คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

พนมรุ้ง

อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง

     ปราสาทพนมรุ้งเป็นเทวสถานที่สร้างขึ้นเป็นที่ประทับของพระศิวะ ซึ่งเป็นเทพเจ้าสูงสุดในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย และเพื่อเป็นเครื่องส่งเสริมค้ำจุนสถานภาพของชนชั้นปกครองพร้อมๆกับใช้ประโยชน์ในฐานะ ศาสนสถาน คือ ใช้ในการประกอบพิธีกรรมต่างๆตามประเพณีของศาสนาฮินดู

    สำหรับความเป็นมาและลำดับสมัยแห่งการก่อสร้างปราสาทนี้เมื่อศึกษาจากรูปแบบทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมตามแนวทางของวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ประกอบกับการศึกษาวิเคราะห์ ตีความ ข้อความที่ปรากฎในศิลาจารึกซึ่งพบบริเวณปราสาทพนมรุ้งในเบื้องต้นพบว่าบรรดาสิ่งก่อสร้าง ที่ปรากฏเรียงรายอยู่บนเขาพนมรุ้ง มิได้สร้างขึ้นในสมัยเดียวกันทั้งหมด และจากรูปแบบลักษณะทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม อาจกำหนดอายุปราสาทสิ่งก่อสร้างหลักแรกได้ว่าอยู่ในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 15 แต่ไม่ว่าปราสาทหลังใหญ่บนเขาพนมรุ้งจะมีการวางรากฐานหรือริเริ่มก่อสร้างในสมัยก่อนหน้านี้หรือไม่ก็ตาม ส่วนสำคัญ ๆ ของปราสาทหรือการสร้างปราสาทให้สมบูรณ์พอที่จะสถาปานาขึ้นเป็นเทวสถานได้นั้น น่าจะอยู่ ในสมัยของนเรนทราทิตย์แห่งราชวงศ์มิธรปุระ ผู้เป็นที่รักนับถือในหมู่ชนและวงศ์ญาติ นเรนทราทิตย์ผู้นี้เป็นโอรสของภูปตีนทรลักษมีเชื้อสายของราชสกุลมหิธรปุระ ได้ครอบครองดินแดนที่มีเทวสถานไศวนิกายบนเขาพนมรุ้งมาแต่เดิม นเรนทราทิตย์เป็นผู้มีความสามารถในการยุทธเหนือบุคคลธรรมดา หลังการศึกสงครามคงได้รับความดีความชอบ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ปกครองเมืองซึ่งเป็นดินแดนในอำนาจของราชวงศ์มหินธรปุระ เมื่อได้ขึ้นครองเมืองแล้วได้ดำเนินการสร้างปราสาทหินหลังใหญ่เพื่อประดิษฐานรูปตัวเองเตรียมไว้สำหรับการเข้าไปรวมกับเทพเจ้าเมื่อสิ้นชีพไปแล้ว

     ตามความเชื่อที่ถือปฎิบัติกันมาแต่โบราณในกลุ่มชนชั้นผู้นำตลอดจนได้สร้างรูปเคารพและภาพแกะสลักต่าง ๆ ไว้ด้วย ภายหลังแม้นนเรนทราทิตย์ จะสละเพศฆราวาสมาเป็นนักพรดก็ยังคงได้รับการยกย่องเป็นสมมติเทพ เพราะเชื่อกันว่าได้บรรลุโมกษธรรมและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับองค์พระศิวะ แล้วนอกจากนเรนทราทิตย์แล้ว หิรัญยะ ผู้เป็นบุตรและศิษย์ของนเรนทราทิตย์ ยังเป็นอีกผู้หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการกำกับดูแลการก่อสร้างปราสาท พนมรุ้ง ภายหลังกลายเป็นนักพรตคนสำคัญ เป็นผู้นำทางศาสนาที่พนมรุ้งในช่วงที่รุ่งเรืองที่สุดนี้ ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาที่ก่อนหน้าที่ลัทธิไศวนิกาย จะเสื่อมสลายจากดินแดนแถบนี้ในราวพุทธศตวรรษที่ 18

ข้อมูลจาก : กระทรวงวัฒนธรรม

7,944 views

0

แบ่งปัน