คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

แม่รำ ลำพัน

สายน้ำแห่งชีวิตชาวสุโขทัยโบราณ

     ลำน้ำสำคัญซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาใน อ.เถิน จ.ลำปาง ไหลผ่านที่ราบระหว่างภูเขาใน อ.บ้านด่านลานหอย ไหลบรรจบกับลำห้วยสาขาต่างๆผ่านมาหล่อเลี้ยงเมืองโบราณสุโขทัย และไหลเจือไปในทุ่งทะเลหลวงโบราณ ก่อนจะถูกกลืนหายร่วมไปกับสายน้ำยม รวมระยะทางไกลกว่า 70 กิโลเมตร

ต้นกำเนิด

     ยังคงชื่อเรียก”ผืนป่าแม่ปันลำ”ซึ่งครอบคลุมดอยผาขัดห้างเป็นต้นกำเนิดสายธาร ซึ่งแผนที่กรมแผนที่ทหารและแผนที่กรมอุทยานแห่งชาติ ฯ  ลงชื่อว่า “ผืนป่าแม่พันลำ” ซึ่งเป็นต้นสายธารให้กับลำห้วยลึก ลำห้วยปูน ลำห้วยแดน และลำห้วยไร่ ซึ่งมีลำห้วยแตกแขนงมากมายที่ต้นน้ำ ซึ่งชาวท้องถิ่นเรียกให้สายธารบรรจบกันว่า “แม่ปะลำ” ความลาดเอียงของพื้นที่ทำให้น้ำไหลแรงในขณะฝนตก ซึ่งมวลน้ำจำนวนมากไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำส่งเสียงโครมคราม ซึ่งชาวท้องถิ่นเรียกให้ว่า “แม่ผลำ” การประกอบกันของลำห้วยแขนงที่ต้นน้ำด้วยลำห้วยสาขาจำนวนมาก ซึ่งชาวท้องถิ่นเรียกให้ว่า”แม่พันลำ”และเรียกสายน้ำนี้เริ่มตั้งแต่บ้านวังหาดว่าลำน้ำ “แม่ลำพัน” ซึ่ง ใช้ ล-ลิง โดยใช้สื่อความหมายถึง “ลำน้ำ”ทั้งสิ้น

     เมื่อเมืองโบราณสุโขทัยได้รับการบูรณะ จึงมีการเก็บเรื่องราว มุขปาถะ เรื่องเล่า นิทาน ตำนาน ท้องถิ่น เมื่อราวปี พ ศ.2515 ซึ่งมี อ. มะลิ โคกสันเทียะ  เป็นหัวหน้ากองโบราณคดี โดยมี นาย จิระเดช ไวยโกสิทธิ์ เป็นผู้รวบรวมตำนานพื้นบ้านเมืองเก่าสุโขทัย “เรื่องแม่รำพัน” ซึ่งกล่าวถึงในสมัยโบราณผู้คนต้องผจญกับข้าศึกศัตรูในภาวะสงคราม ซึ่งต่างอุ้มลูก หอบของมีค่าหนีเอาตัวรอด ทว่าลูกอ่อนทารกดันร้องดังเรียกให้ข้าศึกรู้ที่ซ่อนกายกำบังรังจะเดือดร้อนถึงคนหมู่มาก ผู้เป็นแม่ตัดสินใจโยนลูกทิ้ง ซึ่งความเป็นแม่ ในสภาวะถูกกดดันนั้นโยนไม่ลง กลับนำลูกกลับมากอด ครั้งแล้วครั้งเล่า จนข้าศึกตามมาจวนตัว จึงตัดสินใจโยนลูกทิ้งคลองน้ำในที่สุด  ปัจจุบันคือ “คลองแม่ลำพัน” ช่วงบึงแม่ลูกอ่อน  ซึ่งผู้เป็นแม่ก็วิ่งหนีฟูมฟายไปอย่างน่าสงสารสุดจับใจ

วิญญาณแม่รำพัน  อีกตอนหนึ่ง เรียบเรียงโดย มหาจิระเดช ไวยโกสิทธิ์  ขอคัดมา 

     ความว่า...”ในกาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีหญิงหม้ายเดินทางมาจากต่างเมืองเข้าไปยังเมืองสุโขทัย เธอหอบสมบัติชิ้นเดียวมาคือลูกชายซึ่งสามาทิ้งไว้มาด้วย เธอเดินลัดทุ่งลัดป่ามา จนมาเจอลำน้ำแห่งหนึ่ง ด้วยความไม่รู้พื้นที่ และว่ายน้ำไม่เป็น เธอจึงวางลูกและสั่งรอที่ริมฝั่ง แล้วลงไปหยั่งความลึกในคลอง  เธอจึงพลัดและจมลาในร่องน้ำนั้น ในเฮือกสุดท้ายแห่งลมหายใจ มือของเธอยังกวักไหว ไหว อยู่เหนือน้ำ ลูกเธอจึงคลานลงน้ำตามเธอลงไป และจมน้ำตายในที่สุดทั้งแม่ทั้งลูก

     ด้วยความผูกพันด้วยจิตแห่งความเป็นแม่ ทำให้วิญญาณของเธอ อยู่ไม่เป็นสุข หลังพลบค่ำ เธอมักจะปรากฏกายร้องไห้ รำพึง รำพัน ร้องหาลูกอยู่ที่ริมฝั่งน้ำเสมอมา ใครที่ผ่าไป ผ่านมา ก็มักจะพบเจอเป็นหญิงผมยาวนั่งร้องไห้ รำพึง รำพันอยู่ที่ริมน้ำ ให้เห็นเป็นประจำ ครั้นเมื่อเข้าไปสอบถาม บ้างก็จะหายวับไป บ้างก็จะหันมาพูดด้วยแต่ใบหน้าเธอนั้นกลับซีดเผือด นัยน์ตากลวงโบ๋  จนชาวบ้านเรียกให้ว่า “ลำน้ำแม่รำพัน”

การเรียกชื่อในปัจจุบัน

     เมื่อภาคราชการใช้ตำนานแม่ร้องไห้รำพึงรำพันของชาวเมืองเก่า ทำให้การเรียกชื่อลำน้ำอันไกลยาวนั้นต้อง ร่วมกัน รำพึงรำพันไปถึงยังต้นน้ำอีกด้วย ซึ่งมีทั้งอ่างเก็บน้ำ โดยที่ผืนป่า “แม่พันลำ” หรือ “แม่ปันลำ”ยังคงเป็นต้นกำเนิดแห่งสายธารอยู่เช่นเดิม

ขอบคุณเนื้อเรื่องและภาพถ่ายจาก

     คุณสุพจน์ นาครินทร์

5,844 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดสุโขทัย