองสุรินทร์ เมืองสุรินทร์มีเจ้าเมืองในระบบสืบสายโลหิตรวมทั้งหมด 10[8] คน จนกระทั่ง พ.ศ.2451 รัฐบาลจากราชธานีจึงส่งข้าหลวงกำกับราชการเมือง พระกรุงศรีบริรักษ์ (สุ่ม สุมานนท์) มารับราชการเมือง ในปัจจุบันกำแพงเมืองโบราณเมืองสุรินทร์ รวมทั้งคูน้ำขนาดใหญ่บางส่วนได้ถูกทำลายเพื่อตัดถนน และสร้างบ้านเรือน ร่องรอยสุดท้ายคือแนวกำแพงบริเวณหน้าวัดพรหมสุรินทร์ซึ่งเป็นแนวกำแพงชั้นใน ส่วนกำแพงชั้นนอกปัจจุบันหลงเหลือร่องรอยสุดท้ายบริเวณเขตชุมชนโดนไข และบริเวณถนนไป อ.เมืองบุรีรัมย์

 

[1] พีรภัทร ห้าวเหิม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เรียบเรียง

[2] วัฒนธรรมทุ่งกุลาร้องไห้ มีประเพณีการฝังศพ โดยใช้ภาชนะรูปทรงไข่ขนาดใหญ่ตัวอย่างเช่น แหล่งขุดค้นทางโบราณคดีที่บ้านโนนสวรรค์ ต.นาหนองไผ่ อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ เป็นแหล่งโบราณคดีที่มีประเพณีการฝังศพอายุประมาณ 2,000-1,500 ปีโดยประมาณ

[3] ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน เล่ม 1. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542.

[4] บรรณ สวันตรัสจ์. พงษาวดารเมืองสุรินทร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์, หน้า 27-29

[5] ข้อมูลของหม่อมอมรวงศ์วิจิตรในประชุมพงศาวดารภาคที่ 4 ระบุว่าเป็น จุลศักราช 1121 ตรงกับ พ.ศ.2302 ในขณะเดียวกันฉบับท้องถิ่นของพระยาสุรินทร์ (จรัณ) ระบุว่าเป็นจุลศักราช 1123 ตรงกับ พ.ศ.2306

[6] บรรณ สวันตรัสจ์. พงษาวดารเมืองสุรินทร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์, หน้า 48

[7] อัษฎางค์ ชมดี. ชาวชนเมืองสุรินทร์ พ.ศ.2426-2427. สุรินทรสโมสร ปีที่ 5 ฉบับที่ 1, 2550 หน้า 89.

[8] เจ้าเมืองคนสุดท้ายคือ พระไชยณรงค์ภักดี (บุญจันทร์) ทายาทผู้สืบสายโลหิตของเจ้าเมืองสุรินทร์ โดยทางกฎหมายแล้วเป็นตำแหน่งผู้ว่าราชการเมือง

ภาพที่ 2 ลักษณะของแนวกำแพงเมืองสุรินทร์ และจุดตั้งคุ้มเจ้าเมือง พ.ศ.2426 ในหนังสือ Voyage dans le Laos (Volume 2)

ภาพที่ 3,4 แผนที่ปริมณฑลของเมืองเก่าและพรมแดนธรรมชาติ บริเวณเทือกเขาดงเร็ก หรือดงรัก จากภาพแสดงให้เห็นเส้นทางการสัญจรไปมาระหว่างเมืองที่ใช้เกวียนและเดินเท้า โดยระยะทางในสมัยก่อนเต็มไปด้วยป่ารก ยุงลาย สัตว์ดุร้าย รวมทั้งผีป่า

ภาพที่ 5

สภาพภูมิศาสตร์พื้นที่จังหวัดสุรินทร์ในปัจจุบัน: ภาพ ปองพล วาทะกุล

ภาพที่ 6

ผังเมืองสุรินทร์จากแผนที่ Google Map สำรวจโดย: ผู้เขียน

เส้นสีแดง(1) คือ กำแพงเมืองชั้นใน รูปทรงไม่แน่นอน อยู่ในวัฒนธรรมทวารวดี

เส้นสีแดง(2) คือ กำแพงเมืองชั้นนอก รูปสี่เหลี่ยมไม่สมมาตร อยู่ในวัฒนธรรมขอม

เส้นสีฟ้าคือ คูเมือง ซึ่งประกอบด้วย คูเมืองของกำแพงชั้นใน และคูเมืองของกำแพงชั้นนอก

29,764 views

9

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดสุรินทร์