คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ประวัติศาตร์

โครงกระดูก อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์

โครงกระดูก อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ ตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี การขุดค้นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์บริเวณนอกกำแพงเมืองปราสาทเมืองสิงห์ ทางด้านทิศใต้ริมแม่น้ำแควน้อย เริ่มขึ้นจากการที่โครงการอุทยานประวัติศาสตร์ปราสาทเมืองสิงห์ได้ใช้รถแทรกเตอร์ขุดปรับบริเวณริมน้ำ เพื่อสร้างที่พักชั่วคราวของเจ้าหน้าที่ที่จะปฏิบัติงานของโครงการฯ ได้พบเศษภาชนะดินเผา เศษกระดูก เครื่องมือเหล็ก และลูกปัดในปี พ.ศ. 2528 จากนั้นฝ่ายวิชาการ กองโบราณดคีจึงได้ทำการสำรวจบริเวณดังกล่าว และสันนิษฐานในเบื้องต้นว่าบริเวณดังกล่าวน่าจะเป็นที่ฝังศพของมนุษย์สมัยโบราณ เนื่องจากพบกระดูกท่อนขามนุษย์ โดยมีภาชนะดินเผาวางคว่ำทับอยู่ตอนบนและนอกจากนี้ยังพบเครื่องมือเหล็กรูปคล้ายสิ่วและหอก (เศษ)ภาชนะสำริด แวดินเผา ลูกปัด และเข้าดำเนินการขุดค้นในที่สุด

จากการขุดค้นหลักฐานที่สำคัญคือ โครงกระดูกมนุษย์ 4 โครง ร่วมกับสิ่งของต่าง ๆ อันแสดงให้เห็นถึงพิธีกรรม และความเชื่อในเรื่องการฝังศพ โครงกระดูกที่พบ 3 โครงเป็นโครงที่สมบูรณ์ให้มายเลขในการขุดค้น คือโครงกระดูกหมายเลข 1, 2 และ 4 ฝังในแนวเดียวกันคือ แนวตะวันตกเฉียงเหนือ - ตะวันออกเฉียงใต้ โครงกระดูกหมายเลข 1 พบในระดับ 2.13 เมตร จากระดับสมมติหรือประมาณ 1.48 เมตร จากระดับผิวดิน โครงกระดูกหมายเลข 1 นี้มีสภาพไม่สมบูรณ์เนื่องจากถูกรบกวนจากสัตว์ในดิน และอื่น ๆ ไม่สามารถกำหนดอายุหรือเพศได้ ทิศทางการฝังหันศีรษะไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ สิ่งของที่พบร่วมกับโครงกระดูกมีเป็นจำนวนมาก ทำให้หลุมฝังศพนี้มีขนาดความยาวมากทีเดียวคือ ประมาณ 3 เมตร 20 เซนติเมตร สิ่งของที่พบในหลุมฝังศพมีทั้งภาชนะสำริด ,เครื่องประดับต่าง ๆ ทั้งกำไลสำริด กำไลเปลือกหอย ลูกปัดหิน และลูกปัดแก้ว ภาชนะดินเผาที่พบร่วมกับโครงกระดูกหมายเลข 1 นี้มีทั้งหมด 8 ใบ โดยวางเรียงต่อกันเป็นแนวทางด้านปลายเท้าของโครงกระดูก 7 ใบ เครื่องมือเหล็ก เศษดินเผา และของที่สำคัญที่พบร่วมกับโครงกระดูกหมายเลข 1 คือ ช้อนสำริด ซึ่งวางไว้บนหน้าอกของโครงกระดูกและทัพพีสำริดใส่ไว้ในภาชนะดินเผาซึ่งวางอยู่บริเวณปลายเท้า

โครงกระดูกหมายเลข 2 พบในระดับความลึก 2.15 เมตร จากระดับสมมุติ หรือประมาณ 1.50 จากระดับผิวดินโครงกระดูกโครงนี้เป็นเพศหญิงอายุประมาณ 30 - 35 ปี ทิศทางการฝังศพอยู่ในแนวเดียวกันกับโครงแรกแต่หันศีรษะตรงข้ามกันคือ หันศีรษะไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ของที่พบในหลุมฝังศพมีไม่มากนัก และภาชนะดินเผาเพียง 2 ใบ เป็นภาชนะดินเผาแบบเรียบ สีดำลักษณะคล้ายครกแตกในลักษณะที่จงใจทุบให้แตก วางบริเวณศีรษะด้านขวา และภาชนะดินเผาแบบเรียบเคลือบน้ำดินสีแดง บริเวณปลายแขนขวาและพบขวานสำริดขนาดเล็กแบบมีบ้องบริเวณข้อศอกขวา 1 อัน และที่ขวานสำริดนี้พบว่ามีรอยประทับของเมล็ดข้าวด้วย

โครงกระดูกหมายเลข 3 พบในระดับความลึก 2.32 เมตร จากระดับสมมุติหรือ 1.77 เมตร จากระดับผิวดิน โครงกระดูกโครงนี้ไม่พบในลักษณะเป็นหลุมศพ พบแต่เพียงส่วนกระโหลกศีรษะที่ชำรุดมากแล้ว และกระดูกกรามล่าง พบบริเวณเหนือศีรษะโครงกระดูกหมายเลข 1และโครงกระดูกหมายเลข 4 พบในระดับความลึก 2.57 เมตร จากระดับสมมติหรือประมาณ 1.96 เมตร จากระดับผิวดิน จากลักษณะของกระดูกเป็นเพศหญิงอายุประมาณ 20 - 30 ปี โครงกระดูกหมายเลข 4 นี้พบใต้โครงกระดูกหมายเลข 1 โดยซ้อนในแนวเดียวกัน สันนิษฐานว่าน่าจะฝังพร้อมกัน

จากหลักฐานที่ขุดค้นพบพอจะสรุปได้ว่า บริเวณนอกกำแพงเมืองปราสาทเมืองสิงห์ (ทางด้านทิศใต้) ริมแม่น้ำแควน้อยนี้น่าจะเป็นบริเวณที่ใช้ฝังศพโดยเฉพาะ เพราะไม่พบหลักฐานการอยู่อาศัยที่ชัดเจน เช่น เศษภาชนะดินเผา กระดูกสัตว์ ถ่าน พบปริมาณน้อย ลักษณะความแตกต่างของชั้นดินเห็นไม่ชัด เช่นเศษภาชนะดินผา กระดูกสัตว์ ถ่าน พบปริมาณน้อย ลักษณะความแตกต่างของชั้นดิน เห็นไม่ชัดเจน สีของดินแทบจะเหมือนกันตลอดและถูกรบกวนโดยการกระทำของพืชและสัตว์

ข้อมูลจาก   สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาญจนบุรี

ข้อมูลติดต่อ 035-518797 http://www.m-culture.go.th/

6,028 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดกาญจนบุรี