คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

สวนสนุกรสอีสาน

งานกาชาดจังหวัดอุบลราชธานี

                  “นานมากแล้วนะ…5ปีเห็นจะได้” ผมพูดพึมพำกับสิ่งที่ปรากฏอยู่ตรงหน้า เสียงของลูกดอกที่กระทบกับลูกโป่งแตกดัง “ปัง”เชื้อเชิญให้ผมกลับมาในฐานะผู้มาเยือนอีกครั้ง กลิ่นของอาหารหลากหลายชนิดทำให้สองเท้าของผมอดไม่ได้ที่จะก้าวย่างเข้าสู่ลานศาลากลางจังหวัดอันแสนคุ้นเคย… สัมผัสแรกยังคงตื่นตาเหมือนหนสุดท้ายที่ได้มางานกาชาดเมื่อครั้งเรียนอยู่มัธยมปลาย

                งานกาชาดของจังหวัดอุบลราชธานีจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีพร้อมกับเทศกาลแห่เทียนเข้าพรรษา ครั้งนี้เป็นครั้งแรกในรอบหลายปีที่ผมได้กลับมาหลังจากที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพ ท้องร้อง “จ๊อกๆ”เป็นสัญญาณให้ผมหาอะไรกินเพื่อประทังความหิว ที่งานกาชาดมีอาหารหลากหลายชนิด ส่วนมากจะเป็นอาหารท้องถิ่นอย่างส้มตำไก่ย่าง ไส้กรอก หรือแคบหมูที่เอาไว้จิ้มกินกับแจ่วรสแซ่บ  รวมทั้งยังมีเครื่องดื่มคลายร้อนอย่างน้ำแตงโม น้ำส้ม และน้ำอัดลมซึ่งมีขายอยู่ทั่วไป แต่ด้วยเงินในมือที่แสนน้อยนิด ผมจึงเลือกกินไข่ปิ้งทรงเครื่องไม้ละ20บาทและปลาหมึกย่างชิ้นโตที่นอกจากจะทำให้อิ่มท้องและประหยัดแล้ว มันยังเป็นของทานเล่นที่หาไม่ได้ในกรุงเทพอีกด้วย

                เมื่ออิ่มท้องแล้ว ภารกิจถัดมาก็หนีไม่พ้นที่จะเดินสำรวจ “สวนสนุกรสอีสาน” ที่งานกาชาดจะมีเครื่องเล่นหลากหลายมาจัดวางรวมกัน ดูเผินๆอาจจะเหมือนสวนสนุกทั่วไป เพราะมีเครื่องเล่นอย่างม้าหมุน รถไฟ ปลาหมึก รถบั๊ม และชิงช้าสวรรค์ ที่แม้อาจจะดูเล็กและหวาดเสียวน้อยกว่าก็ตาม แต่ที่จริงแล้วมันมีเสน่ห์น่าค้นหากว่ามาก อาจจะเป็นเพราะการประดับตกแต่งด้วยหลอดไฟเรืองแสงสีฉูดฉาดตามสไตล์อีสาน และ พนักงานขายตั๋วที่มาพร้อมกับรอยยิ้มหัวใจบริการ  ผสมกับมีกิจกรรมบันเทิงอื่นๆที่นอกเหนือจากเครื่องเล่น เช่นการปาเป้าหรือยิงกระป๋องเพื่อชิงรางวัลตุ๊กตาหมีขนาดจัมโบ้ การตักปลาด้วยช้อนกระดาษในสระเล็กๆเพื่อหวังจะได้น้องปลาสักตัวกลับไปเลี้ยงที่บ้าน หรือการเดินช้อปปิ้งเลือกซื้อสินค้านานาประเภท  ซึ่งของใช้ในบ้านดีๆบางอย่างสามารถซื้อได้ในราคายี่สิบบาทเท่านั้น

                   แต่กิจกรรมการดูดวงน่าจะเป็นสิ่งบันเทิงที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คนจำนวนมากกระจุกตัวกันหลังพระบรมรูปเสด็จพ่อร.5เพื่อนั่งฟังชายผู้หนึ่งที่ยืนถือไมค์ประกาศว่าตนล่วงรู้อนาคต ดูไปแล้วเหมือนเขากำลังจัดทอล์กโชว์ขนาดย่อม ผมก็เป็นคนหนึ่งที่ไม่เชื่อเรื่องพวกนี้เท่าไรนัก แต่ก็อดฟังเรื่องราวอัศจรรย์ที่หลุดออกจากปากเขาไม่ได้ พลางหวนคิดถึงอดีตของงานกาชาดเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว ตอนนั้นเรื่องความเชื่องมงายมีมากอยู่ในอีสาน เรื่องหลอกเด็กก็มักจะทำกำไรได้เสมอๆ เมื่อก่อนจะมีซุ้มของประหลาดตั้งอยู่ใจกลางของงาน ในซุ้มจะจัดแสดงเด็กที่กำลังหายใจ ขนตากระพริบแต่ไม่มีส่วนลำตัว นางเงือกสาวผมยาวนอนสะบัดหาง ผีกระสือที่มีไส้กระพริบแสงสีเขียว แต่ต้องมาร้องโหยหวนเพราะหนาวเกี่ยวไส้ แต่ที่น่ากลัวสุดๆจะต้องเป็นผีที่ถูกกักล่ามโซ่ขังไว้ในกรง และร้องขอความช่วยเหลือจากเหล่าเด็กๆที่เสียเงินซื้อตั๋วเข้ามา ผมไปดูทีไรเป็นต้องกลับมานอนคลุมโปงที่บ้านทุกที คิดมาถึงตรงนี้ ผมก็อดเสียดายไม่ได้ที่เอกลักษณ์ของงานกาชาดในแบบฉบับอีสานของผมจะไม่สามารถพบเจอได้อีก

                      อย่างไรก็ดี  ผมเดินกลับบ้านด้วยหัวใจที่พองโต ความทรงจำในอดีตได้ถูกประทับให้แน่นหนาด้วยความประทับใจครั้งใหม่ ถึงแม้ว่าจะไม่มีซุ้มของประหลาดอย่างในอดีต แต่การได้กลับมาพักผ่อน กินอาหารพื้นบ้าน เจอวิถีชีวิต ผู้คนและวัฒนธรรมในแบบฉบับอีสานๆที่ผมโปรดปรานก็ทำให้ผมชาร์จแบตได้เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์แล้ว สุดท้ายนี้ หากท่านผู้ใดมีโอกาส เข้าพรรษาครั้งหน้า อย่าลืมมาสัมผัสสวนสนุกรสอีสานกันที่จังหวัดอุบลราชธานีเยอะๆนะครับ : ) 

3,662 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดอุบลราชธานี