คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ฝรั่งเศสยึดตราด

ฝรั่งเศสเข้ายึดครองแผ่นดินตราด

จวนเรสิดังกัมปอร์ต

         การมอบหมายจังหวัดตราดให้แก่ฝรั่งเศส เมื่อสมัยรัฐบาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ต้องสละสิทธิ์ความเป็นเจ้าเป็นใหญ่เหนือดินแดนในจังหวัดตราดและประจันตคิรีเขตร์ (เกาะกง) ให้แก่ฝรั่งเศสตามหนังสือสนธิสัญญา ลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2446) และปรากฏว่ากองทหารฝรั่งเศส ซึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดจันทบุรี ได้ถอนกำลังออกตามขอสัญญานั้นไปแล้ว แต่ ณ วันที่ 12 มกราคม ร.ศ. 123 (พ.ศ. 2447) นั้นเองรัฐบาลสยามจึงแต่งตั้งมอบอำนาจให้พระยามหาอำมาตยาธิบดี(เส็ง วิริยศิริ) ซึ่งในขณะนั้นเป็นพระยาศรีสหเทพ ตำแหน่งราชปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย เป็นข้าหลวงจัดการออกไปรับมอบหมายจังหวัดตราดและประจันตคีรีเขตร์ ให้แก่เจ้าพนักงานฝ่ายฝรั่งเศสที่จังหวัดตราด

         การมอบหมายจังหวัดตราด และเกาะกงให้แก่เจ้าพนักงานฝ่ายฝรั่งเศสในครั้งนั้น พระยามหาอำมาตย์ได้ออกไปที่จังหวัดตราด โดยเรือหลวงมกุฎราชกุมาร ในวันที่มีการมอบหมายส่งดินแดนให้แก่เจ้าพนักงานฝ่ายฝรั่งเศสนั้น ได้กระทำกัน ณ ที่ศาลาว่าการจังหวัดตราด ในวันที่ 22มกราคม ร.ศ. 123 ต่อหน้าพระยาพิพิธพิสัยสุนทรการ ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดตราด และหลวงรามฤทธิรงค์ ตำแหน่งยกกระบัตรเมืองตราด พระยามหาอำมาตย์ได้ทำหนังสือสำคัญโดยลงชื่อมอบให้ เรสิดังกัมปอร์ด ผู้เป็นข้าหลวงฝ่ายฝรั่งเศส ข้าราชการประจำเมืองตราดและเกาะกงบางคน มีพระยาพิพิธพิสัยสุนทรการพระจรูญภาระการ และนายวาศผู้พิพากษาศาลจังหวัดประจันตคีรีเขตร์พากันออกจากจังหวัดตราด โดยเรือรบหลวงมกุฎราชกุมารกลับสู่กรุงเทพ

         ก่อนที่จะมีการมอบหมายหนังสือสำคัญให้แก่กันนั้น เสาธงประจำศาลาว่าการจังหวัดตราดยังชักธงไทย (ธงช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่น) อยู่เบื้องบน ส่วนธงฝรั่งเศส ของเขาผูกเตรียมไว้เบื้องล่างในสายเดียวกัน เมื่อข้าหลวงฝ่ายไทยกล่าวมอบหมายเมืองและหนังสือสำคัญ ข้าหลวงฝ่ายฝรั่งเศสได้กล่าวรับมอบเมืองเสร็จแล้ว ฝ่ายฝรั่งเศสได้ให้ทหารญวนทำการชักธงฝ่ายไทยลงจากยอดเสาในขณะเดียวกันนั้นเองเขาก็ชักธงฝรั่งเศสสวนสลับขึ้นไป กองทหารฝ่ายฝรั่งเศสทำความเคารพและเป่าแตร ให้คนฝ่ายไทยปลดเอาธงช้างมาเท่านั้น กล่าวกันว่า ในวันนั้นพวกไทยเราถึงกับพากันไปน้ำตกเต็มตื้นด้วยกันทุกคน1

         การเข้ามาปกครองของฝรั่งเศสและประจันตคีรีเขตร์นั้น ได้แต่งตั้งพนักงานฝ่ายฝรั่งเศสและเขมรมาประจำอยู่ที่จังหวัดตราด โดยได้ใช้จวนเรสิดังกัมปอร์ต ที่อยู่บริเวณชุมชนคลองบางพระเป็นที่พักของข้าหลวงฝรั่งเศสในการปกครองเมืองตราด

บริเวรโดยรอบ จวนเรสิดังกัมปอร์ต

ตะเกียงที่ใช้ในจวนเรสิดังกัมปอร์ต ของคุณปู่ ไกวัล กูลศรีโรจน์ ได้รับตกทอดมาจากคุณพ่อ

........................................

1 หลวงสาครคชเขตต์, (ประทวน สาคริกานนท์). จดหมายเหตุความทรงจำ สมัยฝรั่งเศสยึดจันทบุรี ตั้งแต่ พ.ศ. 2436 ถึง พ.ศ. 2447. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี:
ศรีปัญญา, 265.

5,489 views

1

แบ่งปัน