คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ตลาดเก๊าจาว

ตลาดเก๊าเจา นครลำปาง

การไปท่องเที่ยวต่างจังหวัดหรือสถานที่บ้านเมืองใดใดก็ตาม "ตลาด" เป็นสถานที่สำคัญของชุมชนในท้องถิ่นที่จะพบเห็นและสัมผัสในวิถีความเป็นอยู่และวัฒนธรรมการกินอาหาร รวมถึงลักษณะการค้าขายประจำถิ่นได้โดยตรง และไม่มีกรอบเปลือกครอบบังไว้ เหมือนเช่นการไปหาซื้อของจับจ่ายสินค้าตามแหล่งการค้าหรือศูนย์การค้าในปัจจุบัน

ตลาด คือ แหล่งชุมชนที่รวบรวมผู้คนหลากหลายรุ่น รุ่นปู่ย่าตายาย คุณพ่อคุณแม่และลุงป้าน้าอา พ่วงพาลูกหลานมาตลาด อีกทั้งพระคุณเจ้าพระสงฆ์เดินเข้ามาตลาด รับบิณฑบาตจากผู้มีจิตศรัทธาในกุศลผลบุญในโอกาสทั่วไป หรือวาระพิเศษเช่น วันคล้ายวันเกิดก็ตาม ผู้คนทั้งหลายเหล่านี้ ต่างเข้ามาตลาดและแสดงบทบาทในพื้นที่ตลาดอย่างแตกต่างกันไป บ้างเป็นพ่อค้าแม่ค้า ยิ้มแย้มแจ่มใส ร้องเรียกร้องหาลูกค้า ร้องบอกราคาและเชิญชวนซื้อสินค้าอาหารที่นำมาค้าขาย บ้างก็มาเป็นลูกค้าเดินเตร่มองหาจับจ่ายใช้สอยซื้อหาสินค้า อาหาร ของใช้ ต่างๆ เพื่อตนเองและเพื่อคนในครอบครัว บ้างก็มาจัดหาข้าวปลาอาหารตั้งใจนำมาทำบุญใส่บาตรพระสงฆ์พระคุณเจ้าและรับศีลรับพรกันไป


และนอกจากกิจกรรมประจำวันเช่นนี้ ผู้คนเหล่านั้น ต่างรู้จักกันมากน้อยตามอัธยาศัยและมิตรภาพที่มีต่อกันมาเป็นเวลามากบ้างน้อยบ้าง ก็จะถามไถ่พูดคุยสารทุกข์สุกดิบกันก็มี ภาพบรรยากาศดังข้างต้นนี้ ผมก็พบเห็นและสัมผัสจากตลาดเก๊าจาวในเช้าวันนั้นเช่นกัน 

เช้ามืดวันนั้น วันแรกของผมที่ “ตลาดรัตน” ด้วยคำในภาษาภาคกลางที่อ่านง่ายสำหรับผม และก็มีอีกชื่อคือ “ตลาดเก๊าจาว” ในภาษาถิ่น ซึ่งผมเองไม่ทราบความหมาย ทั้งสองชื่อก็อยู่ในโอกาสนามชื่อ “ตลาดร้อยปี” ด้วยอายุของตลาดแห่งนี้ โดยพบข้อความสลักไว้ที่ป้ายว่า ตั้งแต่ปี ๒๔๕๖ นั่นหมายถึง ๑๐๐ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๖ ที่ผ่านมา และปีที่ผมมาท่องเที่ยวนครลำปางครั้งแรก ตลาดแห่งนี้ก็มีอายุ ๑๐๓ ปีแล้ว (คือ ปี พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นปีแรกที่มาท่องเที่ยวนครลำปางทางรถไฟ)

เช้านี้อากาศเย็นตามสภาพอากาศช่วงปลายฤดูหนาวในเดือนมกราคม ผมปั่นจักรยานจากที่พักมาถึงหน้าสถานีรถไฟนครลำปาง เลี้ยวขวาไปตามทางถนนเลียบทางรถไฟ มีต้นไม้ใหญ่ 2 ข้างทางตลอดแนว ถนนเล็กๆเส้นนี้มีการสัญจรกันบ้างแล้ว เพราะผู้คนมาตลาดเช้านี้กันในเวลาประมาณหกโมงเช้า 

พื้นที่ของตลาดเก๊าจาว หรือตลาดรัตน เป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า แนวยาวขนานไปกับแนวทางรถไฟจนจบถึงถนนที่มีรางรถไฟยกระดับคล้ายสะพาน ด้านล่างถนนจึงกลายเป็นถนนลอดใต้รางรถไฟ เท่าที่ผมสังเกต ตัวอาคารตลาดเป็นอาคารมีเสาตั้งสูงเป็นช่วงระยะ และหลังคามุมกระเบื้อง รอบด้านเปิดโปร่ง มีเพียงบางช่วงปิดขวางด้วยร้านค้าที่กั้นเป็นห้องไว้บ้างบางส่วน 

มื้อเช้าเติมกำลังกันก่อน ผมแวะร้านข้าวมันไก่แม่ละมัย ร้านนี้ค้าขายคึกคักมากด้วยลูกค้าและแม่ค้าต่างมีอัธยาศัยไมตรีที่ดี ยิ้มแย้มต่อกัน พูดคุยกันไปมาระหว่างค้าขาย และรวมถึงตัวผมด้วยที่ยกกล้องโทรศัพท์ขึ้นถ่ายภาพ ลูกสาวเจ้าของร้านบอก “แม่ๆ ยิ้ม ถ่ายรูป” ผมยิ้มตอบและขอบคุณสำหรับแอคติ้งในช๊อตนี้ รสชาติข้าวมันไก่บ้าน (ผมคิดว่าไม่ใช่ไก่เนื้อไก่เลี้ยงฟาร์ม เพราะเนื้อแน่นดีไม่ฟูนุ่ม) รสชาติน้ำจิ้มอร่อยทีเดียว และพอรวมกันกับรอยยิ้มแม่ค้าและลูกสาวเจ้าของร้าน รสชาติจานนี้เลิศมาก หลังจากนั้นผมซื้อข้าวมันไก่จากร้านนี้ใส่บาตรพระสงฆ์ ได้รับศีลรับพรจากพระคุณเจ้า ท่านกล่าวคำพรให้ด้วยภาษากลางแล้วจึงท่องบทบาลีตามปิดท้าย ความตื่นเต้นขนลุกตั้งชันด้วยอิ่มเอมจากคำพรที่ได้รับในเช้าวันนั้น

การจัดสรรพื้นที่ในตลาดจะเป็นทิวแถวช่องทางตัดกั้นแบ่งเป็นตารางแถวๆ ล๊อคๆ เช่น ตลาดปกติทั่วไป พื้นที่การจัดจำหน่ายขายสินค้าจัดสรรแยกกันไป เช่น ค้าขายเสื้อผ้า ของใช้ เครื่องใช้ในครัวเรือน วัสดุต่างๆ อาหารการกิน ขนมของสด ของแห้ง หรือจะเป็นสินค้าอาหารพื้นเมืองเฉพาะถิ่น จำพวกสมุนไพร พืชผัก และเครื่องแกง เป็นต้น การจัดตกแต่งร้าน มีทั้งที่ปูเสื่อปูสาดวางขายสินค้ากันบนล๊อคพื้นที่ขาย บางร้านจัดทำกล่องขนาดใหญ่มีฝาปิดเพื่อใส่กุญแจล๊อกได้ จัดวางของแห้ง น้ำมันพืช เครื่องปรุงรส ถุงพลาสติก เป็นต้น ดูแล้วคิดใจว่าเมื่อปิดร้านก็ยกฝาปิดล๊อกกุญแจทันทีไม่ต้องยกโยกย้ายของกันบ่อยๆ บริเวณรอบนอกตัวอาคารตลาด จะเป็นพื้นที่ทางเดิน และบ้านเรือนรอบอาคารตลาด แต่ละหลังคาเรือน ก็เปิดร้านจัดจำหน่ายสินค้า อาหาร ตามถนัดตามที่จะเป็นช่องทางที่ตรงใจลูกค้า สินค้านำมาใส่กระด้ง ปูสาดเสื่อตั้งแผงวางพื้นค้าขายก็มี เช่นกัน อาทิ พืชผัก ผลไม้ สมุนไพร วัตถุดิบ เมล็ดถั่ว เมล็ดงา ข้าวสารและอาหารพื้นถิ่น บางร้านนำดอกไม้อากาศหนาวมาขายก็มี และสินค้าที่ไม่เห็นขาดหายจากตลาดใดใด คือ สลากกินแบ่งรัฐบาลนั่นเอง บางร้านที่ขายของแปลกๆ สำหรับผม เช่น กบย่างหงายท้องผ่าท้องยัดไส้เครื่องแกง ผมก็เก็บภาพแล้วแม่ค้าก็ร้องทักแซวแม่ค้ากันเองว่า “ถ่ายภาพแต่ของไม่ถ่ายคน” และก็พูดต่อกันว่าชาวต่างชาติถ่ายภาพ ผมจึงได้แต่ยิ้มคืนให้ ถัดมาร้านค้าขายยาเส้นใส่ถุงพลาสติกตั้งไว้หน้าร้านและมีใบยาวางขาย  พ่อค้าเจ้าของร้านก็บอกว่า “ซิกาเรท”   ผมก็ยิ้มตอบโดยไม่เปล่งสำเนียงออกมาให้เสียจังหวะบรรยากาศ รอยยิ้มนี่แหละ ไม่จำเป็นต้องเอยเอื้อนกัน ก็สร้างความสุขใจมิตรภาพช่วงสั้นๆ ต่อกันได้แล้ว 

หลังเดินเตร่ไปมาสักพักในตลาดแห่งนี้ ทั้งเดินหาของกินชิม เพลินตาชมดูการค้าขาย และเก็บภาพแล้ว  ไม่นานก็จะใกล้เวลาแปดโมงเช้า ผมปั่นจักรยานออกจากพื้นที่ตลาดและเก็บภาพและบรรยากาศตลาดแห่งนี้ไว้...อิ่มแล้วเช้าวันนั้น สนุกสนานสุขใจเที่ยวตลาดเช้า ตลาดรัตน หรือ ตลาดเก๊าจาว แห่งนี้ และออกมาพอดีเวลาร้องเพลงชาติไทย หน้าสถานีรถไฟนครลำปางเลยครับ

13,058 views

1

แบ่งปัน