คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

วันเป็งปุ๊ด

ตักบาตรองค์พระอุปคุต ตอนเที่ยงคืน

ชาวเชียงราย มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก จึงมีประเพณีที่ปฎิบัติสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน เช่นประเพณีตักบาตรพระอุปคุต หรือ ตักบาตรเที่ยงคืน โดยจะตักบาตรกันในวันพระขึ้น 15 ค่ำ และตรงกับวันพุธ เรียกวันนี้ว่า “วันเป็งปุ๊ด” ซึ่งความพิเศษของวันดังกล่าวปีหนึ่งอาจจะมีวันเป็งปุ๊ด 1วัน 2วัน หรือบางปีอาจไม่มีเลย สำหรับจังหวัดเชียงรายก็ได้มีการจัดพิธีตักบาตรองค์พระอุปคตเช่นกัน โดยจัดกันที่วัดมิ่งเมือง ในอดีตมีความเชื่อกันว่ามีพระอรหันต์องค์หนึ่งชื่อพระมหาอุปคุตเป็นพระอรหันตเจ้าที่มีอิทธิฤทธิ์สามารถดลบันดาลโชคลาภวาสนา ได้ออกจากการเข้าฌานสมาบัติใต้สะดือทะเลในค่ำคืนย่างเข้าวันพุธซึ่งตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ แปลงกายเป็นสามเณรน้อยขึ้นมาโปรดสัตว์โลก

 

พิธีตักบาตรจะเริ่มประมาณเที่ยงคืน แต่ผู้ที่จะร่วมตักบาตรจะมารอกันตั้งแต่ 4 ทุ่ม เมื่อใกล้ถึงเวลาเที่ยงคืนก้าวเข้าสู่ “วันเป็งปุ๊ด” พระภิกษุเริ่มสวดอาราธนาองค์พระอุปคุต และอัญเชิญองค์พระอุปคุตขึ้นรถแห่โดยขบวนเริ่มจากวัดมิ่งเมืองบนถนนบรรพปราการมุ่งตรงไปผ่านสี่แยกหอนาฬิกาเฉลิมพระเกียรติฯ ไปจนถึงสี่แยกศรีเกิด ผู้คนส่วนใหญ่มักนิยมถวายดอกไม้และเงิน เพราะเชื่อว่าจะบังเกิดให้ผู้นั้นเป็นผู้มีบุญ มีโชคลาภวาสนา ร่ำรวยเงินทอง และสร้างความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตอย่างที่สุด จากนั้นจะต่อด้วยขบวนของพระภิกษุสงฆ์สามเณรรับบิณฑบาตอาหารแห้ง ประเพณีตักบาตรเที่ยงคืนถือปฏิบัติโดยทั่วไปในภาคเหนือ แต่พบมากใน จ.เชียงใหม่ และเชียงราย เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากพม่า ในยุคที่อาณาจักรล้านนาเป็นเมืองขึ้นของพม่า ในช่วง พ.ศ.2101-2317 กระทั่งวัฒนธรรมไทยลื้อได้หล่อหลอมผสมผสานกับวัฒนธรรมล้านนา และวัฒนธรรมของคนไทยใหญ่ในรัฐฉาน ของพม่า ปฏิบัติมาจนถึงทุกวันนี้

5,899 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดเชียงราย