คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

พระพิมพ์เมืองสุโขทัย

ความเชื่อ ความศรัทธา

     พระพิมพ์ คือ การสร้างรูปพระสัมมาพุทธเจ้า โดยการนำวัสดุ  เช่น ดินเหนียว โลหะ ผง ว่านมงคล ต่างๆ กดลงไปในพิมพ์นั้นมักจะสร้างด้วยหิน โลหะ ดินเผา ไม้ และกระดูกสัตว์ เช่น งาช้าง เป็นต้น พระพิมพ์ เริ่มมีการสร้างไว้ในประเทศอินเดียซึ่งเชื่อว่าเริ่มมีการสร้างรูปเคารพแทนองค์พระพุทธเจ้า หลังจากที่พระองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพานไปแล้ว ๗๐๐ปี โดยมีการจารึกพระคาถาลงในองค์พระเป็นภาษาต่างๆ เช่น ภาษาบาลี ภาษามคธ ภาษาสันสกฤต และภาษาอื่นๆ ซึ่งจารึกพระคาถาเหล่านี้มักมีความหมายตรงกันคือ เย ธฺม มา เหตุปฺป ภวา เยสํ เหตุ ตถาคโต อาหะ เต สฺญ จ โย นิโร โธ จ เอวังวาที มหาสมโณติ  แปลว่า ธรรมใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคต ตรัสเหตุ และการดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะตรัสไว้อย่างนี้

     พระพิมพ์ที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทยคือพระพิมพ์แบบพระปฐม(นครปฐม) สร้างขึ้นราว พ.ศ.๙๕๐ (ศ.ยอช เซเดส์) โดยมีจารึกพระคาถาเช่นเดียวกับของอินเดีย ส่วนพระพิมพ์สุโขทัยถูกสร้างขึ้นราวปี๑๗๕๐ หรืออย่างช้าประมาณ พ.ศ.๑๘๘๒(ศ.ดร.สันติ เล็กสุขุม) ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

     พระพิมพ์ในเมืองสุโขทัยถูกสร้างขึ้นตามสี่อิริยาบถต่างๆ ของพระพุทธองค์ คือ นั่ง นอน ยืน และเดิน หรือสร้างตามเหตุการณ์สำคัญในพระพุทธประวัติ เช่น ปางปฐมเทศนา ปางแสดงยมกปาฏิหาริย์ ปางตรัสรู้ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ หรือปางป่าเรไร เป็นต้น ซึ่งพระพิมพ์เหล่านี้จะมีรูปของพระพุทธสาวก เทวดาหรือสัตว์ต่างๆ มาประกอบด้วย โดยถูกค้นพบร่วมกับพระพิมพ์ ในแบบอื่นๆด้วยเช่น แบบพุกาม แบบหริภุญไชย แบบลพบุรีหรือแม้แต่แบบอินเดีย (คันธาระ) ก็ถูกขุดพบร่วมกับพระพิมพ์สุโขทัย พระพิมพ์ถูกสร้างแพร่หลายในเมืองสุโขทัย โดยมีคติและความเชื่อที่ว่าเป็นการสั่งสมบุญบารมีให้กับผู้สร้างเช่นเดียวกับการสร้างพระพุทธรูป เจดีย์ วิหาร หรือการปลูกต้นศรีมหาโพธิ์และยังเป็นการสืบต่ออายุของพุทธศาสนา โดยเชื่อกันว่าหากพระศาสนามีอายุครบ ๕,๐๐๐ ปีแล้ว พระศาสนาจะหายไปจากโลกนี้ แต่จะยังมีพระพิมพ์เหล่านี้ เป็นตัวแทนของ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เพื่อให้คนเหล่านั้นสืบหาความหมายในพระธรรมของพระพุทธเจ้าจากพระพิมพ์ที่คนโบราณได้สร้างไว้

     นอกจากนี้พระพิมพ์ยังบ่งบอกถึงสภาพเศรษฐกิจ การเมืองสังคม และวัฒนธรรมในยุคนั้นๆได้เป็นอย่างดีรวมไปถึง สถาปัตยกรรมและงานเชิงช่างโบราณ ซึ่งจะสังเกตได้จากรูปลักษณ์ และวิธีการสร้างพระพิมพ์นั่นเอง พระพิมพ์จึงเปรียบเสมือนกระจกเงาซึ่งสะท้อนภาพจากอดีตสู่ปัจจุบันได้เป็นอย่างดี

ขอขอบคุณเนื้อเรื่องและภาพถ่ายจาก

หนังสือ พระพิมพ์ เมืองสุโขทัย โดย เครือข่ายบ้านพระพิมพ์ลักษมณศิลป์

Fanpage Facebook : Banpraphim luksamonart

7,225 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดสุโขทัย