คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

พุทธปฏิมาราชสีมานคร

พระชัยเมืองนครราชสีมา พุทธปฏิมาแห่งราชสีมานคร

         พระชัย หรือ พระไชย อันมีความหมายมงคลนาม หมายถึง ชัยชนะ นับตั้งแต่โบราณกาลนั้นถือได้ว่าเป็นพระพุทธรูปสำคัญมีพุทธลักษณะในปางมารวิชัย ตามพุทธประวัติ ในตอนที่สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปราบกองทัพพญามารวสวัตตี ได้ชัยชนะ และยังมีกล่าวไว้ในพระราชพงศาวดารตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้น จะทำการอัญเชิญพระชัยไปด้วยในกองทัพยามไปราชการสงครามเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจแก่กองทัพ ให้มีชัยชนะเหนืออริราชศัตรู นอกจากนี้ยังอัญเชิญไปตั้งในการพระราชพิธีต่างๆ อีกด้วย

         พระชัยเมืองนครราชสีมา พระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๐ เนื้อสำริด หน้าตักกว้าง ๑๕.๓ ซม. สูง ๒๒.๒ ซม.  ประทับนั่งสมาธิราบบนฐานเตี้ย พระบาทขวาทับพระบาทซ้าย ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิยาวสอดอยู่ใต้ชายรัดประคดพระพักตร์สี่เหลี่ยม พระเนตรเบิกกว้าง กรอบพระพักตร์มีไรพระศก (คอ) สองเส้น ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีทำเป็นรูปคล้ายหม้อน้ำแบบศิลปะที่เรียกว่า พระพุทธรูปอู่ทอง ๒ มีจารึกอักษรขอม ภาษาบาลี (รูปแบบอักษรประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๒ – ๒๓) ที่องค์พระโดยรอบเป็นยันต์และหัวใจพระคาถาต่างๆ ที่ด้านหน้า บริเวณพระอังสกุฏ (จะงอยบ่า) ด้านซ้ายจารึกตัวอักษร จ ที่พระนลาฏ (หน้าผาก) จารึกตัวอักษร ภ ที่พระศอจารึกตัวอักษร ก ที่พระอังสกุฏด้านขาวจารึกตัวอักษร ส สำหรับคำว่า จะ ภะ กะ สะ นั้น  โบราณเรียกว่า คาถากาสลัก ในคัมภีร์วชิรสารัตถสังคหะ แต่งโดยพระภิกษุรัตนปัญญาเถระ โดยให้ความหมายไว้ว่ากำเนิดจากพระพุทธธรรม มงคลสูงสุด ๓๘ ประการ นั่นเอง

 

         พระชัยเมืองนครราชสีมานี้ เมื่อคราวสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จมาตรวจราชการเมืองนครราชสีมา ในปี พ.ศ. ๒๔๓๒ หรือ ปี พ.ศ. ๒๔๗๒ ไม่ปรากฏแน่ชัด เจ้าเมืองนครราชสีมาได้นำถวายแด่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ จึงทรงประดิษฐานไว้ ณ ห้องกลางกระทรวงมหาดไทย ศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย ต่อมากระทรวงมหาดไทยได้มอบให้กรมศิลปากรเป็นผู้เก็บรักษา ปัจจุบันเก็บรักษา ณ ห้องศิลปะอยุธยา อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร (เลขทะเบียน อ.ย.๒๕)

         และต่อมานายธงชัย ลืออดุลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ในขณะนั้น ได้ร่วมกับข้าราชการ พ่อค้า และประชาชนชาวจังหวัดนครราชสีมา จัดสร้างพระชัยเมืองนครราชสีมาองค์จำลองขึ้น เพื่อประดิษฐานไว้ ณ หอพระชัยเมืองนครราชสีมา ในบริเวณศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา เมื่อปี ๒๕๕๘ สำหรับให้ประชาชนชาวจังหวัดนครราชสีมาได้สักการะบูชาเป็นพระพุทธรูปจำลอง อันเป็นพุทธปฏิมาแห่งราชสีมานคร และเป็นหลักชัยแห่งเมืองนครราชสีมาไปตราบนานเท่านาน

 

……….……….……….……….

เอกสารอ้างอิง :
ศิลปากร, กรม. พระพุทธรูป ณ วังหน้า พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน ศุภวารกราบกรานพุทธบูชา วัสสวานร ๒๕๕๙. นนทบุรี : ไทภูมิ พับลิชชิ่ง. ๒๕๕๘.

 

Credit by :
นายชินาทร กายสันเทียะ
ประธานชมรมยุวชนมัคคุเทศก์พิพิธภัณฑ์ฯ
และประธานผู้นำยุวชนพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์

 

3,982 views

1

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดนครราชสีมา